แบบจำลอง ของ การลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่าย

นักวิจัยหลายพวกได้เสนอแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์สำหรับการลวงสัมผัสแบบกระต่าย[19][20][21][22][23][24]

ระบบการรับรู้ประเมินระยะทางระหว่างการเคาะตามลำดับที่ผิวหนัง มีค่าต่ำเกินไป รูปข้างบนแสดงตัวกระตุ้น พร้อมทั้งความรู้สึกของตัวกระตุ้นนั้นที่ผิวหนัง (ที่แสดงที่หน้าแขน) ส่วนกราฟด้านล่างแสดงข้อมูลที่ได้ในการทดลองในมนุษย์และค่าที่แบบจำลอง Bayesian พยากรณ์[24]

แบบจำลอง Bayesian ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2007 ให้ผลเหมือนกับการลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่าย และการลวงประสาทสัมผัสที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่และกาลเวลาอย่างอื่น ๆ แบบจำลองนี้แสดงว่า วงจรประสาทในสมองเข้ารหัสการคาดหวังที่สร้างขึ้นด้วยประสบการณ์รับรู้ทางประสาทสัมผัสว่า ตัวกระตุ้นสัมผัสมักจะเคลื่อนตัวไปอย่างช้า ๆ แบบจำลองสามารถพยากรณ์โดยอนุมานแบบความน่าจะเป็นในระดับที่แม่นยำที่สุด (optimal probabilistic inference) โดยรวมข้อมูลเกี่ยวกับความรู้สึกโดยพื้นที่ที่มีค่าไม่แน่นอน กับความคาดหวังเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวที่เป็นไปอย่างช้า ๆความคาดหวังว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ นั้น มีผลให้ระบบรับความรู้สึกถึงการตัดสินว่า ตัวกระตุ้นที่เคลื่อนไปตามลำดับอย่างรวดเร็วนั้น ควรจะรู้สึกได้บนผิวหนังใกล้ ๆ กันเกินความจริง

ในปี ค.ศ. 2013 แบบจำลองแบบ Bayesian ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น[24]ที่สามารถพยากรณ์ความรู้สึกในมนุษย์ต่อตัวกระตุ้นตามลำดับแบบง่าย ๆ (คือแบบสองจุด) และตัวกระตุ้นที่ซับซ้อนขึ้น ๆ ไป (คือแบบหลายจุด)เช่นปรากฏการณ์ทอแบบ 3 จุด (3-tap tau effect) และการลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่ายแบบ 15 จุดนอกจากนั้นแล้ว แบบจำลองสุดท้ายนี้[24] สามารถพยากรณ์การรับรู้ที่มีการใส่ใจในพื้นที่เฉพาะจุดที่อื่น เมื่อทดลองร่วมกับการลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่าย[10], มีความสอดคล้องกับการลวงสัมผัสที่เป็นไปนอกร่างกาย[12], และเข้ากันเมื่อการลวงสัมผัสมีอิทธิพลจากความรู้สึกข้ามประสาทสัมผัส[16]มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบฟรีแวร์ชื่อว่า "Leaping Lagomorphs" ที่ปฏิบัติการตามแบบจำลองนี้ (คือทำแบบจำลองนี้ให้มีผล)

ในกรณีที่มีการเคาะสองครั้งที่ผิวหนัง แบบจำลองนี้พยากรณ์ระยะทางระหว่างการเคาะที่รู้สึก (ตัวแปร l*) โดยเป็นฟังก์ชันของระยะทางระหว่างการเคาะจริง ๆ (ตัวแปร l) และของเวลาระหว่างการเคาะ (ตัวแปร t) โดยสูตรนี้

l* = l/1 + 2 (τ/t)2

สูตรนี้เรียกว่า "perceptual length contraction formula (สูตรย่อระยะทางที่รู้สึก)"[23][24] ที่ตั้งชื่อ[23]ให้มีความคล้ายคลึงกับการย่อระยะทางคือ length contraction ที่ทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์ได้กล่าวถึง เหมือนกับผลที่เห็นในการทดลองจริง ๆ ให้สังเกตว่าl* มีค่าน้อยกว่า l ยิ่งขึ้นเมื่อ t น้อยลง แต่เมื่อ t มีค่าสูงขึ้น l* มีค่าเข้าสู่ l และการลวงสัมผัสนี้ก็จะหายไป[10] พารามิเตอร์ของแบบจำลองคือ ทอ (τ) เป็นค่าคงตัวของเวลาสำหรับการรับรู้พื้นที่ทางสัมผัสึค่าของ τ ตัดสินความรวดเร็วที่ระยะทางที่รู้สึก มีค่าเข้าสู่ระยะทางจริง ๆ เมื่อเวลาระหว่างตัวกระตุ้นที่มากระทบผิวเพิ่มขึ้นระยะทางที่รู้สึกเท่ากับ 1/3 ของระยะทางจริง ๆ เมื่อ t=τและเท่ากับ 2/3 ของระยะทางจริง ๆ เมื่อ t=2τในบทความตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2013 โกลด์ไรค์และท็องแสดงว่า τ เป็นอัตราส่วนระหว่างความคาดหวังว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ กับความละเอียดของความรู้สึกสัมผัสที่ผิวหนังและรายงานว่า ค่าของ τ อยู่ที่ 0.1 วินาที สำหรับหน้าแขนโดยประมาณ[24]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่าย http://psych.mcmaster.ca/goldreich-lab/LL/Leaping_... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1029079 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10664104 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16135885 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16822134 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17389923 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19170489 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20130194 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20862459 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21575679