ความแตกต่างจากการเขียนคำทับศัพท์แบบอื่น ของ การเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน

ในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ระบุว่า yi เมื่อไม่มีตัวสะกดต่อท้าย ให้ออกเสียง อี เช่น อี = เลขหนึ่ง; อี้ = ความหมาย, เจตนา หาก yi มีตัวสะกดต่อท้ายจะใช้ ยิ ต่อท้ายด้วยตัวสะกด เช่น n ยิน = ความมืด ความเย็น พลังลบ; n หยิน = ธาตุเงิน; n หยิ่น = ดื่ม; n ยิ่น = พิมพ์ เป็นต้น ผู้เขียนหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่อบางแห่งอาจเลือกใช้อิน, อิ๋น, อิ่น และอิ้น ตามลำดับ ในวิกิพีเดียและตำราเรียนภาษาจีนส่วนมากถอดเสียงคำ Pīnn ว่า "พินอิน" ในขณะที่ตำราบางเล่มและนักวิชาการบางท่านใช้ "พินยิน" อย่างไรก็ตามการออกเสียงทั้งสองแบบถูกต้อง และหมายถึง "การสะกดเสียง" หรือ "สัทอักษร" เหมือนกัน[1][2]

sh แทนเสียงเสียดแทรก ลิ้นเกือบแตะเพดานแข็ง เวลาออกเสียงจะคล้ายกับ /ช/ ผสมกับ /ซ/[3] ในประกาศระบุให้ใช้ ฉ, ช เช่น shēn เชิน = ร่างกาย แต่ในสื่อสิ่งพิมพ์บางสื่อจะใช้ ซ, ส ทำให้เขียนเป็น "เซิน"

wu ในประกาศฯ และสื่อส่วนมากรวมถึงวิกิพีเดียจะใช้ อู เช่น hàn อู่ฮั่น = ชื่อจังหวัดในมณฑลเหอเป่ย์ แต่ตำราบางเล่มหรือสื่อบางส่วนก็ใช้ วู ทำให้เขียนว่า "หวู่ฮั่น" แทน แต่นั่นเป็นการออกเสียงที่ไม่ตรงเสียทีเดียว[2][4]

–ei ในประกาศฯ กำหนดให้ใช้ เ–ย์ โดยให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตบนตัว ย เนื่องจากไม่ปรากฏสระประสมนี้ในระบบเสียงภาษาไทย เช่น bèigào ป้ย์เก้า = จำเลย; fēicháng ย์ฉาง = อย่างยิ่ง[2][4] แต่บางแห่งใช้ เ–ย จึงทับศัพท์เป็น "ป้เก้า" และ "ฉาง" ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนว่าออกเสียงเหมือน เ–ย อย่างในคำว่า "ระ" หรือ "เปรียบปร" เป็นต้น

ตัวอย่างอื่น ๆ ของการถอดเสียงภาษาจีนที่แตกต่างกัน ประมวลได้ดังนี้

คำคำทับศัพท์ความหมาย
อักษรจีน (ตัวย่อ)ระบบพินยินตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯแบบอื่น ๆ
 云 yún ยฺหวิน หยุน, อวิ๋น เมฆ
 云南 Yúnnán ยฺหวินหนัน, ยฺหวินหนาน หยุนหนัน, หยุนหนาน, อวิ๋นหนัน, อวิ๋นหนาน ชื่อมณฑลทางตอนใต้ของจีน
 认 rèn เริ่น เริ่น, เยฺริ่น รู้จัก, จำได้
 兄 xiōng ซฺยง โซง, ซง, โซวง พี่ชายคนโต
 高雄 Gāoxióng เกาสฺยง เกาสง, เกาโสวง ชื่อเมืองในไต้หวัน
 匈奴 Xiōngnú ซยฺงหนู โซวงหนู, ซงหนู ชื่อกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งในสมัยโบราณ
 窝 wō วัว วอ รังนก
 我 wǒ หวั่ว หว่อ ข้า (สรรพนาม)
 国 guó กั๋ว กั๋ว, กว๋อ ประเทศ, แผ่นดิน

ใกล้เคียง

การเข้ารหัสทางประสาท การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต การเข้าเมืองกับอาชญากรรม การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ การเขียนโปรแกรมเชิงแข่งขัน การเข้าตีเจาะ (การสงคราม) การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเข้ารหัส การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียน