ข้อบ่งชี้ ของ การสร้างภาพประสาท

ถ้าแพทย์พบเหตุที่ควรจะตรวจคนไข้มากขึ้นว่ามีความผิดปกติทางประสาทหรือไม่ ก็อาจจะสั่งให้สร้างภาพสมองความผิดปกติสามัญอย่างหนึ่งก็คือ คนไข้หมดสติชั่วคราว (syncope)[4][5]ในกรณีที่หมดสติโดยไม่มีประวัติที่แสดงว่าอาจมีอาการทางประสาท วิธีวินิจฉัยก็คือตรวจประสาท (neurological examination) แต่การสร้างภาพยังไม่จำเป็นเพราะว่าโอกาสพบเหตุในระบบประสาทกลางน้อยมากและคนไข้ไม่น่าจะได้ประโยชน์จากเทคนิค[5]

การสร้างภาพสมองไม่จำเป็นสำหรับคนไข้ที่ปวดหัวแบบเสถียร ซึ่งจะวินิจฉัยว่าเป็นไมเกรน[6]เพราะว่า งานวิจัยแสดงว่า การมีไมเกรนไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคในกะโหลกศีรษะ[6]ดังนั้น การวินิจฉัยไมเกรนที่ไม่มีปัญหาอย่างอื่น ๆ เช่น จานประสาทตาบวม (papilledema) ไม่บ่งชี้ว่าควรสร้างภาพสมอง[6]เมื่อตรวจคนไข้อย่างละเอียดและระมัดระวัง แพทย์จะพิจารณาว่าการปวดหัวอาจมีเหตุนอกจากไมเกรน ซึ่งควรจะต้องสร้างภาพสมองหรือไม่[6]

ข้อบ่งชี้ในการสร้างภาพสมองอีกอย่างก็คือศัลยกรรมแบบ stereotactic หรือรังสีศัลยกรรม (radiosurgery) โดยใช้ภาพ CT, MRI หรือ PET เพื่อรักษาเนื้องอกในกะโหลกศีรษะ, รูปผิดปกติของหลอดเลือดแดงและดำ (arteriovenous malformation) และโรคอื่น ๆ ที่สามารถผ่าตัดได้[7][8][9][10]

เครื่อง CT Scan (หรือที่เรียกเป็นภาษาพูดว่า เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์) ในปัจจุบัน

ใกล้เคียง

การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก การสร้างภาพประสาท การสร้างภาพโดยกิจด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็ก การสร้างสรรค์ การสร้างเม็ดเลือดแดง การสร้างอาดัม (มีเกลันเจโล) การสรรหาสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2551 การสรรหาสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2554 การสร้างภาพทางการแพทย์ การสร้างกลูโคส

แหล่งที่มา

WikiPedia: การสร้างภาพประสาท http://emedicine.medscape.com/article/2064780-over... http://www.mri-tutorial.com/ http://www.nature.com/news/2008/080305/full/news.2... http://www.wired.com/science/discoveries/news/2008... http://www.med.harvard.edu/AANLIB/home.html http://www.ai.mit.edu/projects/medical-vision/surg... http://www.guidelines.gov/content.aspx?id=32518 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1027634 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1028176 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1629018