การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น

การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本語能力試験 ทับศัพท์นิฮงโงะโนเรียวคึชิเคง; อังกฤษ: Japanese Language Proficiency Test ตัวย่อ JLPT) เป็นการสอบเพื่อวัดผลและรับรองความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาต่างชาติที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นภายในและนอกประเทศ[1] ถูกจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) การสอบจะถูกจัดขึ้นในวันอาทิตย์แรกของเดือนธันวาคมในทุก ๆ ปี โดยแบ่งระดับความยากง่ายเป็น 4 ระดับ และมีระดับ 1 เป็นระดับที่มีความยากที่สุดปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ซึ่งจะเริ่มใช้สอบตั้งแต่เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไปในการสอบครั้งที่ 24 ปี พ.ศ. 2550 นั้น ได้มีผู้เข้ารับการสอบกว่า 4 แสน 3 หมื่นคน โดยถูกจัดขึ้นใน 20 จังหวัดทั่วประเทศญี่ปุ่น และ 46 ประเทศ 127 เมืองทั้วโลก [2]การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นมักถูกเข้าใจสับสนกับการสอบรับรองความรู้ภาษาญี่ปุ่น (日本語検定) มาเป็นเวลานานแม้จวบจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งการสอบรับรองความรู้ภาษาญี่ปุ่น (日本語検定) นี้เป็นการสอบวัดภาษาญี่ปุ่นภายในประเทศญี่ปุ่นสำหรับชาวญี่ปุ่นผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่ซึ่งมีระดับความยากที่ยากกว่าการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น (日本語能力試験) สำหรับชาวต่างชาติ เนื่องจากการสอบรับรองความรู้ภาษาญี่ปุ่น (日本語検定) สำหรับชาวญี่ปุ่นถูกออกแบบมาเพื่อทดสอบชาวญี่ปุ่นที่ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่โดยเฉพาะในทางตรงกันข้ามการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น (日本語能力試験) เป็นการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นของชาวต่างชาติที่เรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาต่างประเทศ ความเข้าใจสับสนนี้จึงกลายเป็นที่มาของคำกล่าวที่เข้าใจสับสนกันโดยทั่วไปในหมู่ชาวไทยผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นในฐานะภาษาต่างประเทศ (รวมถึงชาวญี่ปุ่นที่เข้าใจสับสนระหว่างการสอบสองประเภทนี้) ว่า "ระดับ1แม้แต่คนญี่ปุ่นก็ยังสอบไม่ผ่าน" ซึ่งระดับ1ตามความหมายของคำกล่าวนี้คือการสอบรับรองความรู้ภาษาญี่ปุ่น (日本語検定) ซึ่งเป็นการสอบสำหรับชาวญี่ปุ่น ไม่ได้หมายถึงการสอบวัดความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น (日本語能力試験) ซึ่งเป็นการสอบสำหรับชาวต่างชาติ ความเข้าใจสับสนกันโดยทั่วไปดังกล่าวข้างต้นอาจสืบเนื่องมาจากชื่อเรียกที่มีความคล้ายคลึงกัน อีกทั้งมีเป้าหมายการทดสอบที่เป็นภาษาญี่ปุ่นเหมือนกัน มีการแบ่งระดับความยากง่ายเป็นระดับต่างๆเหมือนกัน

ใกล้เคียง

การสอบขุนนาง การสอบสวนประเด็นการโกงผลคะแนนในรายการของสถานีโทรทัศน์ เอ็มเน็ต การสอบสนามหลวง การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น การสอดแนมมวลชน การสอบเอ็นทรานซ์ การสอน การสอบสวนโดยไม่เชื่อ การสอดแนมไซเบอร์ การสอดแนม