การรุกร้อยวัน
การรุกร้อยวัน

การรุกร้อยวัน

 สหรัฐ
 เบลเยียม
 ราชอาณาจักรอิตาลี[1][2]
โปรตุเกส
สยาม 17,500[8]
เสียชีวิต 2,500 ราย
บาดเจ็บ 10,000 ราย
ถูกจับ 5,000 รายการรุกร้อยวัน เป็นชุดการรุกครั้งใหญ่ของฝ่ายสัมพันธมิตรระหว่างเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน 1918 การรุกเริ่มขึ้นในยุทธการที่อาเมียงในเดือนสิงหาคม ก่อนฝ่ายสัมพันธมิตรจะไล่ยึดพื้นที่ที่ฝ่ายมหาอำนาจกลางยึดได้ช่วงการรุกฤดูใบไม้ผลิ ตามด้วยการรุกผ่านแนวฮินเดินบวร์ค ท้ายที่สุดการรุกร้อยวัน ร่วมกับการปฏิวัติภายในประเทศบีบบังคับให้ฝ่ายเยอรมันยอมสงบศึกในเดือนพฤศจิกายน อันเป็นการสิ้นสุดแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทั้งนี้ชื่อ "การรุกร้อยวัน" ไม่ได้หมายถึงยุทธการหรือกลยุทธ์ใดเป็นพิเศษ แต่หมายถึงชัยชนะอย่างต่อเนื่องของฝ่ายสัมพันธมิตรช่วงท้ายสงคราม[9]เดือนมีนาคม 1918 กองทัพเยอรมันเริ่มการรุกฤดูใบไม้ผลิเพื่อเอาชนะฝ่ายสัมพันธมิตรให้ได้ก่อนสหรัฐจะเข้าร่วมเต็มตัว แต่ความพ่ายแพ้ในยุทธการที่มาร์นครั้งที่สองในเดือนกรกฎาคม ทำให้ฝ่ายเยอรมันสั่งถอนทัพ[10] ด้านแฟร์ดีน็อง ฟ็อช ผู้บัญชาการสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรสั่งเริ่มการรุกกลับโดยได้รับกำลังสนับสนุนจากสหรัฐและบริเตน เดือนสิงหาคม ฟ็อชกับดักลาส เฮก ผู้บัญชาการทัพบริเตนตัดสินใจโจมตีที่แม่น้ำซอมม์ ใกล้เมืองอาเมียงเพื่อขับไล่ทัพเยอรมันออกจากทางรถไฟอาเมียงปารีสที่สำคัญ[11] ชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในครั้งนี้ทำให้ฝ่ายเยอรมันเริ่มถอยทัพกลับไปที่แนวฮินเดินบวร์ค อันเป็นปราการแน่นหนาที่ฝ่ายเยอรมันสร้างขึ้นในปี 1916 ปลายเดือนกันยายน ฝ่ายสัมพันธมิตรเอาชนะทัพเยอรมันในยุทธการที่คลองแซ็ง-ก็องแต็งและเจาะผ่านแนวฮินเดินบวร์คได้สำเร็จ[12]เดือนตุลาคม ฝ่ายเยอรมันเสียดินแดนที่ยึดได้ตั้งแต่ปี 1914 มากขึ้นเรื่อย ๆ การเสียทางรถไฟแม็สบรูชที่ใช้ส่งกำลังและยุทธภัณฑ์ยิ่งทำให้ทัพเยอรมันเสียขวัญกำลังใจมากขึ้น[13] อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายยังคงสู้รบกันต่อไปจนถึงนาทีสุดท้ายก่อนเวลา 11 นาฬิกาของวันที่ 11 พฤศจิกายน 1918 ซึ่งการสงบศึกมีผลบังคับใช้[14]

การรุกร้อยวัน

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่8 สิงหาคม – 11 พฤศจิกายน 1918
สถานที่อาเมียง ฝรั่งเศส ถึงมงส์ เบลเยียม
ผลลัพธ์ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ
สถานที่ อาเมียง ฝรั่งเศส ถึงมงส์ เบลเยียม
ผลลัพธ์ ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ
วันที่ 8 สิงหาคม – 11 พฤศจิกายน 1918

ใกล้เคียง

การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย การรุกของตอลิบาน พ.ศ. 2564 การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล การรุกที่เคียฟ พ.ศ. 2565 การรุกรานไซปรัสของตุรกี การรุกรานรัสเซียโดยฝรั่งเศส การรุกคอร์ซุน-เชฟเชนคอฟสกี การรุกรานอิหร่านของบริเตนและสหภาพโซเวียต การรุกตรุษญวน การรุกรานรัสเซียโดยสวีเดน