การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันเป็นกระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมที่รูปแบบการสร้างโครงสร้างและส่วนประกอบของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งปฏิบัติต่อการคำนวณว่าเป็นการประเมินผลฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์และหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสถานะและข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงได้โดยเป็นกระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศซึ่งหมายความ[1]หรือการประกาศ[2]แทนข้อความสั่ง ในโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน ค่าผลลัพธ์ของฟังก์ชันขึ้นอยู่กับ[ อาร์กิวเมนต์]ที่นำเข้าสู่ฟังก์ชันเท่านั้น ดังนั้นการเรียกฟังก์ชัน f สองครั้งด้วยค่าอาร์กิวเมนต์ x เดียวกันจะให้ค่าผลลัพธ์ f(x) เท่ากันทุกครั้ง การกำจัดผลข้างเคียง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสถานะที่ไม่ขึ้นกับสิ่งที่นำเข้าฟังก์ชัน สามารถทำให้ง่ายขึ้นที่จะทำความเข้าใจและพยากรณ์พฤฒิกรรมของโปรแกรมซึ่งเป็นหนึ่งในแรงจูงใจของการพัฒนาของการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันมีรากฐานมาจากแคลคูลัสแลมบ์ดาซึ่งเป็นระบบรูปนัยที่พัฒนาในคริสต์ทศวรรษ 1930 เพื่อค้นEntscheidungsproblem นิยามของฟังก์ชัน การประยุกต์ฟังก์ชัน และการเรียกซ้ำ ภาษาการใส่รายละเอียดเพิ่มจากแคลคูลัสแลมบ์ดา กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศที่เป็นที่รู้จักอื่น ๆ การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ มีพื้นฐานอยู่บนความสัมพันธ์เชิงตรรกะ[3]ในกลับโปรแกรมเชิงคำสั่งเปลี่ยนสถานะด้วยคำสั่งในภาษาต้นทาง ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดคือการกำหนดค่า การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่งไม่มีฟังก์ชันในความหมายแบบคณิตศาสตร์แต่มีในความหมายแบบซับรูทีน ซึ่งมีผลข้างเคียงที่อาจะเปลี่ยนค่าของสถานะของโปรแกรมได้ ฟังก์ชันที่ไม่คืนค่าจึงสมเหตุสมผลเพราะขาดความโปร่งใสในการอ้างอิง ได้แก่นิพจน์เดียวกันทางภาษาสามารถให้ผลลัพธ์ที่มีค่าต่างกันได้ในเวลาที่ต่างกันขึ้นกับสถานะของโปรแกรมที่กำลังกระทำการ[3]ภาษาโปรแกรมเชิงฟังก์ชันโดยเฉพาะภาษาโปรแกรมเชิงฟังก์ชันบริสุทธิ เช่น ภาษาโฮปถูกในความสำคัญในวงการวิชาการมากกว่าในการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตามภาษาโปรแกรมที่มีชื่อเสียงซึ่งสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน เช่น ภาษาคอมมอนลิสป์ ภาษา Scheme[4][5][6][7] ภาษา Clojure[8][9] ภาษา Wolfram[10] (หรือ ภาษา Mathematica) ภาษา Racket[11] ภาษาเออร์แลง[12][13][14] ภาษา OCaml[15][16] ภาษา Haskell[17][18] และภาษาเอฟชาร์ป[19][20] ใช้ในโปรแกรมประยุกต์เชิงอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์โดยองค์กรอย่างกว้างขวาง การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันยังได้รับการรองรับในภาษาเขียนโปรแกรมเฉพาะทางบางภาษา เช่น ภาษาอาร์ (สถิติ)[21] ภาษาเจ ภาษาเค และภาษาคิวจาก Kx Systems (การวิเคราะห์ทางการคลัง) XQuery/XSLT (เอกซ์เอ็มแอล)[22][23] และภาษาโอปอล[24] ภาษาเชิงประกาศเฉพาะทางที่ใช้งานอย่างกว้างขวางเช่น ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง และ Lex/Yacc ใช้บางส่วนประกอบของการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันโดยเฉพาะใน eschewing วัตถุที่เปลี่ยนแปลงได้.[25]การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันสามารถทำได้ในภาษาที่ไม่ได้ออกมาเฉพาะสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน ตัวอย่างเช่น ภาษาเพิร์ลซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งมีบทหนึ่งของหนังสือที่อธิบายว่าประยุกต์แนวคิดการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันอย่างไร[26] นี้ยังเป็นจริงสำหรับภาษาพีเอชพี[27] C++11, ภาษาจาวา 8 และภาษาซีชาร์ป 3.0 ภาษาจูเลียก็เสนอความสามารถการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันเช่นกัน กรณีที่น่าสนใจคือภาษาสกาลา[28] – มักเขียนในเชิงฟังก์ชัน แต่ก็มีการแสดงตนของผลข้างเคียงและสถานะที่เปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งทำให้จัดอยู่ในบริเวณสีเทาระหว่างภาษาเชิงคำสั่งและเชิงฟังก์ชัน

ใกล้เคียง

การเข้ารหัสทางประสาท การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต การเข้าเมืองกับอาชญากรรม การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ การเขียนโปรแกรมเชิงแข่งขัน การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเข้าตีเจาะ (การสงคราม) การเข้ารหัส การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเข้าเป็นทหารของกลุ่มคนแอลจีบีที

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน http://cufp.galois.com/2006/abstracts.html#Richard... http://cufp.galois.com/2007/abstracts.html#EricKid... http://cufp.galois.com/2007/slides/XavierLeroy.pdf http://cufp.galois.com/2008/abstracts.html#Mansell... http://cufp.galois.com/2009/abstracts.html#AlexPea... http://www.gameenginebook.com/gdc09-statescripting... http://twitter.github.com/effectivescala/?sd http://www.mactech.com/articles/mactech/Vol.03/03.... http://www.mactech.com/articles/mactech/Vol.03/03.... http://www.topxml.com/xsl/articles/fp/