มาตรฐาน ของ การออกแบบสวนสาธารณะ

โดยทั่วไป ในด้านการผังเมืองมักกำหนดมาตรฐานด้านการวางแผนและออกแบบในด้านต่างๆ ของสถานที่พักผ่อนหย่อนใจไว้ มาตรฐานดังกล่าวของแต่ละประเทศจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับขนาด ความหนาแน่นและลักษณะประชากรของประเทศหรือเมืองนั้นๆ

ปริมาณ ได้แก่มาตรฐานจำนวนเนื้อที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจที่รวมที่เว้นว่างสีเขียวของเมือง (recreation and open spaces) โดยรวมต่อจำนวนประชากร เช่น 25 ไร่ต่อประชากร 1000 คนและ 2.5 ไร่ต่อประชากร 800 คนสำหรับสนามเล่นกีฬาและสนามเด็กเล่นตามชุมชนของสหรัฐฯ และในในแต่ละรัฐก็ไม่เท่ากัน สำหรับประเทศไทย ครั้งหนึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ เคยกำหนดพื้นที่พักผ่อนโดยรวมสำหรับประเทศไทยไว้ที่ 10 ไร่ต่อประชากร 1000 คน ตามข้อเสนอสำหรับผังเมืองกรุงเทพฯ ที่เรียกว่า "ผังลิชฟิลด์" (พ.ศ. 2500) ซึ่งต่อมาได้มีหลายหน่วยงานนำไปใช้ เช่น สำนักผังเมืองทั้งของกระทรวงมหาดไทยและของกรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ดี ในความเป็นจริง ผังเมืองกรุงเทพฉบับปรับปรุงใหม่ทำได้เพียง 1.8 ไร่ต่อประชากร 1000 คน นอกจากการใช้จำนวนไร่ต่อประชากร 1000 คนแล้ว บางหน่วยงานอาจกำหนดมาตรฐานเป็น "ตารางเมตรต่อคน" แต่ไม่นิยมใช้ลำดับศักย์ หรือ ประเภท แบ่งเป็นสวนสาธารณะระดับภาค (regional parks) ได้แก่สวนสาธารณะที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่มากที่ใช้ร่วมกันได้หลายจังหวัด ระดับมหานคร (metropolitan parks) สำหรับประชาชนทั้งมหานครและหลั่นลงเป็นระดับเมือง (city parks) ระดับย่านหรืออำเภอ (district parks) ระดับชุมชน (community parks) จนถึงระดับละแวกบ้าน (neighborhood park) รวมถึงสนามเด็กเล่น มีการกำหนดมาตรฐานขนาดเนื้อที่และระยะทางมาใช้สวนในแต่ละระดับ รวมทั้งประเภทของกิจกรรมสิ่งอำนวยความสะดวก ในแต่ละลำดับชั้นของสวนสาธารณะจะมีการกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับกิจกรรมการพักผ่อนในรูปแบบต่างๆ การที่จะเรียกเป็นสวนสาธารณะได้นั้น จะต้องจัดให้มีองค์ประกอบที่ตรงกับความต้องการของ "สาธารณะ" ได้แก่กลุ่มอายุ กลุ่มรายได้ ความนิยม ฯลฯ สมัยหนึ่ง สนามเด็กเล่นและที่เล่นกีฬาถือเป็นภาคบังคับ เนื่องจากพบว่าอัตราการป่วยเป็นวัณโรคและอาชญากรรมรอบๆ สวนสาธารณะที่มีสนามเด็กเล่นและสนามกีฬาในเมืองแออัดของประเทศต่างๆ ในยุโรปมีน้อยกว่าสวนสาธารณะประเภทสวยงามเป็นธรรมชาติที่จัดแบบเก่า แต่ในปัจจุบัน หลักสำคัญในการกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ที่ความหลากหลายและความเป็นอเนกประสงค์ที่จะสามารถสนองตอบต่อผู้ใช้สวนโดยรวมได้มากที่สุด รวมทั้งสนามเล่นกีฬาและสนามเด็กเล่นขนาดและการกระจาย ขนาดของสวนในแต่ละประเภทจะขึ้นอยู่กับขนาดของสิ่งอำนวยความสะดวกที่บรรจุอยู่ในนั้น แต่ในความเป็นจริง ขนาดของสวนกลับอยู่ที่ว่าจะหาได้ที่ดินได้มากน้อยเท่าใด โดยเฉพาะสวนสร้างใหม่ในเขตเมืองที่มีที่ดินราคาแพง ปกติสวนสาธารณะจัดเป็น "การใช้ที่ดิน" หนึ่งในเจ็ดประเภทในงานผังเมืองที่จะต้องมีการจัดเตรียมล่วงหน้า ขนาดของสวนระดับละแวกบ้านจึงมีขนาดเล็กได้ แต่ต้องสามารถจัดให้มีบริเวณเด็กเล่นหรือสนามเด็กเล่นวัย 0-8 ขวบและที่นั่งพักสบายๆ วิวดีและปลอดภัยสำหรับผู้ปกครองที่พาเด็กมาและสำหรับผู้สูงอายุซึ่งอาจใช้พื้นที่เพียง 100 ตารางวาขึ้นไปที่ผู้ใช้สามารถพาเด็กหรือคนชราให้เดินมาใช้ได้

ในทำนองเดียวกันสวนสาธารณะระดับมหานครจะต้องใหญ่พอสำหรับกิจกรรมที่สวนระดับรองๆ ลงไปจัดให้ไม่ได้ เช่นพื้นที่ศึกษาธรรมชาติ อาคารทำกิจกรรม บริเวณปิกนิก ที่เล่นกีฬาใหญ่ๆ เช่น สนามฟุตบอล สนามเทนนิสหรือสระว่ายน้ำขนาดใหญ่รวมทั้งสระน้ำหรือบึงธรรมชาติและเส้นทางจักรยาน ซึ่งมักเป็นการใช้ประจำสัปดาห์หรือนานๆ ครั้งสำหรับประชาชนทั้งเมืองใหญ่ สวนวชิรเบญจทัศน์ (สนามกอล์ฟรถไฟเดิม) ขนาด 450 ไร่เมื่อผนวกกับสวนสมเด็จพระนางเจ้าและสวนจตรจักรเดิมรวมได้ 790 ไร่ ก็นับเป็นตัวอย่างของสวนมหานครขนาดเล็กได้ ปกติสวนระดับมหานครควรมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 800 ไร่ เซนทรัลปาร์กของนครนิวยอร์กมีขนาด 1250 ไร่

ในด้านมาตรฐานกระกระจายถือระยะทางเดินไปใช้สวนเป็นหลัก โดยเฉพาะสวนระดับละแวกบ้านและชุมชน ในบางกรณี ระยะนกบินหรือระยะที่วัดตรงในแผนที่อาจนำมาใช้ไม่ได้ เช่น สวนที่ห่างจากย่านพักอาศัยเพียง 100 เมตรแต่มีถนนใหญ่ ทางรถไฟหรือทางน้ำขวางกั้น ดังนั้น การกระจายจึงถือระยะเดินทางจริงที่ระดับดินและความปลอดภัยในการเข้าถึงเป็นหลัก

ใกล้เคียง

การออกกำลังกาย การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2559 การออกกำลังกายใช้ออกซิเจน การออกแบบแฟชั่น การออกเสียงคำว่า GIF การออกแบบอย่างสากล การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550 การออกแบบอย่างชาญฉลาด การออกเสียงตัวอักษรของการสื่อสารวิทยุ การออกแบบกราฟิก