ประวัติศาสตร์ ของ การเคลื่อนถอยของวิษุวัต

ประมาณ 150 ปีก่อนคริสตกาล นักดาราศาสตร์ชาวกรีกชื่อฮิปปาร์คอสได้ค้นพบการเปลี่ยนแปลงของจุดวสันตวิษุวัตเนื่องจากการหมุนควงของโลกเป็นครั้งแรก ด้วยการใช้ดาวรวงข้าวในกลุ่มดาวหญิงสาวซึ่งอยู่ใกล้ลองจิจูดสุริยุวิถี 180 องศาและละติจูดสุริยวิถี 0 องศา เขาได้ทำการวัดระยะเชิงมุมระหว่างดวงจันทร์กับดาวรวงข้าวในช่วงที่เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง เนื่องจากสุริยุปราคาและจันทรุปราคาจะเกิดขึ้นที่จุดตัดของสุริยวิถีและจันทรวิถีเท่านั้น ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์จึงอยู่ในแนวสุริยวิถีเสมอระหว่างเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคา ดังนั้น ระยะทางเชิงมุมไปยังดาวรวงข้าว ณ เวลานั้นจึงกลายเป็นความแตกต่างของลองจิจูดสุริยวิถี ระหว่างดาวรวงข้าวกับดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ ฮิปปาร์คอสเปรียบเทียบความแตกต่างของลองจิจูดสุริยุปราคากับสารบัญแฟ้มดาวฤกษ์ที่ทิโมคาริสทำขึ้นเมื่อประมาณ 150 ปีก่อนยุคของเขา และได้พบว่าค่าของลองจิจูดสุริยวิถีเปลี่ยนไป เขาพบความคลาดเคลื่อนที่คล้ายกันสำหรับดาวฤกษ์อื่นที่ไม่ใช่ดาวรวงข้าวด้วย และได้สรุปว่าความคลาดเคลื่อนนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของจุดวสันตวิษุวัต ซึ่งเป็นจุดรากฐานของลองจิจูดสุริยวิถี มากกว่าที่จะมาจากการเคลื่อนที่ของตัวดาวนั้นเอง

นอกจากนี้แล้ว หยวี สี่ (虞喜, ค.ศ. 270–345) นักดาราศาสตร์ชาวจีนในยุคราชวงศ์จิ้น เองก็ได้ค้นพบการเคลื่อนถอยของวิษุวัตเช่นเดียวกัน

ใกล้เคียง

การเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์) การเคหะแห่งชาติ (ประเทศไทย) การเคลื่อนที่แบบบราวน์ การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย การเคลื่อนไหวของกลุ่มแอลจีบีที การเคลื่อนย้ายเรลิก การเคลื่อนถอยของวิษุวัต การเคลื่อนไหวเอง การเคลื่อนที่ในรอบวัน