การเชื่อมไฮเปอร์บาริก
การเชื่อมไฮเปอร์บาริก

การเชื่อมไฮเปอร์บาริก

การเชื่อมไฮเปอร์บาริก (อังกฤษ: Hyperbaric welding) เป็นกระบวนการเชื่อมโลหะภายใต้ความดันสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใต้น้ำ[1][2] การเชื่อมไฮเปอร์บาริกสามารถกระทำได้ทั้งแบบเปียกในน้ำหรือในสภาวะแห้งบนบกซึ่งมีการปิดล้อมความดันบวกโดยเฉพาะ บ่อยครั้ง คำว่า "การเชื่อมไฮเปอร์บาริก" ใช้เมื่อกระทำในสภาวะแห้ง แต่จะเปลี่ยนไปเรียก "การเชื่อมใต้น้ำ" เมื่อกระทำในสภาวะเปียก การประยุกต์ใช้การเชื่อมไฮเปอร์บาริกมีได้หลากหลาย ซึ่งบ่อยครั้งมักจะใช้เพื่อซ่อมเรือ แท่นขุนเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง และท่อส่งน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติ การเชื่อมประเภทนี้มักใช้เหล็กกล้าเป็นวัสดุในการเชื่อมการเชื่อมไฮเปอร์บาริกแห้งใช้แทนการเชื่อมไฮเปอร์บาริกใต้น้ำเมื่อต้องการโลหะเชื่อมคุณภาพสูง เนื่องจากมีการควบคุมตัวแปรที่เพิ่มมากขึ้น อย่างเช่น ผ่านการใช้การอบชุบโลหะเชื่อมก่อนและหลัง การเชื่อมไฮเปอร์บาริกแห้งมีการควบคุมสภาวะที่ดีกว่าซึ่งนำไปสู่การเพิ่มสมรรถนะของกระบวนการโดยตรงและมักจะให้ผลงานโลหะเชื่อมที่มีคุณภาพมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับไฮเปอร์บาริกเปียก ปัจจุบัน มีการวิจัยการใช้การเชื่อมไฮเปอร์บาริกที่ความลึกถึง 1,000 เมตรอยู่ในระหว่างการดำเนินงาน[3] โดยทั่วไป ความน่าเชื่อถือของโลหะเชื่อมใต้น้ำมักจะต่ำ (แต่ก็สามารถใช้อุปกรณ์ตรวจสอบแบบไม่ทำลายได้เช่นกัน) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โลหะเชื่อมใต้น้ำเปียก เนื่องจากข้อบกพร่องของโลหะเชื่อมตรวจพบได้ยากหากข้อบกพร่องนั้นเกิดขึ้นใต้ผิวของโลหะเชื่อมการเชื่อมไฮเปอร์บาริกใต้น้ำได้รับการคิดค้นขึ้นโดยช่างโลหะชาวรัสเซีย คอนสแตนติน ฮเรนอฟ ใน ค.ศ. 1932

ใกล้เคียง

การเชื่อม การเชิดมังกร การเชื่อมทิก การเชื่อมไฟฟ้า การเชื่อมไฮเปอร์บาริก การเชื่อมต่อฐานข้อมูลแบบเปิด การเชื่อมต่อและการจอดเทียบท่าของยานอวกาศ การเชิดสิงโต การเชื่อมต่อเอชทีทีพีแบบคงอยู่ การเชื่อมอาร์ก