การเบนคนละทิศ
การเบนคนละทิศ

การเบนคนละทิศ

ในจักษุวิทยา การเบนคนละทิศ[1](อังกฤษ: vergence)เป็นการขยับตาทั้งสองข้างพร้อมกันในทิศทางตรงกันข้ามเพื่อดำรงการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา[2]เมื่อสัตว์ที่มองเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาจ้องดูวัตถุ ตาทั้งสองจะต้องหมุนไปตามแกนแนวตั้ง เพื่อให้ภาพของวัตถุตกลงที่กลางจอตาเพื่อจะดูวัตถุใกล้ ๆ ตาจะต้องหมุนเข้าหากัน (convergence) เพื่อจะดูวัตถุไกล ๆ ตาจะต้องหมุนออกจากกัน (divergence)เมื่อตาเบนเข้ามาก นี่เรียกว่าตาเหล่เข้า แต่เมื่อมองวัตถุที่ไกล ๆ ตาจะเบนออกจนกระทั่งมีแนวตาขนานกัน โดยเท่ากับตรึงตาที่ระยะอนันต์ (คือไกลมาก)การเบนตาคนละทิศ (vergence) สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการปรับตาดูใกล้ไกล (accommodation)ในสถานการณ์ปกติ การเปลี่ยนโฟกัสของตาทั้งสองเพื่อดูวัตถุที่ใกล้หรือไกล จะทำให้เกิดกระบวนการเบนตาคนละทิศและการปรับตาดูใกล้ไกลโดยอัตโนมัติ ซึ่งคู่กันบางครั้งเรียกว่า accommodation-convergence reflexเมื่อเทียบกับการขยับตาแบบ saccade ที่ไวถึง 500 องศา/วินาที การเบนตาคนละทิศช้ากว่ามากที่ประมาณ 25 องศา/วินาทีโดยกล้ามเนื้อตาอาจมีใยประสาทสั่งการสำหรับการขยับตาแต่ละอย่างโดยเฉพาะ คือเป็นกลไกต่างหากสองอย่าง[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

การเบียดเบียนชาวโซโรอัสเตอร์ การเบียดหรือเหยียบกันจนเสียชีวิตในฝูงชน การเบนคนละทิศ การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน การเบียดเบียน การเบนตามแสง การเบนของพืช การเบนเนื่องจากความโน้มถ่วง การเบนออก