การรุกรานไซปรัสของตุรกี
การรุกรานไซปรัสของตุรกี

การรุกรานไซปรัสของตุรกี

กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ:[26]
ถูกสังหาร 9 นาย
บาดเจ็บ 65 นายการรุกรานไซปรัสของตุรกี[27] (ตุรกี: Kıbrıs Barış Harekâtı; กรีก: Τουρκική εισβολή στην Κύπρο) ซึ่งประเทศตุรกีใช้รหัสนามว่า ปฏิบัติการอัตติลา[28][29] (ตุรกี: Atilla Harekâtı) เริ่มดำเนินการในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1974 ต่อเนื่องจากรัฐประหารในประเทศไซปรัสในวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1974[30]รัฐประหารครั้งนั้นสั่งการโดยรัฐบาลทหารกรีกและจัดฉากโดยกองกำลังพิทักษ์ชาติไซปรัส[31][32] ร่วมกับเอโอกา-บี รัฐบาลทหารได้ขับประธานาธิบดีอัครมุขนายกมาการีโอสที่ 3 แห่งไซปรัส ออกจากอำนาจ แล้วแต่งตั้งนีโกส ซัมป์ซอน ให้ดำรงตำแหน่งแทน[33][34] จุดประสงค์ของรัฐประหารคือการรวม (enosis) ไซปรัสเข้ากับประเทศกรีซ[35][36][37] และการประกาศตั้งสาธารณรัฐเฮลเลนิกแห่งไซปรัส (Hellenic Republic of Cyprus)[38][39]ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1974 กองทัพตุรกีได้รุกรานและยึดพื้นที่ร้อยละ 3 ของเกาะก่อนจะมีการประกาศหยุดยิง คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองกรีกล่มสลายและถูกแทนที่ด้วยรัฐบาลประชาธิปไตย ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1974 กองทัพตุรกีเข้ารุกรานอีกครั้งและยึดพื้นที่เกาะได้ประมาณร้อยละ 36 แนวเส้นหยุดยิงตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1974 เป็นต้นมา กลายเป็นเขตกันชนของสหประชาชาติในประเทศไซปรัส และเรียกกันโดยทั่วไปว่าเส้นสีเขียวประชาชนประมาณ 150,000 คน (มากกว่าหนึ่งส่วนสี่ของประชากรประเทศไซปรัส และหนึ่งส่วนสามของประชากรชาวไซปรัสเชื้อสายกรีก) ถูกขับออกจากตอนเหนือของเกาะที่ซึ่งมีประชากรชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกคิดเป็นร้อยละ 80 ไม่กี่ปีต่อมาใน ค.ศ. 1975 ชาวไซปรัสเชื้อสายตุรกีเกือบ 60,000 คน[40] คิดเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรชาวไซปรัสเชื้อสายตุรกี[41] ถูกขับจากตอนใต้ไปยังตอนเหนือ[42] การรุกรานของตุรกีสิ้นสุดลงด้วยการแบ่งแยกเกาะไซปรัสออกด้วยเส้นสีเขียวที่สหประชาชาติเฝ้าสังเกต และก่อตั้งเขตปกครองตนเองของชาวไซปรัสเชื้อสายตุรกีโดยพฤตินัยในตอนเหนือ ใน ค.ศ. 1983 สาธารณรัฐตุรกีแห่งนอร์เทิร์นไซปรัสประกาศเอกราช แม้ว่ามีเพียงประเทศตุรกีเพียงประเทศเดียวที่ให้การรับรองก็ตาม[43] ประชาคมระหว่างประเทศถือว่าดินแดนนอร์เทิร์นไซปรัสคือดินแดนที่ตุรกียึดครองในสาธารณรัฐไซปรัส[44] ประชาคมนานาชาติมองว่าการยึดครองดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ โดยถือว่าเป็นการยึดครองดินแดนสหภาพยุโรปซึ่งไซปรัสเป็นสมาชิกอยู่[45]บรรดาผู้พูดภาษาตุรกีเรียกปฏิบัติการนี้ว่า "ปฏิบัติการสันติภาพไซปรัส" (Kıbrıs Barış Harekâtı) "ปฏิบัติการสันติภาพ" (Barış Harekâtı) หรือ "ปฏิบัติการไซปรัส" (Kıbrıs Harekâtı) เพราะพวกเขาอ้างว่าการดำเนินการของทหารตุรกีเป็นปฏิบัติการรักษาสันติภาพ[46][47][48][49]

การรุกรานไซปรัสของตุรกี

วันที่สถานที่ผลลัพธ์ดินแดนเปลื่ยน
วันที่20 กรกฎาคม – 18 สิงหาคม ค.ศ. 1974
(4 weeks and 1 day)
สถานที่เกาะไซปรัส
ผลลัพธ์ฝ่ายตุรกีชนะ[2][3][4][5]
ดินแดน
เปลื่ยน
ตุรกีครอบครองพื้นที่ร้อยละ 36.2 ของไซปรัส[11]
สถานที่ เกาะไซปรัส
ผลลัพธ์ ฝ่ายตุรกีชนะ[2][3][4][5]
วันที่ 20 กรกฎาคม – 18 สิงหาคม ค.ศ. 1974
(4 weeks and 1 day)
ดินแดนเปลื่ยน ตุรกีครอบครองพื้นที่ร้อยละ 36.2 ของไซปรัส[11]

ใกล้เคียง

การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย การรุกของตอลิบาน พ.ศ. 2564 การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล การรุกที่เคียฟ พ.ศ. 2565 การรุกรานไซปรัสของตุรกี การรุกรานรัสเซียโดยฝรั่งเศส การรุกรานอิหร่านของบริเตนและสหภาพโซเวียต การรุกคอร์ซุน-เชฟเชนคอฟสกี การรุกฤดูใบไม้ผลิ การรุกตรุษญวน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การรุกรานไซปรัสของตุรกี http://koti.welho.com/msolanak/kyprosengl.html http://www.mfa.gov.cy/mfa/embassies/embassy_brusse... http://www.mfa.gov.cy/mfa/mfa2006.nsf/All/8FA6CC01... http://www.moi.gov.cy/moi/pio/pio.nsf/0/5CFDB55E72... http://www.lib.utexas.edu/maps/europe/cyprus_ethni... http://bookshop.europa.eu/en/euromosaic-iii-pbNC74... http://www.eldyk74.gr/index.php?option=com_content... http://www.cmp-cyprus.org/media/attachments/Quick%... //doi.org/10.1080%2F0275720032000136642 http://news.bbc.co.uk/2/hi/europe/4644652.stm