หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ของ การรณรงค์งดสูบบุหรี่ในนาซีเยอรมนี

หลังจากการล่มสลายของนาซีเยอรมนีในตอนปลายของสงครามโลกครั้งที่สอง บริษัทผู้ผลิตบุหรี่ชาวอเมริกันได้รีบเข้าแย่งชิงตลาดเยอรมนีทันที การลอบนำเข้าบุหรี่อย่างผิดกฎหมายกลายเป็นเรื่องปกติ[50] และการรณรงค์งดสูบบุหรี่ของผู้นำนาซีในอดีตก็ถูกลืมเลือน[7] ในปี ค.ศ. 1949 บุหรี่ปริมาณกว่า 400 ล้านมวนที่ผลิตในสหรัฐอเมริกาได้เข้าสู่เยอรมนีอย่างผิดกฎหมายทุกเดือน ในปี ค.ศ. 1954 บุหรี่เกือบสองล้านมวนที่ผลิตในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ได้ทะลักเข้าสู่ตลาดเยอรมนีและอิตาลี ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนมาร์แชลล์ สหรัฐอเมริกาจึงส่งมอบบุหรี่ฟรีให้แก่เยอรมนี บุหรี่ที่ส่งไปเยอรมนีในปี 1948 มีปริมาณ 24,000 ตัน และเพิ่มเป็น 69,000 ตันในปี 1949 รัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกาได้ออกค่าใช้จ่ายกว่า 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในแผนการดังกล่าว ทำให้บริษัทผู้ผลิตบุหรี่ในสหรัฐอเมริกาได้รับผลประโยชน์อย่างมหาศาล[50] ปริมาณการบริโภคบุหรี่ต่อหัวต่อปีในเยอรมนีได้เพิ่มขึ้นจาก 460 มวนในปี 1950 เป็น 1,950 มวนในปี 1963 ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 การรณรงค์ต่อต้านบุหรี่ในเยอรมนีก็ไม่สามารถบรรลุถึงการรณรงค์อย่างจริงจังในยุคนาซีในปี 1939-1941 และการวิจัยเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ในเยอรมนี ซึ่งบรรยายโดย โรเบิร์ต เอ็น. พรอกเตอร์ว่า "กลายเป็นใบ้"[12]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การรณรงค์งดสูบบุหรี่ในนาซีเยอรมนี http://www.bmj.com/cgi/content/full/310/6976/396?i... http://www.bmj.com/cgi/content/full/313/7070/1450 http://www.bmj.com/cgi/content/full/329/7480/1424 http://www.ingentaconnect.com/content/iuatld/ijtld... http://www.nature.com/clpt/journal/v74/n6/abs/clpt... http://smm.sagepub.com/cgi/content/abstract/7/2/87 http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleUR... http://www3.interscience.wiley.com/journal/1201225... http://www.ecomed-medizin.de/sj/sfp/Pdf/aId/6824 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14663454