รายการ ของ การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย

พ.ศ. 2475

มิถุนายน

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในเดือนมิถุนายน ปี 2475 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี เนื่องจากวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น และพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
พระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร

ธันวาคม

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในเดือนธันวาคม ปี 2475 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี เนื่องจากวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 รัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
พระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475[1]

พ.ศ. 2476

มิถุนายน

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในเดือนมิถุนายน ปี 2476 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี เนื่องจากวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 รัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ถูกยึดอำนาจ

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
พระยาพหลพลพยุหเสนาได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476[2]

ธันวาคม

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในเดือนธันวาคม ปี 2476 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา ประกาศให้เลือกตั้งทั่วไป

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
พระยาพหลพลพยุหเสนาได้รับความไว้วางใจเป็นเอกฉันท์

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476[3]

พ.ศ. 2477

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในปี 2477 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2477 นายพระยาพหลพลพยุหเสนา พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากการลาออก

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
พระยาพหลพลพยุหเสนาได้รับความไว้วางใจเป็นเอกฉันท์

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2477[4]

พ.ศ. 2480

สิงหาคม

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในเดือนสิงหาคม ปี 2480 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก พระยาพหลพลพยุหเสนา พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากการลาออก เนื่องจากกรณีกระทู้เรื่องขายที่ดินพระคลังข้างที่ไม่โปร่งใส

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
พระยาพหลพลพยุหเสนาได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480[5]

ธันวาคม

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในเดือนธันวาคม ปี 2480 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก พระยาพหลพลพยุหเสนา พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากสภาครบวาระแล้ว

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
พระยาพหลพลพยุหเสนาได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480[6]

พ.ศ. 2481

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในปี 2481 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก พระยาพหลพลพยุหเสนา พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
แปลก พิบูลสงครามได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481[7]

พ.ศ. 2485

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในปี 2485 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก แปลก พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากการลาออก เนื่องจากต้องเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีให้เหมาะสมกับสถานการณ์ (สงครามโลกครั้งที่ 2)

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
แปลก พิบูลสงครามได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2485[8]

พ.ศ. 2487

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในปี 2487 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก แปลก พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากการลาออก

ผู้ได้รับการเสนอชื่อผลการลงมติ
พระยาพหลพลพยุหเสนา81
แปลก พิบูลสงคราม19

พระยาพหลพลพยุหเสนา ปฏิเสธตำแหน่ง จึงมีการลงมติใหม่อีกครั้ง

ผู้ได้รับการเสนอชื่อผลการลงมติ
ควง อภัยวงศ์69
แปลก พิบูลสงคราม22
สินธุ์ กมลนาวิน8

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487[9]

พ.ศ. 2488

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในปี 2488 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก ควง อภัยวงศ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากการลาออก และได้ลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2488[10]

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
ทวี บุณยเกตุได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งทวี บุณยเกตุเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488[11]

กันยายน

เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 ได้มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในปี 2488 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก ทวี บุณยเกตุ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากการลาออก[12]

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
ทวี บุณยเกตุได้รับความไว้วางใจ

พ.ศ. 2489

มกราคม

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในเดือนมกราคม ปี 2489 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากการยุบสภาผู้แทนราษฎร

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
ควง อภัยวงศ์ได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2489[13]

มีนาคม

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก ควง อภัยวงศ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากการลาออก

พรรคการเมืองผู้ได้รับการเสนอชื่อผลการลงมติ[14]
พรรคสหชีพปรีดี พนมยงค์116
พรรคประชาธิปัตย์เสนีย์ ปราโมช36

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งปรีดี พนมยงค์เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2489[15]

มิถุนายน

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในเดือนมิถุนายน ปี 2489 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก ปรีดี พนมยงค์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากการลาออก

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
ปรีดี พนมยงค์ได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งปรีดี พนมยงค์เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489[16]

สิงหาคม

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในเดือนมิถุนายน ปี 2489 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก ปรีดี พนมยงค์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากการลาออก เนื่องจากถูกใส่ความกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8

พรรคการเมืองผู้ได้รับการเสนอชื่อผลการลงมติ
พรรคแนวรัฐธรรมนูญถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์113
พรรคประชาธิปัตย์เสนีย์ ปราโมช52

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489[17]

พ.ศ. 2490

พฤษภาคม

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในเดือนพฤษภาคม ปี 2490 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากการลาออก

พรรคการเมืองผู้ได้รับการเสนอชื่อผลการลงมติ
พรรคแนวรัฐธรรมนูญถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์132
พรรคประชาธิปัตย์ควง อภัยวงศ์55
พรรคแนวรัฐธรรมนูญมังกร พรหมโยธี7

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490[18]

พฤศจิกายน

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2490 เป็นการลงมติของคณะทหารแห่งชาติ เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากการถูกยึดอำนาจ

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
ควง อภัยวงศ์ได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490[19]

พ.ศ. 2491

กุมภาพันธ์

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2491 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก ควง อภัยวงศ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีการเลือกตั้งทั่วไป

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
ควง อภัยวงศ์ได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491[20]

เมษายน

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในเดือนเมษายน ปี 2491 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก ควง อภัยวงศ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากลาออก

นายกรัฐมนตรีผู้แถลงนโยบายเห็นชอบไม่เห็นชอบงดออกเสียง
แปลก พิบูลสงคราม702673

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491[21]

พ.ศ. 2492

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในปี 2492 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก แปลก พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากจัดให้มีการเลือกตั้ง

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
แปลก พิบูลสงครามได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492[22]

พ.ศ. 2494

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในธันวาคม ปี 2494 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก แปลก พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
แปลก พิบูลสงครามได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494[23]

พ.ศ. 2495

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในมีนาคม ปี 2495 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก แปลก พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากจัดให้มีการเลือกตั้ง

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
แปลก พิบูลสงครามได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2495[24]

พ.ศ. 2500

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในมีนาคม ปี 2500 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก แปลก พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากสภาครบวาระ

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
แปลก พิบูลสงครามได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2500[25]

พ.ศ. 2501

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในมกราคม ปี 2501 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก พจน์ สารสิน พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากจัดให้มีการเลือกตั้ง

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
ถนอม กิตติขจรได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งถนอม กิตติขจรเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501[26]

พ.ศ. 2502

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในกุมภาพันธ์ ปี 2502 เป็นการลงมติของสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก ถนอม กิตติขจร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากลาออก และรัฐประหาร

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
สฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502[27]

พ.ศ. 2506

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในธันวาคม ปี 2506 เป็นการลงมติของสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากถึงแก่อสัญกรรม

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
ถนอม กิตติขจรได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งถนอม กิตติขจรเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506[28]

พ.ศ. 2512

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในปี 2512 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก ถนอม กิตติขจร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากจัดให้มีการเลือกตั้ง

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
ถนอม กิตติขจรได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งถนอม กิตติขจรเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2512[29]

พ.ศ. 2515

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในปี 2515 เป็นการลงมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจาก ถนอม กิตติขจร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐประหารตัวเอง

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
ถนอม กิตติขจรได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งถนอม กิตติขจรเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515[30]

พ.ศ. 2517

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในปี 2517 เป็นการลงมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากการลาออก

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
สัญญา ธรรมศักดิ์ได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2517[31]

พ.ศ. 2518

กุมภาพันธ์

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2518 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากการลาออก และจัดให้มีการเลือกตั้ง

ผู้ได้รับการเสนอชื่อเห็นชอบไม่เห็นชอบ
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช13350

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518[32]

แต่เมื่อแถลงนโยบาย สภาผู้แทนราษฎรกลับไม่ได้รับความไว้วางใจ เป็นรัฐบาลแรกและรัฐบาลเดียวในประวัติศาสตร์ไทย

นายกรัฐมนตรีผู้แถลงนโยบายไว้วางใจไม่ไว้วางใจงดออกเสียง
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช1111526

มีนาคม

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในเดือนมีนาคม ปี 2518 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจในการแถลงนโยบาย

ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเห็นชอบ
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช135
สมคิด ศรีสังคม59
งดออกเสียง88

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2518[33]

พ.ศ. 2519

เมษายน

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในเดือนเมษายน ปี 2519 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากยุบสภาผู้แทนราษฎร

นายกรัฐมนตรีผลการลงมติ
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช206
จากสมาชิกทั้งหมด279

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2519[34]

กันยายน

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในเดือนกันยายน ปี 2519 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากลาออก

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2519[35]

ตุลาคม

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในเดือนตุลาคม ปี 2519 เป็นการลงมติของคณะการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากถูกยึดอำนาจ

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
ธานินทร์ กรัยวิเชียรได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งธานินทร์ กรัยวิเชียรเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519[36]

พ.ศ. 2520

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในปี 2520 เป็นการลงมติของสภานโยบายแห่งชาติ เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากธานินทร์ กรัยวิเชียร ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากถูกยึดอำนาจ

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520[37]

พ.ศ. 2522

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในปี 2522 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากจัดให้มีการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกหลังรัฐประหาร

นายกรัฐมนตรีเห็นด้วยไม่เห็นด้วยลุกออกจากที่ประชุมรวม
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์3111820346

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2522[38]

พ.ศ. 2523

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในปี 2523 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากลาออก ก่อนการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล

นายกรัฐมนตรีสส.สว.รวม
เปรม ติณสูลานนท์195200395
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช79180
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์415
หะริน หงสกุล2-2
เสริม ณ นคร-22
ทวี จุลละทรัพย์-22
สงัด ชลออยู่-11
สมัคร สุนทรเวช-11
ไม่ออกเสียง1-1
บัตรเสีย437
รวมออกเสียง285211496

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523[39]

พ.ศ. 2526

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในปี 2526 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากเปรม ติณสูลานนท์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร

พรรคที่สนับสนุน พลเอกเปรม ติณสูลานนท์คะแนน
พรรคประชากรไทย36
พรรคชาติประชาธิปไตย15
พรรคกิจสังคม101
พรรคชาติไทย108
พรรคประชาธิปัตย์57
รวม317
งดออกเสียง7

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2526[40]

พ.ศ. 2529

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในปี 2529 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากเปรม ติณสูลานนท์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร

นายกรัฐมนตรีคะแนน[41]
เปรม ติณสูลานนท์266

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529[42]

พ.ศ. 2531

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในปี 2531 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากเปรม ติณสูลานนท์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
ชาติชาย ชุณหะวัณได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งชาติชาย ชุณหะวัณเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531[43]

พ.ศ. 2533

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในปี 2533 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากชาติชาย ชุณหะวัณ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการลาออก

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
ชาติชาย ชุณหะวัณได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งชาติชาย ชุณหะวัณเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533[44]

พ.ศ. 2534

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในปี 2534 เป็นการลงมติของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากชาติชาย ชุณหะวัณ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการถูกยึดอำนาจ

นายกรัฐมนตรีสถานะของผลการลงมติ
อานันท์ ปันยารชุนได้รับความไว้วางใจ

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งอานันท์ ปันยารชุนเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2534[45]

พ.ศ. 2535

เมษายน

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในเดือนเมษายน ปี 2535 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากอานันท์ ปันยารชุน ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป

ผู้ได้รับการเสนอชื่อผลการลงมติ
สุจินดา คราประยูร195
ชวลิต ยงใจยุทธ165

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งสุจินดา คราประยูรเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535[46]

กันยายน

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในเดือนกันยายน ปี 2535 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากอานันท์ ปันยารชุน ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร

ผู้ได้รับการเสนอชื่อผลการลงมติ
ชวน หลีกภัย207
ประมาณ อดิเรกสาร153

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535[47]

พ.ศ. 2538

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในปี 2538 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 นายชวน หลีกภัย ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร

ผู้ได้รับการเสนอชื่อผลการลงมติ
บรรหาร ศิลปอาชา233
ชวน หลีกภัย158

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งนายบรรหาร ศิลปอาชาเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538[48]

พ.ศ. 2539

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในปี 2539 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 นายบรรหาร ศิลปอาชา ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร

ผู้ได้รับการเสนอชื่อผลการลงมติ
ชวลิต ยงใจยุทธ219
ชวน หลีกภัย174

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งพลเอกชวลิต ยงใจยุทธเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539[49]

พ.ศ. 2540

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในปี 2540 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

พรรคการเมืองชวน หลีกภัยชาติชาย ชุณหะวัณรวม
พรรคความหวังใหม่-125125
พรรคประชาธิปัตย์123-123
พรรคชาติพัฒนา-5252
พรรคชาติไทย39-39
พรรคประชากรไทย13518
พรรคเอกภาพ8-8
พรรคมวลชน-22
พรรคพลังธรรม1-1
พรรคไท1-1
รวม191184375

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540[50]

พ.ศ. 2544

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในปี 2544 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 นายชวน หลีกภัย พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร

ผู้ได้รับการเสนอชื่อเห็นชอบไม่เห็นชอบงดออกเสียงรวม
ทักษิณ ชินวัตร[51]34012730497

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544[52]

พ.ศ. 2548

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในปี 2548 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548 เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่จนครบวาระ

พรรคการเมืองเห็นชอบไม่เห็นชอบงดออกเสียงไม่เข้าร่วมประชุมรวม
ไทยรักไทย37412377
ประชาธิปัตย์92496
ชาติไทย112325
มหาชน22
รวม37711166494

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548[53]

พ.ศ. 2551

มกราคม

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในเดือนมกราคม ปี 2551 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ ประกาศให้เลือกตั้งทั่วไป

พรรคการเมืองสมัคร สุนทรเวชอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะงดออกเสียงรวม
พรรคพลังประชาชน231-2233
พรรคประชาธิปัตย์-1631164
พรรคเพื่อแผ่นดิน21--21
พรรคชาติไทย37--37
พรรคมัชฌิมาธิปไตย7--7
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา9--9
พรรคประชาราช5--5
รวม3101633476

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551 [54]

กันยายน

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในเดือนกันยายน ปี 2551 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง

พรรคการเมืองสมชาย วงศ์สวัสดิ์อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะงดออกเสียงรวม
พรรคพลังประชาชน226-4230
พรรคประชาธิปัตย์-1631164
พรรคเพื่อแผ่นดิน21--21
พรรคชาติไทย30--30
พรรคมัชฌิมาธิปไตย7--7
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา9--9
พรรคประชาราช5--5
รวม2981635466

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 [55]

ธันวาคม

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในเดือนธันวาคม ปี 2551 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง

พรรคการเมืองอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะประชา พรหมนอกงดออกเสียงไม่เข้าร่วมประชุมรวม
พรรคเพื่อไทย-178--178
พรรคประชาธิปัตย์163-11165
พรรคเพื่อแผ่นดิน129--21
พรรคชาติไทยพัฒนา141--15
พรรคภูมิใจไทย83--11
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา52119
พรรคประชาราช-5--5
กลุ่มเพื่อนเนวิน22-1-23
กลุ่มอื่นๆ[^ 1]11---11
รวม23519832438

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 [56]

พ.ศ. 2554

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในปี 2554 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร

ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อพรรคการเมืองเห็นชอบไม่เห็นชอบงดออกเสียงไม่เข้าร่วมประชุมรวม
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรพรรคเพื่อไทย261-4-265
พรรคประชาธิปัตย์-31524159
พรรคภูมิใจไทย--34-34
พรรคชาติไทยพัฒนา19---19
พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน7---7
พรรคพลังชล7---7
พรรครักประเทศไทย--4-4
พรรคมาตุภูมิ--2-2
พรรครักษ์สันติ--1-1
พรรคมหาชน1---1
พรรคประชาธิปไตยใหม่1---1
รวม29631974500

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554[57]

พ.ศ. 2557

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในปี 2557 เป็นการลงมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร

ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเห็นชอบไม่เห็นชอบงดออกเสียงไม่เข้าร่วมประชุมรวม
ประยุทธ์ จันทร์โอชา191-33197
รวม191033197

และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557[58]

พ.ศ. 2562

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในปี 2562 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จัดให้มีการเลือกตั้ง ภายหลังการรัฐประหาร

พรรคการเมืองงดออกเสียงไม่เข้าร่วมประชุมรวม
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจประยุทธ์ จันทร์โอชา
วุฒิสภา-2491-250
เพื่อไทย136---136
พลังประชารัฐ-116--116
อนาคตใหม่79--281
ประชาธิปัตย์-511-52
ภูมิใจไทย-501-51
เสรีรวมไทย10---10
ชาติไทยพัฒนา-10--10
ประชาชาติ7---7
เศรษฐกิจใหม่6---6
เพื่อชาติ5---5
รวมพลังประชาชาติไทย-5--5
ชาติพัฒนา-3--3
พลังท้องถิ่นไท-3--3
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย-2--2
พลังปวงชนไทย1---1
พลังชาติไทย-1--1
ประชาภิวัฒน์-1--1
ไทยศรีวิไลย์-1--1
พลังไทยรักไทย-1--1
ครูไทยเพื่อประชาชน-1--1
ประชานิยม-1--1
ประชาธรรมไทย-1--1
ประชาชนปฏิรูป-1--1
พลเมืองไทย-1--1
ประชาธิปไตยใหม่-1--1
พลังธรรมใหม่-1--1
รวม24450032749

จึงถือได้ว่ามติที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ลงมติเลือก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีอีกวาระหนึ่ง[59]และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลง ณ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562[60]

ใกล้เคียง

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย การลงจอด การลงคะแนนเสียงในสวิตเซอร์แลนด์ การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566 การลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 การลงคะแนนแบบคะแนนเสียงที่เหนือกว่า การลงประชามติแยกซูดานใต้เป็นเอกราช พ.ศ. 2554 การลงคะแนนแบบจัดลำดับ การลงประชามติแยกเป็นเอกราช การลงประชามติประมวลกฎหมายครอบครัวคิวบา พ.ศ. 2565

แหล่งที่มา

WikiPedia: การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/73272 http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/73282 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0015461... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2477/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2480/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2480/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2481/A/...