ทางปฏิบัติและประเด็น ของ การลงคะแนนแบบจำกัดคะแนนเสียง

ถึงแม้ว่าวิธีนี้บ่อยครั้งจะช่วยให้กลุ่มเสียงข้างน้อยได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งไม่เหมือนกับแบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (FPTP) หรือแบบแบ่งเขตหลายเบอร์ (ยกชุด) หรือ Bloc voting แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนี้เสมอไปเนื่องจากประสิทธิภาพของคะแนนเสียงส่วนนั้นอาจจะถูกปรับขึ้นตามจำนวนผู้สมัคร

จากตัวอย่างที่ผ่านมา ผู้ลงคะแนนร้อยละ 54 สนับสนุนพรรคน้ำเงิน และอีกร้อยละ 46 สนับสนุนพรรคแดง ให้สมมติว่าหากแบ่งการสนับสนุนทั่วทั้งเขตแล้ว พรรคน้ำเงินจะชนะทั้งสามที่นั่งทั้งในแบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด และแบบแบ่งเขตหลายเบอร์ ในขณะที่แบบเสียงจำกัดนั้นพรรคแดงจะชนะได้ 1 ที่นั่ง

อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่พรรคน้ำเงินจะพยายามมากเกินไปจนทำให้ชนะเพียงแค่ที่นั่งเดียวจากทั้งหมดได้ เพราะพรรคน้ำเงินได้คะแนนเสียงเกือบร้อยละ 60 ของทั้งหมด โดยอาจมีความพยายามจะเอาชนะทั้งสามที่นั่ง โดยจะใช้วิธีส่งผู้สมัครให้ครบสามคน ในขณะที่พรรคแดงซึ่งรู้จุดอ่อนของตนจึงเลือกที่จะส่งผู้สมัครเพียงสองรายเพื่อพยายามรวบรวมเสียงให้ได้ประโยชน์มากที่สุด

สมมติว่าผู้ลงคะแนนจำนวน 100,000 คนสามารถออกเสียงได้คนละสองเสียง ผลการเลือกตั้งอาจจะได้เป็นดังนี้

Rory Red46,000 คะแนนได้รับเลือก
Rachel Red46,000 คะแนนได้รับเลือก
Brian Blue38,000 คะแนนได้รับเลือก
Beryl Blue36,000 คะแนน
Boris Blue34,000 คะแนน

โดยการส่งผู้สมัครเข้าชิงที่นั่งจำนวนเต็มสามคนนั้นพรรคนำ้เงินทำให้เกิดปรากฏการณ์เสียงแตกถึงแม้ว่าจะได้เสียงส่วนใหญ่ในเมืองก็ตาม

จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า การลงคะแนนแบบจำกัดคะแนนเสียงนี้ไม่ใช่ระบบการลงคะแนนแบบสัดส่วน

อีกหนึ่งวิธีที่ระบบนี้อาจทำให้ความพยายามให้เป็นสัดส่วนอย่างเป็นธรรมนั้นล้มเหลวหากในกรณีที่พรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่มากนั้นมีการจัดการที่ดี และสามารถจัดการแบ่งสรรคะแนนเสียงต่อผู้สมัครได้โดยเกิดประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างในประวัติศาสตร์ของการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1880 สำหรับเขตเลือกตั้งในเบอร์มิงแฮมที่มีผู้แทนจำนวนสามคน โดยผู้ลงคะแนนสามารถออกเสียงได้คนละไม่เกินสองเสียง

การเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1880: เบอร์มิงแฮม (3 ที่นั่ง)
พรรคผู้สมัครคะแนนเสียง%±
พรรคเสรีนิยมPhilip Henry Muntz22,96924.27N/A
พรรคเสรีนิยมJohn Bright22,07923.33N/A
พรรคเสรีนิยมJoseph Chamberlain19,54420.65N/A
พรรคอนุรักษ์นิยมF.G. Burnaby15,73516.63N/A
พรรคอนุรักษ์นิยมHon. A.C.G. Calthorpe14,30815.12N/A
  • หมายเหตุ ผู้มาใช้สิทธิทั้งหมดจำนวน 63,398 คน (ร้อยละ 74.64) โดยคำนวนคร่าวๆ ด้วยการหารจำนวนคะแนนเสียงโดยสอง

ชาลส์ ซีมัวร์ใน บทความเรื่อง การปฏิรูประบบการลงคะแนนในอังกฤษและเวลส์ อธิบายถึงปฏิกิริยาของเหล่าผู้สนับสนุนพรรคเสรีนิยมในเบอร์มิงแฮมภายหลังจากการเริ่มประกาศใช้ระบบจำกัดคะแนนเสียง

เหล่าชาวเสรีนิยมในเบอร์มิงแฮมล้วนตระหนักดีว่าหากพวกเขาต้องการเก็บที่นั่งที่สามไว้ให้ได้ จะต้องทำการแบ่งคะแนนเสียงให้ดีให้กับผู้สมัครทั้งสามราย โดยเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาคะแนนสูญ จะต้องมีการจัดตั้งองค์กรเพื่อควบคุมตัวเลือกของผู้ลงคะแนนได้อย่างสมบูรณ์ และผู้ลงคะแนนแต่ละรายจะต้องลงคะแนนตามที่ได้รับคำสั่ง ความสำเร็จของสมาคมเบอร์มิงแฮมนั้นได้กลายเป็นที่รู้โดยทั่วว่าพรรคการเมืองนั้นเป็นปึกแผ่น และไม่มีผู้สมัครจากฝั่งอนุรักษ์นิยมรายใดได้กลับมาอีก โดยได้ถูกลอกเลียนแบบในเขตเลือกตั้งอื่นๆ อีกมากและถือเป็นการเปิดยุคสมัยใหม่ในการพัฒนาเครื่องจักรในการเลือกตั้งของพรรคการเมืองอันเป็นผลของการเมืองระบบตัวแทนอันลึกซึ้ง

ใกล้เคียง

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย การลงจอด การลงคะแนนเสียงในสวิตเซอร์แลนด์ การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566 การลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 การลงคะแนนแบบคะแนนเสียงที่เหนือกว่า การลงคะแนนแบบจัดลำดับ การลงประชามติแยกซูดานใต้เป็นเอกราช พ.ศ. 2554 การลงประชามติแยกเป็นเอกราช การลงประชามติประมวลกฎหมายครอบครัวคิวบา พ.ศ. 2565