องค์ประกอบที่มีอิทธิพล ของ การลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด

เพราะความซับซ้อนของปรากฏการณ์นี้ สิ่งเร้าที่มีลักษณะต่าง ๆ กัน และการกระทำทางกายต่าง ๆ กันสามารถเปลี่ยนประสบการณ์ลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด

แอมพลิจูดของ saccade

แอมพลิจูด (ช่วงระยะ) ของ saccade ยิ่งสูงขึ้นเท่าไร การประเมินค่าเวลาเกินไปก็เพิ่มขึ้นเท่านั้นเช่นในตัวอย่างเกี่ยวกับนักเรียน ตายิ่งต้องเคลื่อนไปไกลยิ่งเท่าไรที่จะเห็นนาฬิกาการรับรู้เหมือนว่าเวลาหยุด ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นไปเท่านั้น[14] ความเป็นไปอย่างนี้สนับสนุนทฤษฎีที่ว่า การประเมินระยะเวลาเกินเกิดขึ้นเพราะเกิดจากการเติมข้อมูลที่หายไปในช่วง saccadeคือ saccade ยิ่งใช้เวลานานเท่าไรสมองก็จะต้องเติมข้อมูลที่หายไปนานขึ้นเท่านั้น ซึ่งนำไปสู่การประเมินช่วงเวลาของข้อมูลทางตาที่ได้รับทันทีหลังจาก saccade เกินไป[16]

การยักย้ายความใส่ใจ

เมื่อเปลี่ยนจุดทอดสายตาจากวัตถุหนึ่งไปยังอีกวัตถุหนึ่งการเคลื่อนไหวแบบ saccade นั้นจะประกอบด้วยการยักย้ายความใส่ใจด้วยเช่น ในกรณีภาพลวงตาเหมือนนาฬิกาหยุด ไม่ใช่ตาเท่านั้นที่ขยับไปแต่ต้องมีการย้ายความใส่ใจไปที่นาฬิกาเพราะเหตุนี้ นักวิจัยจึงยังไม่ทราบว่า การเคลื่อนไหวตาหรือเพียงแค่การย้ายความเใส่ใจไปยังตัวกระตุ้นที่สองเท่านั้น ที่เป็นตัวเริ่ม saccadic maskingแต่มีการทดลองที่ผู้รับการทดลองย้ายความใส่ใจโดยไม่ขยับตาที่แสดงว่า การยักย้ายความใส่ใจเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เกิดประสบการลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด[14] นี้บอกเป็นนัยว่า การใส่ใจไม่ได้เป็นสัญญาณจุดเริ่มต้นทางเวลาที่ใช้ในการเติมการรับรู้ให้เต็มแต่จริง ๆ แล้ว การเคลื่อนไหวตาจริง ๆ นั่นแหละเป็นสัญญาณจุดเริ่มต้นทางเวลาที่สำคัญนี้ถึงอย่างนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างความใส่ใจกับการรับรู้ในเรื่องของการลวงประสาทเหมือนเวลาหยุดเป็นความสัมพันธ์ที่วัดได้ยากและอาจจะมีความเอนเอียง (bias) เพราะอาศัยวิธีการทดลองเพราะผู้รับการทดลองเองนั่นแหละอาจมีความเอนเอียง เนื่องจากรับสั่งให้ทำกิจกรรมหรือย้ายความสนใจไปทางอื่นทฤษฎีว่าความใส่ใจอาจจะเป็นสัญญาณจุดเริ่มต้นทางเวลาสำหรับการลวงประสาทเหมือนเวลาหยุดยังไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้โดยส่วนเดียว[16]

เสถียรภาพของตำแหน่งสิ่งแวดล้อม

เราอาจจะสงสัยว่า การลวงประสาทเหมือนเวลาหยุดยังเกิดขึ้นหรือไม่ถ้าเป้าหมายของ saccade เคลื่อนที่ไปจากจุดเดิมพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ เราจะประสบการลวงประสาทเหมือนเวลาหยุดหรือไม่ถ้านาฬิกาที่เราดูเคลื่อนไปจากจุดเดิมโดยผ่านวิธีการทดลอง นักวิจัยพบว่า ขึ้นอยู่กับว่าเรารู้หรือไม่ว่าวัตถุนั้นได้เคลื่อนไปจากที่เดิมแล้วคือ ถ้าเรารู้ว่า เป้าหมายของ saccade ได้เคลื่อนไปแล้ว ก็จะไม่เกิดประสบการลวงประสาทเหมือนเวลาหยุดและโดยนัยตรงกันข้าม ถ้าไม่รู้ว่า เป้าหมายของ saccade ได้เคลื่อนไปแล้ว ก็จะประสบกับปรากฏการณ์นี้นี่น่าจะเป็นเพราะว่า การป้อนข้อมูลประสาทย้อนหลังจะไม่เกิดขึ้นในกรณีที่มีการรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของเป้าหมายคือ ถ้าหลัง saccade ตาก็ทอดลงตรงที่เป้าหมายสมองก็จะสมมุติว่า เป้าหมายได้ดำรงอยู่ที่ตำแหน่งของมันตลอดช่วงระยะ saccadeแต่ถ้าเป้าหมายเปลี่ยนตำแหน่งในช่วง saccade ความแปรเปลี่ยนของสถานการณ์ย่อมทำให้เหมือนกับเป็นวัตถุใหม่[14]

ลักษณะของตัวกระตุ้น

ลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งเร้ามีอิทธิพลที่สำคัญต่อปรากฏการณ์นี้โดยเฉพาะก็คือ ความถี่และรูปแบบของสิ่งเร้าถ้ามีความถี่ทางกาลเวลา (temporal frequency) ของสิ่งเร้าสูง คือปรากฏต่อ ๆ กัน ก็จะทำให้การประเมินเวลาเกินเพิ่ม ทำการลวงประสาทให้มีกำลังเพิ่มขึ้นถ้าเป็นสิ่งเร้าตัวเดียวที่ซ้ำ ๆ กัน ระยะเวลาที่ประมาณเกินก็จะสั้นลงกว่าสิ่งเร้าใหม่ ๆ[15] เนื่องจากกระบวนการระงับกระแสประสาท (neural suppression) ภายในคอร์เทกซ์คือ งานวิจัยที่ใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการสร้างภาพของสมองแสดงว่า การยิงสัญญาณซ้ำ ๆ กันของนิวรอนในคอร์เทกซ์มีผลให้สมองระงับการยิงสัญญาณของนิวรอนเหล่านั้น[17] นี้เป็นการปรับตัวของระบบประสาท (neural adaptation) แบบหนึ่ง

ประสาทสัมผัสต่าง ๆ

การลวงประสาทเหมือนเวลาหยุดไม่ใช่เกิดขึ้นทางตาอย่างเดียว แต่ยังเกิดทางหูและทางสัมผัสอีกด้วย[18]

สำหรับทางหู การลวงประสาทและการประเมินเวลาเกินเกิดขึ้นเมื่อทำการสังเกตการณ์ทางหูตัวอย่างสามัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็คือการใช้โทรศัพท์เมื่อกำลังฟังเสียงที่บอกว่าโทรศัพท์เบอร์ที่กำลังโทรถึงกำลังดังอยู่แล้วเปลี่ยนการฟังจากหูหนึ่งไปสู่อีกหูหนึ่งช่วงระยะห่างระหว่างโทรศัพท์ดังดูเหมือนจะยาวขึ้น[1]

ส่วนทางสัมผัส การลวงประสาทจะเกิดเมื่อปล่อยวัตถุหนึ่งไปจับอีกวัตถุหนึ่งคือหลังจากเอื้อมไปจับวัตถุที่สอง ผู้รับการทดลองประมาณเวลาที่ได้จับวัตถุที่สองเกินความเป็นจริง[4] ในอีกการทดลองหนึ่งที่ใช้วิธีคล้าย ๆ กัน นักวิจัยสามารถปรับผู้รับการทดลองให้เห็นแสงก่อนที่จะเปิดสวิทช์ไฟ (เพราะเกิดการลวงประสาทสัมผัส)การทดลองเหล่านี้บอกเป็นนัยว่า เหมือนกับที่มีการประเมินระยะเวลาของเข็มวินาทีที่เห็นทางตาเกินก็สามารถที่จะประเมินระยะเวลาของสิ่งเร้าทางหูและทางสัมผัสเกินได้เช่นกันหลักฐานนี้ชี้ให้นักวิจัยเริ่มศึกษาถึงกลไกการรักษาเวลาหรือว่ากระบวนการรักษาเวลาทั่ว ๆ ไป ที่ต้องใช้ในการรับรู้ระยะเวลาของสิ่งเร้าและเป็นสิ่งที่สามัญทั่วไปในระบบประสาทสัมผัสต่าง ๆ[15]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด http://www.bbc.com/future/story/20120827-how-to-ma... http://www.nowiknow.com/temporary-blindness http://www.youtube.com/watch?v=KS1NSyMOjsk http://www.youtube.com/watch?v=nNBTLbw1_2Q http://archiv.ub.uni-marburg.de/diss/z2012/0935 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12401174 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18945903 //doi.org/10.1007%2FBF02584441 //doi.org/10.1016%2FS0960-9822+(02)+00707-8 //doi.org/10.1016%2FS0960-9822+(02)+01219-8