การจัดหมวดหมู่ ของ การอ้างก้อนหิน

เหตุผลวิบัติอรูปนัยทางตรรกะ

เหตุผลวิบัติอรูปนัยทางตรรกะเป็นความเข้าใจผิดเพราะเหตุผลที่บกพร่องเพราะเหตุผลวิบัติอรูปนัยทางตรรกะอาศัยการให้เหตุผลแบบอุปนัย จึงอาจผิดพลาดโดยทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเหตุผลที่ดีแต่จริงๆ ไม่ใช่[4]

เหตุผลวิบัติโดยไม่เข้าประเด็น

ข้อสรุปนอกประเด็นมีโครงสร้างคล้ายๆ กับการอ้างก้อนหิน เป็นการให้หลักฐานแก่ข้อสรุปนอกประเด็น ไม่ใช่ข้อสรุปเดิม[5]เช่น การปฏิเสธทฤษฎีอสสารนิยมของ ดร. จอห์นสันด้วยการเตะก้อนหิน จริงๆ ไม่ได้ปฏิเสธทฤษฎีโดยตรง แต่กลับระบุข้อสรุปที่ไม่เข้ากับทฤษฎี

การให้เหตุผลแบบอุปนัย

การอ้างก้อนหินเป็นการให้เหตุผลแบบอุปนัย ส่วนเหตุผลวิบัติรูปนัยใช้การให้เหตุผลแบบนิรนัยและใช้ลักษณะรูปนัยเพื่อให้เหตุผล ซึ่งต่างกับการให้เหตุผลแบบอุปนัยซึ่งไม่ใช้วิธีเช่นนี้การให้เหตุผลแบบอุปนัยมีข้อสรุปที่ไม่แน่นอนเพราะต้องอนุมานจากสถานการณ์ หรือบุคคล/วัตถุ หรือเหตุการณ์โดยเฉพาะๆ[6]ในบริบทของการอ้างก้อนหิน มีการให้เหตุผลแบบอุปนัยเพื่อคัดค้านข้ออ้างเดิมโดยไม่ได้ให้คำอธิบายเพิ่ม แต่การให้เหตุผลแบบอุปนัยอาจเปลี่ยนไปได้ถ้าได้ข้อมูลหรือหลักฐานใหม่ๆ ที่ล้มข้อสมมุติของการอุปนัยได้[7]

การให้เหตุผลแบบอุปนัยสมมุติว่าโอกาสเป็นไปได้ของข้อตั้งสามารถใช้เป็นหลักฐานสนับสนุน[ต้องการอ้างอิง] การให้เหตุผลแบบอุปนัยจะดีหรือไม่ดีก็ขึ้นอยู่กับความหนักแน่นของเหตุผล แต่แต่ละคนจะรู้สึกว่าหนักแน่นไม่เท่ากัน โดยขึ้นอยู่กับความคิดความรู้สึกที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้น

จุดอ่อนของการให้เหตุผลแบบอุปนัยเทียบกับการให้เหตุผลแบบนิรนัยก็คือ ไม่สามารถประเมินความสมเหตุสมผลหรือความแน่นอนของข้ออ้างความสมเหตุสมผลจะขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลที่ให้เป็นจริงหรือไม่ แต่ถ้าเป็นหลักฐานเท็จเพื่อพิสูจน์ว่าข้อสรุปเป็นเท็จ ก็อาจใช้ได้เหมือนกันดังนั้นการให้เหตุผลจะจัดว่าแน่นอนก็ต่อเมื่อข้อสมมุติ/ข้อตั้งของการให้เหตุผลนั้นเป็นจริงไม่เหมือนกันกับการให้เหตุผลแบบนิรนัย การให้เหตุผลแบบอุปนัยจะพิสูจน์ความสมเหตุสมผลไม่ได้โดยนิรนัย ดังนั้น จึงเป็นปัญหาของการอุปนัย

ใกล้เคียง

การอ้างก้อนหิน การอ้างอำนาจ การอ้างธรรมชาติ การอ้างคำพูดนอกบริบท การอ้างผลที่ตามมา การอ้างอิง การอ้างความใหม่ การอ้างเหตุผลแนวทแยงของคันทอร์ การอ้างเหตุผล การอ้างเหตุผลของฮาร์ต-ทิปเลอร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การอ้างก้อนหิน https://www.britannica.com/topic/subjective-ideali... https://web.archive.org/web/20190607172044/https:/... https://web.archive.org/web/20210310205335/https:/... https://web.archive.org/web/20230829140451/https:/... https://web.archive.org/web/20231007222653/https:/... https://web.archive.org/web/20100528032124/https:/... https://web.archive.org/web/20231007222654/https:/... https://web.archive.org/web/20161104174643/http://... https://web.archive.org/web/20160625235048/http://... https://web.archive.org/web/20231007222654/https:/...