กระบวนการสำเร็จโทษ ของ การสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์

อุปกรณ์

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

บุคลากร

มาตรา 176 ของกฎมนเทียรบาล ในกฎหมายตราสามดวง บัญญัติไว้ว่า "ถ้าแลโทษหนักถึงสิ้นชีวิตไซร้ ให้ส่งแก่ทะลวงฟันหลังและนายแวงหลังเอาไปมล้างในโคกพญา นายแวงนั่งทับตักขุนดาบ ขุนใหญ่ไปนั่งดู..."[3]

ทะลวงฟัน

มีบัญญัติไว้ในกฎหมายตราสามดวง ส่วนพระอัยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมืองว่า "หมื่นทะลวงฟัน" มีหน้าที่เป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยและหน่วยจู่โจม[3] ซึ่งในการประหารพระราชวงศ์ด้วยท่อนจันทน์นี้ หมื่นทะลวงฟันมีหน้าที่เป็นเพชฌฆาต

นายแวงและขุนดาบ

"นายแวง" และ "ขุนดาบ" เป็นชื่อตำแหน่งข้าราชการระดับหนึ่งในสมัยโบราณมีหน้าที่ล้อมวงพระมหากษัตริย์เพื่อถวายการอารักขา และมีหน้าที่ประสานกับชาวพนักงานฝ่ายอื่น ๆ เพื่อให้การดังกล่าวเป็นไปโดยเรียบร้อย ซึ่งนายแวงมียศสูงกว่าขุนดาบ โดยในมาตรา 30 แห่งกฎมนเทียรบาล กฎหมายตราสามดวง บัญญัติว่า "...ถ้าเสด็จขึ้นเขาแลเข้าถ้ำ ขึ้นปรางค์เข้าพระวิหาร ให้ขุนดาบเข้าค้น แล้วให้ตำรวจในเข้าค้น แล้วให้นายแวงเข้าค้น แล้วให้กันยุบาตรค้นเล่าเป็นสี่ท่าจึ่งเชิญเสด็จ เมื่อเสด็จตำรวจในแนมสองข้าง นายแวงถัด ขุนตำรวจขุนดาบอยู่แต่ข้างล่าง ครั้นเสด็จถึงใน ตำรวจในอยู่บานประตูข้างใน นายแวงอยู่บานประตูข้างนอก ขุนดาบอยู่เชิงบันไดเชิงเขา..."[3]

ทั้งนี้ คำว่า "แวง" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 บัญญัติความหมายว่า[9] "แวง 1 ว. ยาว, แถว; เรียกเส้นลองจิจูดว่า เส้นแวง. (ข.). แวง 2 น. ดาบ. ...แวง 4 ก. ล้อมวง."

สำหรับการประหารพระราชวงศ์ด้วยท่อนจันทน์ นายแวงและขุนดาบมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยในมณฑลพระราชพิธีประหาร โดยเฉพาะนายแวงยังมีหน้าที่ควบคุมตัวผู้ต้องโทษประหารด้วยท่อนจันทน์ไปยังมณฑลดังกล่าวอีกด้วย ซึ่งในการควบคุมตัวดังกล่าว มาตรา 175 ยังให้อำนาจนายแวงสามารถจับกุมผู้มีพฤติกรรมต้องสงสัยได้ทันที ทั้งนี้ บัญญัติไว้ว่า "เมื่อไปนั้น ถ้ามีเรือผู้ใดเข้าไปผิดประหลาดอัยการนายแวง ท้าวพระยาห้วเมือง มนตรีมุข ลูกขุนแต่นาหนึ่งหมื่นถึงนาหกร้อยผู้ใดส่งลูกเธอก็ดี ให้ของส่งของฝากก็ดี อัยการนายแวงได้กุมเอาตัวเป็นขบถตามโทษนุโทษ"[3] [10]

ขุนใหญ่

คำว่า "ขุนใหญ่" หมายถึง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ โดยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2540 ให้ความหมายของคำว่า "ขุน" ไว้ดังนี้[9] "ขุน 1 น. ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า, บรรดาศักดิ์ข้าราชการรองจากหลวงลงมา เช่น ขุนวิจิตรมาตรา; เรียกหมากรุกตัวสำคัญที่สุด. ว. ใหญ่ เช่น ขุนเขา.ขุนนาง (โบ) น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร ตามปรกติต้องมีศักดินาตั้งแต่ 400 ขึ้นไป"

ขุนใหญ่ในการประหารพระราชวงศ์ด้วยท่อนจันทน์นี้ได้แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นประธานในพระราชพิธีสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ในกรณีที่ไม่เสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้ ขุนใหญ่มีหน้าที่ไปกำกับการพระราชพิธีต่างพระเนตรพระกรรณเพื่อให้การเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีหน้าที่อ่านประกาศพระบรมราชโองการพระราชทานโทษประหารชีวิตในมณฑลพระราชพิธีก่อนจะเริ่มประหารด้วย[11]

สถานที่

สถานที่สำเร็จโทษนั้นจะใช้ที่วัดโคกพญา หรือ โคกพระยาซึ่งยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าจะใช้โคกพญาเดียวกันกับในมนเทียรบาล

ขั้นตอน

วิธีการนั้นถ้าเป็นแบบปรกติจะต้องใส่ถุงแดงให้เรียบร้อยก่อน เจ้าหน้าจึงอัญเชิญไปยังลานพิธี แล้วปลงพระชนม์ตามพระราชอาญา นอกจากนี้ยังมีการสำเร็จโทษด้วยวิธีอื่น ๆ อีกเช่น ใส่หลุมอดอาหาร ฝังทั้งเป็น ถ่วงน้ำ ตัดพระเศียร และวิธีพิสดาร

ใกล้เคียง

การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง การสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ การสำรวจ การสำรวจดาวอังคาร การสำรวจอวกาศ การสำรวจทางชีวภาพ การสำรวจด้วยคลื่นไหวสะเทือนแบบสะท้อน การสำเร็จความใคร่แบบกลุ่มในเพศชาย การสำรวจโลมาน้ำจืดแยงซี พ.ศ. 2549 การสำรอก