ตัวอย่าง ของ การวิเคราะห์การใช้

ยกตัวอย่างเช่น ถ้ารู้ว่า หน่วยที่ส่งสัญญาณเป็นวิทยุส่งสารของหน่วยงานหนึ่ง ๆ การใช้อุปกรณ์หาทิศทาง (direction finding) จะช่วยให้กำหนดตำแหน่งของวิทยุส่งสารได้ดังนั้น จึงสามารถติดตามการเปลี่ยนตำแหน่ง/การย้ายที่และสามารถติดตามการย้ายตำแหน่งของหน่วยงานนี้ได้ โดยไม่ต้องดักฟังคำสั่งหรือรายงานถ้ารู้ว่าหน่วยงานนี้รายงานกลับไปยังผู้บัญชาการในรูปแบบหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ และรู้ว่ายังมีอีกหน่วยงานหนึ่งที่รายงานกลับไปยังผู้บัญชาการเดียวกันในรูปแบบเดียวกันหน่วยงานสองหน่วยนี้ก็น่าจะเกี่ยวข้องกัน โดยข้อสรุปนี้มาจากข้อมูลเมทาเกี่ยวกับการส่งสัญญาณของหน่วยงาน ไม่ใช้มาจากเนื้อหาในสัญญาณ

การใช้ข้อมูลเมทาเท่าที่มีอยู่สามารถใช้สร้างผังแสดงหน่วยต่าง ๆ ในสนามรบและความสัมพันธ์กับกันและกันถึงแม้จะสามารถทำได้เหมือนกันโดยดักฟังการสื่อสารระหว่างหน่วยต่าง ๆ แล้วพยายามเข้าใจว่าหน่วยไหนอยู่ที่ไหนแต่การวิเคราะห์ข้อมูลเมทาด้วยระบบอัตโนมัติสามารถร้างผังได้เร็วกว่า และเมื่อรวมกับการดักฟังการสื่อสาร ก็จะทำให้รู้กลยุทธ์ของอีกฝ่ายในสนามรบได้ดีกว่า

สงครามโลกครั้งที่ 1

  • เจ้าหน้าที่นักวิเคราะห์ชาวบริติชในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้สังเกตว่า ชื่อรหัสของพลเรือโทชาวเยอรมันคนหนึ่ง (Reinhard Scheer) ผู้บัญชาการกองทัพเรือฝ่ายศัตรู ได้ย้ายไปอยู่ที่สถานีบนบก แต่ผู้บัญชาการกองทัพราชนาวีอังกฤษพลเรือเอกเดวิด บีตตีย์ ไม่รู้ถึงข้อปฏิบัติของผู้บัญชาการของศัตรูในการเปลี่ยนชื่อรหัสเมื่อยกทัพออกจากท่า จึงไม่สนใจความสำคัญของการย้าย และมองข้ามความพยายามของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ผู้พยายามแสดงความสำคัญในเรื่องนี้ ดังนั้น กองทัพเรือเยอรมันได้ออกทัพโจมตี โดยฝ่ายอังกฤษล่าช้าในการเข้าสู้กับศัตรูในยุทธการจัตแลนด์[1] ถ้าได้ใช้การวิเคราะห์การสื่อสารให้ดีกว่านี้ กองทัพเรืออังกฤษอาจจะได้ผลดีกว่าที่ได้ในยุทธการนี้
  • หน่วยข่าวกรองทหารของฝรั่งเศส ผู้ดำเนินงานตามหลักความคิดของนักวิทยาการรหัสลับ (Kerckhoffs) ได้ตั้งเครือข่ายสถานีดักฟังที่ชายแดนต่อกับเยอรมนีแม้ก่อนสงคราม เมื่อกองทัพเยอรมันข้ามชายแดนมาแล้ว หน่วยของฝรั่งเศสได้ใช้วิธีการกำหนดทิศทางของหน่วยต่าง ๆ อย่างคร่าว ๆ โดยอาศัยระดับสัญญาณที่ดักรับได้ การบันทึกชื่อรหัสและปริมาณการสื่อสารยังช่วยให้สามารถระบุหน่วยรบต่าง ๆ ได้ และให้แยกแยะระหว่างกองพลทหารม้าที่ไปได้ไว และกองพลทหารราบที่ไปได้ช้ากว่า[1]

สงครามโลกครั้งที่ 2

  • ในสงครามโลกครั้งที่สองต้น ๆ เรือบรรทุกอากาศยานราชนาวีอังกฤษ HMS Glorious กำลังถอนทัพเคลื่อนย้ายนักบินและเครื่องบินออกจากประเทศนอร์เวย์ การวิเคราะห์การสื่อสารได้พบว่า เรือประจัญบานเยอรมัน Scharnhorst และ Gneisenau กำลังมุ่งหน้าเข้าไปในทะเลเหนือ แต่กองทัพเรืออังกฤษไม่สนใจโดยเหตุผลว่าข่าวกรองไม่มีหลักฐาน และกัปตันของ HMS Glorious ก็ไม่ได้ระวังให้ดีพอ ต่อมาจึงถูกจู่โจมโดยไม่ได้ตั้งตัวแล้วถูกจมเรือ ต่อมาหลังจากนั้น กองทัพเรืออังกฤษจึงได้เอาจริงเอาจังกับรายงานการวิเคราะห์การสื่อสารมากขึ้น[2]
  • ในช่วงการวางแผนและการซ้อมการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ มีการติดต่อสื่อสารที่ดักฟังได้ทางวิทยุน้อยมาก เพราะทั้งกองเรือ หน่วยต่าง ๆ และกองบังคับบัญชาการล้วนแต่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นและติดต่อกันด้วยโทรศัพท์ ผู้ถือสาร ไฟสัญญาณ หรือแม้แต่ใช้ธง ซึ่งล้วนแต่ดักฟังไม่ได้ และดังนั้น จึงวิเคราะห์ไม่ได้[1]
  • จารกรรมของญี่ปุ่นที่ทำก่อนโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ในเดือนธันวาคม ไม่ได้ทำให้ส่งข่าวสารเพิ่มขึ้น เพราะเรือญี่ปุ่นปกติจะแวะท่าในฮาวาย และเจ้าหน้าที่สถานทูตก็จะถือข่าวสารไปส่งที่เรือ มีเรือเช่นนี้อย่างน้อยหนึ่งลำที่มีหน่วยข่าวกรองราชนาวีญี่ปุ่น ดังนั้น จึงไม่สามารถวิเคราะห์ข่าวสารพวกนี้ได้ แต่ก็มีผู้เสนอว่า[3] ปริมาณการส่งข่าวสารไปยังและจากสถานทูตต่าง ๆ ความจริงอาจแสดงจุดที่ญี่ปุ่นสนใจ และดังนั้น อาจแสดงจุดที่ควรพยายามเพ่งวิเคราะห์การสื่อสารและถอดรหัสเนื้อความ[ต้องการอ้างอิง]
  • กองทัพราชนาวีญี่ปุ่นที่โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์เดินเรือโดยไม่ได้ใช้วิทยุ คือได้เก็บวิทยุใส่กุญแจไว้ แต่ก็ไม่ชัดเจนว่านี่มีผลลวงสหรัฐได้จริง ๆ หรือไม่ แต่ข่าวกรองของกองทัพเรือแปซิฟิกของสหรัฐก็ไม่สามารถระบุตำแหน่งของเรือบรรทุกอากาศยานญี่ปุ่นได้ ในวันก่อน ๆ การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์[1]
  • กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้สร้างสถานการณ์ลวงทางวิทยุเพื่อไม่ให้สามารถวิเคราะห์การสื่อสารได้ หลังจากที่ได้ออกเรือเดินทางไปยังเพิร์ลฮาร์เบอร์แล้วในปลายเดือนพฤศจิกายน คือเจ้าหน้าที่วิทยุที่ปกติทำงานในเรือบรรทุกเครื่องบิน ผู้ส่งรหัสมอร์สโดยมีลักษณะเฉพาะ ๆ ของตนเอง ได้ส่งสัญญาณจากแผ่นดินใกล้เขตน้ำญี่ปุ่น ซึ่งสร้างฉากว่าเรือบรรทุกยังอยู่ใกล้ ๆ ญี่ปุ่น[1][4]
  • ปฏิบัติการควิ๊กซิลเวอร์ที่เป็นแผนการลวงของอังกฤษอันเป็นส่วนของการบุกครองนอร์ม็องดี ได้ให้ข้อมูลแก่หน่วยข่าวกรองเยอรมันทั้งที่เป็นเท็จและเป็นจริงเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายหน่วยทหารในอังกฤษ ทำให้ฝ่ายเยอรมันสรุปว่า จะบุกโจมที่ปาดกาแลไม่ใช่นอร์ม็องดี และกองพลลวงที่สร้างขึ้นก็มีวิทยุสื่อสารของจริง ซึ่งได้สื่อสารข้อความสมควรกับเหตุการณ์ลวง[5]

ใกล้เคียง

การวิเคราะห์อภิมาน การวิจัย การวิเคราะห์การใช้ การวิ่งทางไกล การวิเคราะห์ การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 การวิเคราะห์สวอต การวิจารณ์ภาพยนตร์ การวิเคราะห์เชิงซ้อน การวินิจฉัยทางการแพทย์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การวิเคราะห์การใช้ http://www.amazon.com/double-cross-system-war-1939... http://seeker.dice.com/jobsearch/servlet/JobSearch... http://ise.gmu.edu/~xwangc/Publications/CCS05-VoIP... http://students.cs.tamu.edu/xinwenfu/paper/ICCNMC0... http://freehaven.net/anonbib/ http://www.cyber-rights.org/interception/stoa/inte... http://www.cypherspace.org/adam/pubs/traffic.pdf http://ieeexplore.ieee.org/Xplore/login.jsp?url=/i... http://www.warship.org/no11994.htm http://www.fmv.se/upload/Bilder%20och%20dokument/V...