การควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดง ของ การสร้างเม็ดเลือดแดง

ฮอร์โมน erythropoietin จะช่วยในการควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดง ดังนั้น ในภาวะปกติการสร้างเม็ดเลือดแดงจะสมดุลกับการทำลายเม็ดเลือดแดง และจำนวนเม็ดเลือดแดงก็มีปริมาณเพียงพอกับระดับความต้องการออกซิเจนของเนื้อเยื่อ แต่ไม่มากเหมือนกับที่เกิดจากการรวมตัวกันของเม็ดเลือดแดง (sludging) ภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง ฮอร์โมน Erythropoietin ถูกสร้างขึ้นที่ไตและตับเพื่อตอบสนองต่อภาวะระดับออกซิเจนต่ำ รวมทั้ง Erythropoietin สามารถจับกับเม็ดเลือดแดงที่อยู่ในกระแสเลือดได้ ดังนั้น ถ้าปริมาณเม็ดเลือดแดงในกระแสเลือดต่ำจะทำให้Erythropoietin ที่ไม่สามารถจับได้กับเม็ดเลือดแดงได้มีระดับที่สูงขึ้น ซึ่งจะไปกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูก

จากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่า ฮอร์โมน hepcidin อาจจะมีบทบาทในการควบคุมการสร้างฮีโมโกลบินและอาจส่งผลกระทบต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง ฮอร์โมน hepcidin ถูกผลิตขึ้นที่ตับ โดยทำหน้าที่ควบคุมการดูดซึมธาตุเหล็กในระบบทางเดินอาหารและปลดปล่อยธาตุเหล็กจาก reticuloendothelial tissue ธาตุเหล็กสามารถถูกปลดปล่อยออกมาจาก macrophages ในไขกระดูกและจับกับฮีมของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดเแดง

การสูญเสียหน้าที่ของ erythropoietin receptor หรือ JAK2 ในเซลล์หนูนำไปสู่ความล้มเหลวของการสร้างเม็ดเลือดแดง ดังนั้น การสร้างเม็ดเลือดแดงในเอ็มบริโอและการเจริญเติมโตจะได้รับผลกระทบด้วย นอกจากนี้ ถ้าหากไม่มีกระบวนการ feedback inhibition เช่น SOCS (Suppressors of Cytokine Signaling) จะนำไปสู่ภาวะ giantism ในหนู[6][7]

ใกล้เคียง

การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก การสร้างภาพประสาท การสร้างภาพโดยกิจด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็ก การสร้างสรรค์ การสร้างเม็ดเลือดแดง การสร้างอาดัม (มีเกลันเจโล) การสรรหาสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2551 การสรรหาสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2554 การสร้างภาพทางการแพทย์ การสร้างกลูโคส