หน้าที่พื้นที่ชุ่มน้ำ ของ การอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ

หน้าที่หลักที่กระทำโดยพื้นที่ชุ่มน้ำ ได้แก่ การกรองน้ำ, การจัดเก็บน้ำ, กำลังผลิตทางชีวภาพ และให้แหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่า[5] ส่วนหน้าที่เพิ่มเติมและการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำมีอธิบายไว้ในบทความพื้นที่ชุ่มน้ำ

การกรอง

พื้นที่ชุ่มน้ำจุนเจือใยอาหารขนาดใหญ่และซับซ้อน ซึ่งมีหน้าที่และประโยชน์นานาประการแก่ธรรมชาติและมนุษย์

พื้นที่ชุ่มน้ำช่วยในการกรองน้ำโดยการกำจัดสารอาหารส่วนเกิน ทำให้น้ำช้าลงเพื่อให้อนุภาคหลุดออกจากน้ำ ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่รากพืชได้ จากการศึกษาพบว่าสามารถขจัดฟอสฟอรัสได้ถึง 92 เปอร์เซ็นต์ และไนโตรเจน 95 เปอร์เซ็นต์ได้ออกจากน้ำผ่านพื้นที่ชุ่มน้ำ[6] พื้นที่ชุ่มน้ำยังปล่อยให้สารมลพิษเกาะตัวและเกาะติดกับอนุภาคในดิน ซึ่งมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของตะกอนที่ไหลบ่าเข้ามา[6] และมีการพบพืชชุ่มน้ำบางแห่งมีโลหะหนักสะสมมากกว่า 100,000 เท่าของความเข้มข้นของน้ำโดยรอบ[7] หากปราศจากการทำงานเหล่านี้ ทางน้ำจะเพิ่มปริมาณสารอาหารและสารก่อมลพิษอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การสะสมความเข้มข้นสูงที่แยกออกมาต่างหาก ตัวอย่างของสถานการณ์ดังกล่าวคือพื้นที่มรณะของแม่น้ำมิสซิสซิปปี โดยเป็นบริเวณที่สารอาหารส่วนเกินทำให้เกิดสาหร่ายบนพื้นผิวจำนวนมาก ซึ่งใช้ออกซิเจนจนหมดและทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน (ระดับออกซิเจนต่ำมาก)

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ ftp://ftp.fao.org/docrep/fao/006/J0703e/j0703e00.p... http://www.ducks.ca/resource/general/wetland/wetla... http://www.estonianwildlifetours.com/about-estonia... http://www.notesfromthefieldtv.com http://water.epa.gov/lawsregs/guidance/wetlands/de... http://water.epa.gov/type/wetlands/outreach/upload... http://www.iwmi.cgiar.org/Publications/Water_Issue... http://www.ducks.org/conservation/habitat/page2 https://catalogue.bnf.fr/ark:/12148/cb12000798x https://data.bnf.fr/ark:/12148/cb12000798x