การรีดิวซ์คาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีไฟฟ้าเคมี

การรีดิวซ์คาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีไฟฟ้าเคมี (อังกฤษ: electrochemical reduction of carbon dioxide หรือ CO2RR เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นสารเคมีในรูปที่ถูกรีดิวซ์ลงกว่าเดิมโดยใช้พลังงานไฟฟ้า กระบวนการนี้เป็นหนึ่งในขั้นตอนที่เป็นไปได้ของการกับเก็บและใช้งานคาร์บอน[1]คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สามารถถูกรีดิวซ์ด้วย CO2RR ให้เป็นสารอินทรีย์ เช่น ฟอร์เมต (HCOO-)[2] คาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) มีเทน (CH4) เอทิลีน (C2H4) และ เอทานอล (C2H5OH)[3][4][5] ตัวเร่งปฏิกริยาไฟฟ้าเคมีที่มีความจำเพาะต่อสารอินทรีย์แต่ละตัว เช่น ดีบุกสำหรับกรดมด เงินสำหรับคาร์บอนมอนอกไซด์ และทองแดงสำหรับมีเทน เอทิลีน หรือ เอทานอล CO2RR ยังสามารถผลิต เมทานอล โพรพานอล และ 1-บิวทานอล ได้ด้วยแต่ในปริมาณที่น้อย[6] ความท้าทายสำคัญของกระบวนการนี้มีสองประการ ได้แก่ ราคาค่าไฟฟ้าที่สูง (เมื่อเทียบเคียงกับปิโตรเลียม) และ คาร์บอนไดออกไซด์มักจะอยู่ปนกับออกซิเจนมีความจำเป็นต้องแยกออกจากกันก่อนเข้ากระบวนการรีดักชันตัวอย่างแรกของกระบวนการ CO2RR เริ่มในคริตศตวรรษที่ 19 เมื่อมีการใช้สังกะสีเป็นขั้วคาโทดเพื่อรีดิวซ์คาร์บอนไดออกไซด์ให้กลายเป็นคาร์บอนมอนออกไซด์ การวิจัยตื่นตัวอีกครั้งในช่วง ค.ศ. 1980-1989 หลังวิกฤกตการณ์น้ำมันในช่วง ค.ศ. 1970-1979 ใน ค.ศ. 2021 โรงงานต้นแบบสำหรับการรีดิวซ์คาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีไฟฟ้าเคมีได้รับการพัฒนาขึ้นโดยบริษัทหลายแห่ง อาทิ ซีเมนส์[7] ไดออกไซด์แมทีเรียวส์[8][9] ทเวลว์ มีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเพื่อศึกษาจุดที่ต้องปรับปรุงทางเทคนิคและความเป็นไปได้ทางการค้าสำหรับการทำแยกคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยไฟฟ้าที่เงื่อนไขใกล้เคียงกับสภาพบรรยากาศและอุณหภูมิปกติ[10][11]

ใกล้เคียง

การรีดิวซ์คาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีไฟฟ้าเคมี การรีดเอาทรัพย์ การรีไซเคิล การรถไฟแห่งประเทศไทย การระบาดทั่วของโควิด-19 การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย การรับรู้รส การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย การรับรู้อากัปกิริยา

แหล่งที่มา

WikiPedia: การรีดิวซ์คาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีไฟฟ้าเคมี https://www.aiche-cep.com/cepmagazine/march_2021/M... https://doi.org/10.1021%2Facsaem.0c01145 https://doi.org/10.1016%2Fj.cattod.2009.07.075 https://doi.org/10.1039%2Fc3cs60323g https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24186433 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC38951... https://doi.org/10.1021%2Fcr300463y https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23767781 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC76932... https://doi.org/10.1002%2Fanie.202008289