ปัญหา ของ การอ้างก้อนหิน

จำกัดการโต้เถียง

เมื่อกำลังโต้เถียงกัน ถ้าฝ่ายหนึ่งยกข้ออ้างซึ่งอีกฝ่ายไม่เห็นด้วย "ภาระการพิสูจน์" (burden of proof) ก็จะตกอยู่กับฝ่ายที่ยกข้ออ้าง คือต้องให้เหตุผลสำหรับข้ออ้างนั้นโดยเฉพาะถ้าข้ออ้างขัดกับสิ่งที่ได้ยอมรับกันเป็นปกติแล้ว[9] เพราะการยกก้อนหินเป็นการคัดค้านข้ออ้างดั้งเดิม ดังนั้น ภาระการพิสูจน์จึงตกอยู่กับผู้ที่ยกข้ออ้างดั้งเดิม แต่ก็จะทำได้ยากเพราะการยกก้อนหินไม่ได้ระบุเหตุผลว่าทำไมจึงคัดค้าน[10]

อนึ่ง เทคนิคนี้มักใช้ร่วมกับเหตุผลวิบัติทางตรรกะอื่นๆ ที่จำกัดการสนทนาต่อๆ ไป[11]เช่น อาจจะโจมตีผู้ยกข้ออ้างแบบ ad-hominem[12]เพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวถึงประเด็น หรืออาจใช้กับวิธีหุ่นฟางเพื่อทำลายเครดิตของอีกฝ่าย[13]

ในทฤษฎี 2 ระบบของแดเนียล คาฮ์นะมัน

นักจิตวิทยาชาวอิสราเอลแดเนียล คาฮ์นะมัน ได้ตั้งทฤษฎีสองระบบขึ้นเพื่อให้เหตุผลว่าทำไมจึงเกิดเหตุผลวิบัติทางตรรกะทฤษฎีระบุว่ามนุษย์ใช้ระบบ 1 และระบบ 2 ในกระบวนการตัดสินใจ ระบบ 1 จะทำงานได้อย่างรวดเร็วและปกติจะใช้ฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจสำหรับกิจการงานที่ไม่ต้องใส่ใจมาก กิจที่ต้องใส่ใจมากกว่าจะใช้ระบบ 2 เพื่อพิจารณาหาเหตุผลให้ได้ข้อสรุป[14]

เหตุผลวิบัติทางตรรกะหลายอย่างใช้ระบบ 1 เพื่อการตัดสินใจหาข้อสรุปที่รวดเร็วโดยอาศัยอารมณ์ความรู้สึก แต่ถ้าเป็นคนช่างคิดวิเคราะห์ข้อสรุปที่ตนเองได้และคิดอย่างมีระเบียบแบบแผน ก็อาจหลีกเลี่ยงเหตุผลวิบัติทางตรรกะได้[15]

โครงร่างการให้เหตุผลของทูลมิน

ตัวอย่างโครงร่างการให้เหตุผลของทูลมิน

โครงร่างการให้เหตุผลออกทูลมิน (Toulmin’s argumentation framework) แสดงองค์ประกอบการให้เหตุผลเป็น claim (ข้ออ้าง), grounds (ฐาน), warrant (ข้อรับรอง), qualifier (คำจำกัด), rebuttal (ข้อโต้แย้ง) และ backing (ข้อสนับสนุน)ฐานของ assumption (ข้อสมมุติ) จะต้องมีข้อรับรองและข้อสนับสนุน เพื่อรองรับข้ออ้างและเพื่อพิสูจน์ว่า conclusion (ข้อสรุป) คงเส้นคงวา ข้ออ้างเบื้องต้นของการโต้แย้งก็คือข้อเท็จจริงที่ผู้ให้เหตุผลพยายามพูดให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับฐานของการให้เหตุผลก็คือหลักฐานที่ใช้สนับสนุนข้อเท็จจริงเบื้องต้น ข้อรับรองก็คือข้อสมมุติที่ใช้เชื่อมฐานกับข้ออ้าง ข้อสนับสนุนเป็นหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ข้ออ้างและสนับสนุนข้อรับรอง คำจำกัดใช้สำหรับแสดงว่าข้ออ้างอาจจะไม่ถูกต้องเสมอ (เช่นคำว่า บางครั้ง โดยมาก บางส่วน) โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์และท้ายสุด ข้อโต้แย้งเป็นข้ออ้างที่อีกฝ่ายเสนอในการโต้แย้งนี้[16]

การอ้างก้อนหินมีแต่ฐานกับข้ออ้างโดยที่ไม่มีข้อรับรองหรือข้อสนับสนุนที่สมเหตุสมผลเพื่อสนับสนุนข้ออ้าง อนึ่ง ก็จะไม่มีคำจำกัดด้วยซึ่งเท่ากับจำกัดข้อโต้แย้งของอีกฝ่ายหนึ่งเพราะการอ้างก้อนหินไม่ได้ให้หลักฐานที่สมเหตุผล จึงหาข้อโต้แย้งได้ยาก[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

การอ้างก้อนหิน การอ้างอำนาจ การอ้างธรรมชาติ การอ้างคำพูดนอกบริบท การอ้างผลที่ตามมา การอ้างอิง การอ้างความใหม่ การอ้างเหตุผลแนวทแยงของคันทอร์ การอ้างเหตุผล การอ้างเหตุผลของฮาร์ต-ทิปเลอร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การอ้างก้อนหิน https://www.britannica.com/topic/subjective-ideali... https://web.archive.org/web/20190607172044/https:/... https://web.archive.org/web/20210310205335/https:/... https://web.archive.org/web/20230829140451/https:/... https://web.archive.org/web/20231007222653/https:/... https://web.archive.org/web/20100528032124/https:/... https://web.archive.org/web/20231007222654/https:/... https://web.archive.org/web/20161104174643/http://... https://web.archive.org/web/20160625235048/http://... https://web.archive.org/web/20231007222654/https:/...