การร่วมเพศอย่างปลอดภัย
การร่วมเพศอย่างปลอดภัย

การร่วมเพศอย่างปลอดภัย

การร่วมเพศอย่างปลอดภัย หรือ เซ็กส์ที่ปลอดภัย (อังกฤษ: safe sex) คือกิจกรรมทางเพศซึ่งผู้ร่วมมีความระมัดระวังในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เอชไอวี[1] อาจถูกเรียกว่า เซ็กส์ที่ปลอดภัยกว่า หรือ เซ็กส์ที่มีการป้องกัน ขณะที่ เซ็กส์ไม่ปลอดภัย หรือ เซ็กส์ที่ไม่มีการป้องกัน หมายถึงกิจกรรมทางเพศกระทำอย่างไม่ระมัดระวังหรือไม่มีการป้องกัน โดยเฉพาะการร่วมเพศโดยไม่ใช่ถุงยางอนามัยแหล่งข้อมูลบางแห่งอาจใช้คำว่า เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยกว่า (safer sex) เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความจริงที่การปฏิบัติเหล่านี้จะช่วยลด แต่อาจไม่ได้กำจัดความเสี่ยงในการติดโรค การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) ได้กลายเป็นคำที่ใช้บ่อยกว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) ในทางการแพทย์เนื่องจากมีความหมายกว้างขึ้น คนอาจติดเชื้อและอาจส่งต่อเชื้อให้แก่คนอื่น ๆ โดยไม่แสดงอาการของโรค[2]การร่วมเพศอย่างปลอดภัยแพร่หลายมากขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1980 เนื่องจากการระบาดของโรคเอดส์ การส่งเสริมเรื่องเพศที่ปลอดภัยขึ้นเป็นหนึ่งในจุดมุ่งหมายของการศึกษาเรื่องเพศ การร่วมเพศอย่างปลอดภัยถือเป็นกลยุทธ์การลดอันตรายที่มุ่งลดความเสี่ยง[3][4]การร่วมเพศอย่างปลอดภัยอาจไม่ได้กำจัดความเสี่ยงทั้งหมด ตัวอย่างเช่น มีการประมาณว่าถุงยางอนามัยสามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวีจากคู่นอนที่มีเลือดบวกได้ 4-5 เท่า[5]

ใกล้เคียง

การร่วมเพศ การร่วมเพศแบบไม่สอดใส่ การร่วมเพศอย่างปลอดภัย การร่วมเพศทางปาก การร่วมเพศทางทวารหนัก การร่วมประเวณีกับญาติสนิท การร่วมประเวณีทางหน้าอก การร่างภาพ การร่วมเพศหมู่ การรถไฟแห่งประเทศไทย

แหล่งที่มา

WikiPedia: การร่วมเพศอย่างปลอดภัย http://aids.about.com/od/technicalquestions/f/oral... http://www.aegis.com/news/bar/2001/BR010617.html http://www.askoxford.com/concise_oed/safesex?view=... http://findarticles.com/p/articles/mi_m1316/is_n1-... http://journals.lww.com/stdjournal/Fulltext/2008/1... http://www.safesexdrive.com/health.php http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,9... http://www.goaskalice.columbia.edu/1139.html http://www.mckinley.illinois.edu/handouts/sexually... http://www.nyu.edu/shc/promotion/condoms.dental.da...