การร้องทุกข์ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ
การร้องทุกข์ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ

การร้องทุกข์ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ

ตามความในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) อันเป็นสนธิสัญญาจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น บุคคลหรือองค์กรจะแจ้งความดำเนินคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศต่อศาลนั้นก็ได้[1] ถ้าบุคคลเป็นผู้ยื่น เรียกว่า "ร้องทุกข์" (complain) ถ้ารัฐภาคีศาลก็ดี หรือเลขาธิการสหประชาชาติก็ดี เป็นผู้ยื่น เรียกว่า "เสนอข้อหา" (refer) และเรียกรวมกันว่า "กล่าวโทษ" (communicate)[2]นับตั้งแต่สิ้นเดือนกันยายน 2553 สำนักงานอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศได้รับคำกล่าวโทษแล้ว 8,874 ฉบับ ในจำนวนนั้น 4,002 ฉบับถูกยกเมื่อตรวจเบื้องต้นแล้วพบว่า "อยู่นอกอำนาจศาลโดยแจ้งชัด"[1] และนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 ศาลอาญาระหว่างประเทศกำลังสืบสวนเรื่องราวในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ในประเทศยูกันดา ในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ในดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน ในประเทศเคนยา ในประเทศลิเบีย และในประเทศโกตดิวัวร์ รวมเจ็ดเรื่องด้วยกัน[3] กับทั้งกำลังพิเคราะห์โดยละเอียดซึ่งเรื่องราวอื่น ๆ อีกหลายเรื่อง รวมถึงเรื่องราวในประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศชาด ประเทศโคลอมเบีย ฉนวนกาซา และประเทศจอร์เจีย[4][5]

ใกล้เคียง

การร้องทุกข์ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ การร้องเพลง การร้องเพลงด้วยลำคอแบบตูวา การร้องประสานเสียง การรถไฟแห่งประเทศไทย การระบาดทั่วของโควิด-19 การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย การรับรู้รส การค้าประเวณี