การรีดเอาทรัพย์

การรีดเอาทรัพย์ (อังกฤษ: blackmail) เป็นความผิดอาญาประกอบด้วยการข่มขู่ว่าจะเปิดเผยต่อบุคคลที่สามหรือสาธารณชนซึ่งข้อความจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวเนื่องกับบุคคล ครอบครัวของบุคคล หรือสมาคมของบุคคลนั้น เว้นแต่บุคคลนั้นจะยอมตามข้อเรียกร้อง[1][2] ความผิดนี้อาจเรียกว่าเป็นการข่มขืนใจ (coercion) โดยมีการข่มขู่ว่าจะทำร้ายร่างกาย จะดำเนินคดี หรือเพื่อบังคับให้ส่งเงินทรัพย์สินมาให้[1][3][4][5][6][7][8] ทั้งนี้ เป็นชื่อฐานความผิดตามกฎหมายของแคว้นอังกฤษและเวลส์กับแคว้นไอร์แลนด์เหนือของสหราชอาณาจักร ประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทย ประเทศเยอรมนี รัฐวิกตอเรียของประเทศออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา กับทั้งใช้เรียกความผิดอื่น ๆ ทำนองเดียวเพื่อความสะดวกปาก แต่ไม่ได้เป็นศัพท์กฎหมายในกฎหมายอังกฤษจนกระทั่งปี 2511ชื่อความผิดนี้ในภาษาอังกฤษมีที่มาจากชาวอังกฤษซึ่งอาศัยอยู่ตามตะเข็บชายแดนประเทศสกอตแลนด์และมักให้ทรัพย์สินเงินทองแก่หัวหน้าเผ่าชาวสกอต เพื่อแลกกับการคุ้มครองพวกตนจากเหล่าโจรปล้นชิงวิ่งราว[3][4]การรีดเอาทรัพย์อาจนับว่าเป็นการกรรโชก (extortion) รูปแบบหนึ่ง[1] แม้โดยปรกติแล้ว คำ "รีดเอาทรัพย์" กับ "กรรโชก" เป็นไวพจน์ของกันและกัน แต่ในทางกฎหมาย การกรรโชกมุ่งหมายถึงการเอาไปซึ่งทรัพย์สินของบุคคลอื่นโดยข่มขู่ว่าจะทำอันตราย[9] อนึ่ง การรีดเอาทรัพย์นั้นยังหมายถึง การข่มขู่บุคคลอื่นมิให้ประกอบอาชีพตามกฎหมาย การเขียนหนังสือว่าร้าย การเขียนหนังสือชี้ชวนให้ละเมิดอาญาบ้านเมือง ตลอดจนการข่มขู่เพื่อเรียกให้ชำระหนี้สินค้าง[4] บางรัฐในสหรัฐอเมริกากำหนดองค์ประกอบความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ว่าต้องเป็นการข่มขู่โดยทำเป็นหนังสือ เพื่อแยกความผิดฐานนี้กับฐานอื่น ๆ[4]

ใกล้เคียง

การรีดิวซ์คาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีไฟฟ้าเคมี การรีดเอาทรัพย์ การรีไซเคิล การรถไฟแห่งประเทศไทย การระบาดทั่วของโควิด-19 การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย การรับรู้รส การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย การรับรู้อากัปกิริยา