การขาดหายไปของการบันทึกชั้นหิน ของ การลำดับชั้นหิน

เนื่องจากกระบวนการบนผิวโลกมีทั้งการสะสมตัว (sedimentation) และการกร่อน (erosion) เกิดขึ้นแตกต่างกันไป ทั้งในเชิงปริมาณและสถานที่มาตลอดธรณีกาล ดังนั้นอัตราของการเปลี่ยนแปลงจึงมีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละแห่ง ซึ่งเป็นผลมาจากความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกันระหว่าง การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก การกร่อน และการสะสมตัว โดยเฉพาะการกร่อนนั้นจะทำลายการบันทึกชันหินไปซึ่งทำให้เกิดความไม่สมบูรณ์ และทำให้เกิดแนวชั้นไม่ต่อเนื่อง (unconformities) ขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ในช่วงธรณีกาลดังกล่าว ไม่มีการสะสมตัวแสดงให้เห็นเอาไว้อีกด้วย การขาดหายไปของเวลาที่ถูกแสดงไว้ด้วยแนวชั้นไม่ต่อเนื่องดังกล่างเรียกว่า hiatus (รูปภาพที่ 4 )

ตามปกติแนวชั้นไม่ต่อเนื่อง (unconformities) จะแสดงถึงการรบกวนที่รุนแรงต่อระบบการสะสมตัว และมักจะใช้แทน hiatus ที่ยาวนาน สำหรับการหายไปเป็นเวลาสั้น ๆ การสะสมตัวซึ่งเกิดจากการแปรเปลี่ยนไปตามปกติเกี่ยวกับสภาพทั่วไปลักษณะหนึ่ง โดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงขึ้นในรูปแบบทางหินตะกอนตามปกตินั้น จะเรียกว่า ชั้นว่างตะกอน (diastem) ซึ่งก็คือ ช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ว่างเว้น จากการสะสมตัวของตะกอนนั่นเอง

รูปที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างหน้าตัดหินที่ถูกรักษาเอาไว้ กับช่วงธรณีการที่สอดคล้องกันแนวชั้นต่อเนื่องทำให้เกิด hiatus ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีการบันทึกการสะสมตัวเหลือให้เห็น ที่มา Math/Science Nucleus © 2001


การจำแนกของชั้นหิน (Stratigraphic Classification)

การจำแนกลำดับชั้นหินหมายถึง ระบบการจัดระเบียบของชั้นหินในโลกซึ่งมีอยู่ตามปกติ ให้เข้าเป็นหมู่ต่าง ๆ ได้ถือเอาลักษณะทางกายภาพ คุณสมบัติหรือคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งที่อยู่ในหินเป็นเกณฑ์กำหนดแบ่ง และเนื่องจากคุณภาพในชั้นหินที่เป็นประโยชน์ในการจำแนกมีต่าง ๆ กันมากมาย การจำแนกลำดับหินชั้นจึงมีหลายลักษณะ

ใกล้เคียง

การลำเลียงแบบใช้พลังงาน การลำดับชั้นหิน การลำดับชั้นสนามแม่เหล็กบรรพกาล การลำเลียงสารแบบแอคทีฟทรานสปอร์ต การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง การชำระเลือดผ่านเยื่อ การนำความร้อน การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ ชินวัตร