ส่วนประกอบและขั้นตอนของวิชาลำดับชั้นหิน ของ การลำดับชั้นหิน

ส่วนประกอบและขั้นตอนของวิชาลำดับชั้นหินซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงอยู่กับลักษณะหินและลักษณะทางชีวภาพนั้น สามารถสรุปแสดงเป็นตารางได้ดังต่อไปนี้

ตาราง 1 ส่วนประกอบและขั้นตอนของวิชาลำดับชั้นหิน ที่มา Fritz, William J.,1988.


กฎวิชาลำดับชั้นหิน (Principles of Stratigraphy)

กฎข้อแรกของวิชาลำดับชั้นหินก็คือ กฎของการวางตัวตามแนวนอนตอนเริ่มต้น (Law of original horizontality) ซึ่งกล่าวได้ว่า ถ้าไม่คำนึงถึงสภาพการวางตัวของชั้นหินที่เราพบเห็นอยู่ในปัจจุบัน ชั้นหินเหล่านั้นได้สะสมตัวในตอนเริ่มต้นเป็นชั้นที่วางตัวตามแนวนอนหรือเกือบตามแนวนอน และขนานหรือเกือบขนานกับพื้นผิวโลก ดังนั้นถ้าชั้นหินที่พบในปัจจุบันมีการเอียงเทหรือตลบทับแล้ว ชั้นหินดังกล่าวจะต้องถูกรบกวนมาตั้งแต่ที่มันได้สะสมตัวในตอนเริ่มต้นตามแนวนอนเป็นต้นมา

เนื่องจากตะกอนได้สะสมตัวเป็นชั้นตามแนวนอน มันจึงมีประโยชน์สำหรับการกำหนดอายุสัมพัทธ์ นอกจากนี้ยังมี กฎของลำดับชั้น (Law of superposition) ซึ่งเป็นกฎทั่วไปที่ใช้ในทางธรณีกาล เกี่ยวกับการลำดับชั้นหิน หรือหินอัคนีผุที่ยังไม่มีการเลื่อนย้อนหรือตลบทับของชั้นหิน ในกฎการลำดับชั้นให้ถือว่า ชั้นหินที่มีอายุอ่อนกว่าวางทับอยู่บนชั้นหินที่มีอายุแก่กว่า

ดังนั้น ในพื้นที่ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนลักษณะการแปรสัณฐาน (tectonic deformation) หลังการสะสมตัวของตะกอน เราสามารถลำดับชั้นหินทั้งหลายที่ปรากฏอยู่นั้นได้อย่างง่ายดาย โดยอาศัยกฎดังกล่าวข้างต้น แต่ในพื้นที่ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการแปรสัณฐาน เช่น ชั้นหินถูกตลบทับ ในกรณีดังกล่าวนี้จะต้องค้นหาตัวชี้บอกเพื่อใช้เป็นเกณฑ์กำหนดว่า ชุดหินดังกล่าวอยู่ในลำดับตามปกติของการสะสมตัว หรืออยู่ในลำดับที่พลิกกลับ (รูปภาพที่ 1) โดยทั่วไปนั้นจะต้องมีตัวชี้บอกมากกว่าหนึ่งอย่าง เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่าชั้นหินดังกล่าวถูกตลบทับจริง

รูปภาพที่ 1 ภาพหินโผล่บริเวณจังหวัดเลย ที่แสดงให้เห็นชั้นหินที่ถูกกระทำให้คดโค้งและมีลักษณะทางโครงสร้างของหินตะกอน ซึ่งมีประโยชน์ในการจำแนกว่าชั้นหินดังกล่าวอยู่ในตำแหน่งตามปกติ (หันด้านบนขึ้น) อยู่ในตำแหน่งในแนวตั้ง หรือถูกตลบทับเอาไว้ ที่มา Neawsuparpa,et al., (2005)


รูปที่ 2 เป็นภาพที่แสดงให้ในการเคลี่อนย้ายไปของลักษณะปรากฏ (Facies migration) ซึ่งเป็นผลซึ่งเกิดจากปริมาณของการให้ตะกอนที่แตกต่างกัน ในขณะที่ระดับน้ำทะเลลดลง ที่มา Math/Science Nucleus © 2001

Johanes Walther ได้พัฒนา กฎของลักษณะปรากฏ (Law of lateral continuity) ซึ่งกล่าวได้ว่าชั้นหินได้สะสมตัวเป็นชั้นที่ต่อเนื่องไปตลอดแอ่งสะสมตัวและอาจถูกเทียบสัมพันธ์กันได้ แม้จะอยู่ห่างกันออกไปก็ตาม (รูปภาพที่ 3)

กฎพื้นฐานอีกประการหนึ่งของวิชาลำดับชั้นหินก็คือ กฎของความสัมพันธ์กันของการตัดขวาง (Law of cross - cutting relationships) และผลที่ตามมาของกฎดังกล่าวนี้คือ กฎของสิ่งปะปนเข้าไป (Law of inclusions) ซึ่งแนวความคิดเหล่านี้จะถือว่าสิ่งใดก็ตามที่ตัดผ่านชั้นหินตะกอนจะมีอายุอ่อนกว่าชั้นหินดังกล่าว ดังนั้นพนัง (dike) ที่ตัดผ่านชั้นหินตะกอนก็จะมีอายุอ่อนกว่าชั้นหินตะกอนนั้น ในทำนอนเดียวกัน สิ่งที่ปะปนเข้าไป เช่น เศษหินหรือเปลือกหอยในหินกรวดมน จะต้องมีอายุแก่กว่า และจะต้องมีอยู่ก่อนที่ชั้นหินดังกล่าวได้สะสมตัวขึ้น

รูปที่ 3 การเทียบหน่วยสัมพันธ์ของหน่วยชั้นหินตามลักษณะหิน ระหว่างหน้าตัดแนวตั้งสองแห่ง ที่มา Math/Science Nucleus © 2001

ใกล้เคียง

การลำเลียงแบบใช้พลังงาน การลำดับชั้นหิน การลำดับชั้นสนามแม่เหล็กบรรพกาล การลำเลียงสารแบบแอคทีฟทรานสปอร์ต การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง การชำระเลือดผ่านเยื่อ การนำความร้อน การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ ชินวัตร