การลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่าย

การลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่าย (อังกฤษ: cutaneous rabbit illusion) หรือ สภาวะกระโดดที่ผิวหนัง (อังกฤษ: cutaneous saltation[1]) หรือ ปรากฏการณ์กระต่ายที่ผิวหนัง (อังกฤษ: cutaneous rabbit effect)เป็นการลวงความรู้สึกสัมผัสโดยการแตะหรือเคาะที่เขตผิวหนังสองเขตหรือมากกว่านั้นตามลำดับอย่างรวดเร็วเกิดได้ง่ายที่สุดตามผิวของร่างกายที่มีการรับรู้สัมผัสที่ไม่ละเอียดโดยพื้นที่เช่นที่หน้าแขนการเคาะตามลำดับอย่างรวดเร็วเบื้องต้นใกล้ ๆ ข้อมือและต่อจากนั้นใกล้ ๆ ข้อศอกก่อให้เกิดความรู้สึกว่ามีการเคาะกระโดดมาตามลำดับตามลำแขนจากข้อมือไปถึงข้อศอกแม้ว่าจะไม่มีการเคาะจริง ๆ ในระหว่างข้อมือถึงข้อศอกและโดยนัยเดียวกัน ถ้าเบื้องต้นเคาะใกล้ข้อศอก แล้งจึงเคาะใกล้ข้อมือ ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกลวงถึงการเคาะกระโดดไปตามลำดับจากข้อศอกจนถึงข้อมือการลวงความรู้สึกเช่นนี้ค้นพบโดยแฟร็งก์ เจ็ลดาร์ด และคารล์ เชอร์ริก ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันในประเทศสหรัฐอเมริกาในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970[2] และกำหนดรายละเอียดเพิ่มขึ้นโดยเจ็ลดาร์ดในปี ค.ศ. 1982[3] และในงานวิจัยหลายงานที่สืบ ๆ กันมาเจ็ลดาร์ดและเชอร์ริกเปรียบความรู้สึกที่เกิดขึ้นเหมือนกับกระต่ายกระโดดไปตามผิวหนัง จึงได้ให้ปรากฏการณ์นี้ด้วยชื่อนั้นแม้ว่าการลวงความรู้สึกแบบกระต่ายจะได้รับการวิจัยอย่างกว้างขวางในระบบสัมผัส แต่ก็ได้มีการค้นพบการลวงประสาทสัมผัสแบบกระโดดในระบบการได้ยิน[4][5][6] และระบบการเห็นแล้ว[7][8][9]

ใกล้เคียง

การลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด การลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่าย การลวงเรื่องดวงจันทร์ครั้งใหญ่ การลวงสัมผัสตะแกรงเหล็กร้อน การลวงประสาท การลวงตา การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การลอบสังหารชินโซ อาเบะ การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย

แหล่งที่มา

WikiPedia: การลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่าย http://psych.mcmaster.ca/goldreich-lab/LL/Leaping_... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1029079 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10664104 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16135885 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16822134 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17389923 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19170489 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20130194 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20862459 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21575679