การร้องเพลงด้วยลำคอแบบตูวา
การร้องเพลงด้วยลำคอแบบตูวา

การร้องเพลงด้วยลำคอแบบตูวา

การร้องเพลงด้วยลำคอแบบตูวา (อังกฤษ: Tuvan throat singing) หรือที่รู้จักด้วยชื่อเทคนิกหลักในการร้องที่เรียกว่า ฆูมีย์ (ตูวา: хөөмей, มองโกเลีย: хөөмий; ᠬᠦᠭᠡᠮᠡᠢ, อักษรโรมัน: khöömii,[1] รัสเซีย: хоомей, จีน: 呼麦, pinyin: hūmài; โรมัน: khoomei) เป็นรูปแบบหนึ่งของการขับร้องแบบโอเวอร์โทนในสาธารณรัฐตูวาของประเทศมองโกเลียและในไซบีเรีย ในปี 2009 การขับร้องนี้ได้รับการบรรจุเป็นรายการผู้แทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติโดยยูเนสโก คำว่า hömey / kömey แปลว่า คอ และ ลาริงซ์ ในภาษากลุ่มเติร์ก[2][3][4] ซึ่งอาจจะมาจากคำว่า khooloi ในภาษามองโกเลียซึ่งแปลว่าคอเช่นกัน และมาจากรากโปรโตมองโกเลีย *koɣul-aj[5]เข้าใจว่าความนิยมในการขับร้องด้วยลำคอในตูวามาจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่และวัฒนธรรม ภูมิทัศน์กว้างเรียบของตูวาทำให้เสียงสามารถเดินทางไปได้ไกลกว่า ส่วนงานชาติพันธุ์วรรณาทางดนตรีพบว่า khoomei เป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณนิยมที่ยังคงปฏิบัติสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน บ่อยครั้งที่นักร้องจะเดินทางออกไปยังพื้นที่ห่างไกล หาแม่น้ำที่ใช้ หรือเดินขึ้นไปตามทุ่งหญ้าเสต็ปในภูเขา เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการขับร้องด้วยลำคอ[6]การขับร้องด้วยลำคอแบบตูวามีอยู่หลายวิธี วิธีที่เป็นที่นิยมและรู้จักมากที่สุดคือ khoomei (ฆูมีย์) ซึ่งให้ความรู้สึกเหมือนเสียงของลมที่พัดผ่านตามหิน,[7] นอกจากนี้ยังมีวิธีการขับร้องแบบ sygyt และ kargyraa เป็นต้น

ใกล้เคียง

การร้องทุกข์ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ การร้องเพลง การร้องเพลงด้วยลำคอแบบตูวา การร้องประสานเสียง การรถไฟแห่งประเทศไทย การระบาดทั่วของโควิด-19 การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย การรับรู้รส การค้าประเวณี