การสมรสเพศเดียวกัน ของ การรับรองคู่ชีวิตเพศเดียวกันในประเทศไทย

ป้ายผ้ารณรงค์ "สมรสเท่าเทียม" ในงานไพรด์กรุงเทพฯ 2022

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และเครือข่ายความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ได้เสนอร่างกฎหมายว่าด้วยการสมรสของคนเพศเดียวกัน พร้อมขอการสนับสนุนกฎหมายดังกล่าวจากรัฐบาลไทย[27] [28]

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 บางกอกโพสต์ รายงานว่าเมื่อสองปีก่อนหน้านั้น ความพยายามของนที ธีระโรจนพงษ์ ประธานกลุ่มเกย์การเมืองแห่งประเทศไทย ที่จะจดทะเบียนสมรสกับคู่ครองชายของเขานั้น ถูกปฏิเสธ[29]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล เสนอร่างกฎหมายที่ทำให้การแต่งงานของคนเพศเดียวกันถูกต้องตามกฎหมาย[30] การประชาพิจารณ์เกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าวมีขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม[31][32]

ในปี พ.ศ. 2565 ร่างกฎหมายกลุ่มหนึ่งเกี่ยวกับการสมรสระหว่างเพศเดียวกันผ่านการพิจารณาของรัฐสภาไทยเป็นครั้งแรก อันรวมถึงร่างกฎหมายความเท่าเทียมในการสมรสที่เสนอโดยพรรคก้าวไกลซึ่งเป็นฝ่ายค้านในขณะนั้น โดยจะแก้ไขกฎหมายการสมรสในปัจจุบันให้รวมคู่รักทุกเพศทุกวัย และร่างพระราชบัญญัติความเท่าเทียมในการสมรสที่รัฐบาลเสนอ ซึ่งจะแยกความเป็นคู่ชีวิตออกเป็นหมวดหมู่แยกต่างหากแทน โดยให้สิทธิบางส่วนเสมอกับคู่รักที่เป็นชายและหญิงตามเพศกำเนิด แต่ไม่ใช่สิทธิทั้งหมดที่คู่สมรสตามร่างกฎหมายนี้จะได้รับ[33][34][35] แม้จะมีการแก้ไขหลายครั้ง แต่ก็ไม่มีร่างกฎหมายใดผ่านรัฐสภาก่อนที่จะมีการยุบสภาและเลือกตั้งทั่วไปในปีถัดมา

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน จากพรรคเพื่อไทย ประกาศว่า คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติร่างกฎหมายการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน[36] ซึ่งรัฐสภาเริ่มอภิปรายเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ปีเดียวกัน[37] นอกจากร่างพระราชบัญญัติฉบับของรัฐบาลแล้ว ยังมีการพิจารณาเพิ่มเติมอีก 3 ฉบับโดยพรรคก้าวไกล, พรรคประชาธิปัตย์ และภาคประชาสังคม[38][39] ร่างกฎหมายทั้งสี่ฉบับผ่านความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 369 ต่อ 10[40] โดยสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติการจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อรวมร่างทั้งสี่ฉบับเป็นฉบับเดียวในช่วง 15 วันเพื่อรอการอภิปรายเพิ่มเติมในปีถัดมา[41]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 สภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวด้วยคะแนนเสียง 400 เสียงต่อ 10 เสียง ทั้งนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นมุสลิม ได้ใช้เอกสิทธิ์ไม่ให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าขัดต่อหลักศาสนาของตน[3] ส่วนที่เหลือเป็นการไม่ลงคะแนน 2 เสียง และงดออกเสียง 3 เสียง[5] ขณะนี้อยู่ระหว่างการส่งเรื่องให้วุฒิสภา หากผ่านความเห็นชอบจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป[42][43]

การดำเนินคดี

ในปี พ.ศ. 2564 ศาลรัฐธรรมนูญ พิพากษาว่ามาตรา 1448 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตีความการแต่งงานระหว่างหญิงและชายเท่านั้น ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่หลังจากมีคำพิพากษาฉบับเต็มมีข้อความหนึ่งระบุว่าคู่รักเกย์ "ไม่สามารถสืบพันธุ์ได้เนื่องจากขัดต่อธรรมชาติ" และผู้คนในชุมชนเหล่านั้นก็ไม่ต่างจากสัตว์ชนิดอื่นที่มีพฤติกรรมหรือลักษณะทางกายภาพที่แปลกประหลาด" คำตัดสินระบุว่าผู้ที่ไม่รักต่างเพศนั้นเป็น "สายพันธุ์" ที่แตกต่างกันซึ่งจำเป็นต้องแยกออกและศึกษาเนื่องจากไม่สามารถสร้าง "สายสัมพันธ์ที่ละเอียดอ่อน" ของความสัมพันธ์ของมนุษย์ได้[44] ข้อความนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ที่ไม่รักต่างเพศว่าเป็นการแสดงความรังเกียจและดูหมิ่น[45]

อย่างไรก็ตาม ฉัตรชัย เอมราช กล่าวว่าคำพิพากษาดังกล่าวกลับเป็นผลดีต่อการเรียกร้องสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในไทยที่จะเข้มข้นมากขึ้น ทั้งนี้ ในคำวินิจฉัยดังกล่าวระบุว่า ความเสมอภาคในการจัดตั้งครอบครัวนั้นสามารถดำเนินการได้ "โดยบัญญัติกฎหมายเฉพาะขึ้นมาใหม่เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนถึงกฎหมายหลักที่ได้วางรากฐานความเป็นสถาบันครอบครัวมาตั้งแต่อดีตกาล"[46][47]

ใกล้เคียง

การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย การรับรู้รส การรับรู้อากัปกิริยา การรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ การรับรู้สนามแม่เหล็ก การรักษามะเร็งแบบทางเลือก การรับรู้ไฟฟ้า การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา) การรับรู้ความใกล้ไกล การรับน้อง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การรับรองคู่ชีวิตเพศเดียวกันในประเทศไทย https://www.channelnewsasia.com/news/asia/thailand... https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-03-16... https://www.bloomberg.com/news/articles/2024-03-26... https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-07-08... https://apnews.com/article/thailand-marriage-same-... https://apnews.com/article/nepal-lgbtq-same-sex-ma... https://www.bbc.com/news/world-asia-68672318 https://www.bbc.com/thai/articles/cyd04le9vr2o https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/thailand... https://www.reuters.com/world/asia-pacific/thailan...