ภูมิหลัง ของ การสังหารหมู่ที่ปะซีจี้

ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 กองทัพพม่าได้ก่อรัฐประหารและขับไล่รัฐบาลที่นำโดยสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยซึ่งมาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย จากนั้นไม่นาน กองทัพได้จัดตั้งสภาบริหารแห่งรัฐและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ ในขณะเดียวกัน พลเรือนทั่วประเทศได้จัดการประท้วงขนานใหญ่เพื่อต่อต้านการก่อรัฐประหารของกองทัพ[5]

เมื่อถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 การต่อต้านที่นำโดยพลเรือนได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นสงครามกลางเมืองเพื่อต่อต้านสภาบริหารแห่งรัฐซึ่งไม่ต้องการประนีประนอม หมู่บ้านปะซีจี้ในใจกลางพื้นที่วัฒนธรรมพุทธดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์พม่าได้กลายเป็นหนึ่งในฐานที่มั่นของการต่อต้านรัฐบาลทหารอย่างรวดเร็ว ปะซีจี้เป็นหมู่บ้านเกษตรกรรมขนาดเล็กที่มีครัวเรือนประมาณ 233 ครัวเรือน[6] ตั้งอยู่ในภาคซะไกง์ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศ[7]

ในช่วงต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 กองทัพพม่าได้เริ่มปฏิบัติการทางทหารในภาคซะไกง์เพื่อข่มขู่คุกคามและปราบปรามการต่อต้านในท้องถิ่นด้วยการเผาและจู่โจมหมู่บ้าน สังหารชาวบ้าน และขับไล่ผู้คนหลายพันคนออกจากบ้านเรือนของตน[8] เมื่อถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีอำเภอ 50 อำเภอทั่วประเทศอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก โดย 14 อำเภอในจำนวนนี้ตั้งอยู่ในภาคซะไกง์

ใกล้เคียง

การสังหารหมู่ที่หนานจิง การสังหารหมู่ที่จังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. 2565 การสังหารหมู่พอร์ตอาร์เทอร์ (ออสเตรเลีย) การสักยันต์ การสังเคราะห์ด้วยแสง การสัมพันธ์ การสังหารหมู่ที่วัดพรหมคุณาราม รัฐแอริโซนา การสังหารหมู่เชลยศึกที่ออแลนิวกา การสังหารหมู่ที่บูชา การสังหารหมู่ที่หมีลาย

แหล่งที่มา

WikiPedia: การสังหารหมู่ที่ปะซีจี้ //www.worldcat.org/issn/0362-4331 https://www.aljazeera.com/news/2023/4/11/dozens-ki... https://apnews.com/article/airstrikes-military-mya... https://www.bbc.com/burmese/articles/ce56kjx3532o?... https://www.bbc.com/burmese/articles/cm5dg5r3r0jo https://edition.cnn.com/2023/04/12/asia/myanmar-ju... https://www.dw.com/en/myanmar-dozens-killed-in-air... https://www.forbes.com/sites/ewelinaochab/2023/04/... https://www.indiatvnews.com/news/world/myanmar-jun... https://www.irrawaddy.com/news/burma/at-least-50-c...