การลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด

การลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด (อังกฤษ: Chronostasis, จาก กรีกโบราณ: χρόνος, chrónos, แปลว่า "เวลา" และ กรีกโบราณ: στάσις, stásis, แปลว่า "หยุด") เป็นการรับรู้เวลาผิดอย่างหนึ่ง ที่เกิดความรู้สึกเมื่อเริ่มกิจกรรมใหม่ว่า เวลายืดออกไป[1] ยกตัวอย่างเช่น ความรู้สึกเหมือนเวลาหยุดจะเกิดขึ้นเมื่อกำลังตรึงตาที่จุด ๆ หนึ่งแล้วทำการเคลื่อนไหวตาแบบรวดเร็วที่เรียกว่า saccade (เหลือบตา) ไปมองที่จุดที่สองซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกว่าได้มองอยู่ที่จุดที่สองเป็นระยะเวลานานกว่าที่ได้มองแล้วจริง ๆ โดยสามารถเกิดความรู้สึกเหมือนเวลายืดออกไปแบบนี้ถึง 500 มิลลิวินาที (ครึ่งวินาที)เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ขัดแย้งกับไอเดีย (หรือทฤษฎี) ที่ว่า ระบบการมองเห็นทำการจำลองเหตุการณ์ที่กำลังเป็นไปก่อนจะเกิดการรับรู้เหตุการณ์นั้นจริง ๆ[2]รูปแบบของการลวงประสาทที่รู้จักกันดีที่สุดก็คือ ภาพลวงตาเหมือนนาฬิกาหยุด (stopped-clock illusion) ที่หลังจากการเหลือบตาแบบ saccade ไปดูนาฬิกา การเคลื่อนไปของเข็มวินาทีเป็นครั้งแรกเหมือนจะใช้เวลานานกว่าครั้งที่สอง โดยที่เข็มวินาทีอาจจะดูเหมือนกับหยุดอยู่กับที่สักระยะหนึ่งหลังจากการเหลือบดู[3][4][5][6]การแปลสิ่งเร้าผิดเช่นนี้สามารถเกิดขึ้นทางหูและทางสัมผัสได้เช่นกันยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยหนึ่งบอกเป็นนัยว่า เมื่อกำลังฟังเสียงสัญญาณโทรศัพท์ที่บอกว่า โทรศัพท์เบอร์ที่โทรไปกำลังดังอยู่ถ้ามีการสลับหูเพื่อจะฟังเสียงนั้นคนโทรจะประเมินระยะเวลาระหว่างสัญญาณโทรศัพท์ดังมากเกินไป[1]

ใกล้เคียง

การลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด การลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่าย การลวงเรื่องดวงจันทร์ครั้งใหญ่ การลวงสัมผัสตะแกรงเหล็กร้อน การลวงประสาท การลวงตา การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การลอบสังหารชินโซ อาเบะ การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย

แหล่งที่มา

WikiPedia: การลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด http://www.bbc.com/future/story/20120827-how-to-ma... http://www.nowiknow.com/temporary-blindness http://www.youtube.com/watch?v=KS1NSyMOjsk http://www.youtube.com/watch?v=nNBTLbw1_2Q http://archiv.ub.uni-marburg.de/diss/z2012/0935 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12401174 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18945903 //doi.org/10.1007%2FBF02584441 //doi.org/10.1016%2FS0960-9822+(02)+00707-8 //doi.org/10.1016%2FS0960-9822+(02)+01219-8