การรับรองคู่ชีวิตเพศเดียวกันในประเทศไทย

ในปัจจุบัน (มีนาคม พ.ศ. 2567) ประเทศไทยยังไม่ยอมรับ การสมรสเพศเดียวกัน, การอยู่กินด้วยกัน หรือการอยู่ร่วมกันของเพศเดียวกันในรูปแบบอื่น ๆ[1][2] ร่างกฎหมายหลายฉบับสำหรับการสมรสของเพศเดียวกันได้รับการเสนอและอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรีของไทยมาตั้งแต่ปี 2555 แต่ไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภากฎหมายการสมรสเพศเดียวกันฉบับใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านหลัก ได้รับการเสนอในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 และผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2567 ด้วยคะแนน 400 ต่อ 10 เสียง[3] ขณะนี้อยู่ระหว่างการส่งเรื่องให้วุฒิสภา หากผ่านความเห็นชอบจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป[4][5][6][6][7] ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเปลี่ยนคำว่า "ชายและหญิง" และ "สามีและภรรยา" เป็นคำว่า "บุคคล" และ "คู่สมรส" ร่างกฎหมายนี้ยังอนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้[8] หากกฎหมายนี้ประกาศใช้ ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นประเทศที่สองในเอเชียที่ออกกฎหมายให้การแต่งงานของคนเพศเดียวกันถูกต้องตามกฎหมาย ต่อจากไต้หวัน[9][10]

ใกล้เคียง

การรับรู้รส การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย การรับรู้อากัปกิริยา การรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ การรับรู้ไฟฟ้า การรักษามะเร็งแบบทางเลือก การรับรู้สนามแม่เหล็ก การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา) การรัดเท้า การรับรู้ความใกล้ไกล

แหล่งที่มา

WikiPedia: การรับรองคู่ชีวิตเพศเดียวกันในประเทศไทย https://www.channelnewsasia.com/news/asia/thailand... https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-03-16... https://www.bloomberg.com/news/articles/2024-03-26... https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-07-08... https://apnews.com/article/thailand-marriage-same-... https://apnews.com/article/nepal-lgbtq-same-sex-ma... https://www.bbc.com/news/world-asia-68672318 https://www.bbc.com/thai/articles/cyd04le9vr2o https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/thailand... https://www.reuters.com/world/asia-pacific/thailan...