การสร้างภาพโดยกิจด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็ก
การสร้างภาพโดยกิจด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็ก

การสร้างภาพโดยกิจด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็ก

การสร้างภาพโดยกิจด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็ก (อังกฤษ: Functional magnetic resonance imaging หรือ functional MRI) เป็นการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็กวิธีหนึ่งที่วัดการทำงานของสมอง โดยจับความเปลี่ยนแปลงของการเดินโลหิตที่สัมพันธ์กัน[1] เนื่องจากว่า การเดินโลหิตในสมองและการทำงานของเซลล์ประสาทนั้นควบคู่กัน เมื่อเขตหนึ่งในสมองกำลังทำงานอยู่ การเดินโลหิตในเขตนั้นก็เพิ่มขึ้นด้วยแบบหลักของ fMRI ใช้ค่าความต่างของ BOLD (blood-oxygen-level-dependent)[2] ค้นพบโดย ดร. เซจิ โอกาวา นี่เป็นการตรวจสมองและร่างกายแบบพิเศษเพื่อที่จะสร้างภาพการทำงานของเซลล์ประสาทในสมองหรือในไขสันหลัง ในมนุษย์หรือในสัตว์ โดยจับภาพความแปรเปลี่ยนของการเดินโลหิต (hemodynamic response) เมื่อเทียบกับพลังงานที่เซลล์ประสาทใช้[3] ตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 fMRI ได้กลายเป็นวิธีหลักในงานวิจัยเกี่ยวกับสมองเพราะว่าเป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้ยาฉีด ไม่ต้องใช้ศัลยกรรม ไม่ต้องกินยา และไม่ต้องใช้กัมมันตรังสี[4]fMRI เป็นเทคนิคที่ใช้ทั้งในงานวิจัยและในการรักษา (แม้ว่าจะใช้น้อยกว่าในการรักษา) สามารถใช้ร่วมกับการตรวจวัดสมองโดยวิธีอื่นๆ เช่น EEG และ NIRS นักวิจัยกำลังค้นหาเทคนิคใหม่ๆ ที่เพิ่มความละเอียดทั้งโดยพื้นที่และโดยกาลเวลา เทคนิคเหล่านั้นมักจะใช้ค่าการวัดอย่างอื่นที่ไม่ใช่ค่า BOLD

ใกล้เคียง

การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก การสร้างภาพประสาท การสร้างภาพโดยกิจด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็ก การสร้างสรรค์ การสร้างเม็ดเลือดแดง การสร้างอาดัม (มีเกลันเจโล) การสรรหาสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2551 การสรรหาสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2554 การสร้างภาพทางการแพทย์ การสร้างกลูโคส

แหล่งที่มา

WikiPedia: การสร้างภาพโดยกิจด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็ก http://www.isn.ethz.ch/isn/Digital-Library/Publica... http://www.mri-tutorial.com http://www.nature.com/neuro/journal/v7/n10/full/nn... http://www.nature.com/neuro/journal/v7/n7/full/nn0... http://www.radiologytube.com/category/f-mri-videos... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.time.com/time/health/article/0,8599,191... http://lawandbiosciences.wordpress.com/2008/10/07/... http://cognet.mit.edu/library/erefs/mitecs/ugurbil... http://spin.ecn.purdue.edu/fmri/PDFLibrary/Mehagno...