การเบนเข้า ของ การเบนคนละทิศ

ในจักษุวิทยา การเบนเข้า (convergence) เป็นการขยับตาทั้งสองข้างพร้อมกันเข้าหากัน ปกติเพื่อดำรงการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาเมื่อกำลังจ้องดูวัตถุ[3]การเบนเข้าเป็นกระบวนการ 1 ใน 3 อย่างที่ทำให้ตาส่งภาพไปยังจอตาได้อย่างถูกต้องสำหรับตาแต่ละข้าง แกนสายตา (visual axis) จะอยู่ในแนวตรงกับวัตถุเป้าหมายเพื่อให้ภาพตกลงที่รอยบุ๋มจอตา[4]ซึ่งอำนวยด้วยกล้ามเนื้อตา medial rectus และควบคุมโดยเส้นประสาทกล้ามเนื้อตา (CN-3)นี่เป็นการเบนตาคนละทิศอย่างหนึ่งที่กล้ามเนื้อด้านนอกทำการเห็นภาพซ้อน (Diplopia, double vision) อาจเกิดขึ้นถ้ากล้ามเนื้อด้านนอกอ่อนแอกว่ากล้ามเนื้อตรงกันข้ามเพราะวัตถุที่ต้องการมองจะมีภาพตกลงในส่วนที่ไม่คล้องจองกันของจอตาทั้งสอง ทำให้สมองเห็นสองภาพ

ตาเบนเข้าไม่พอ (Convergence insufficiency) เป็นปัญหาสามัญเกี่ยวกับตา และเป็นตัวการหลักของความล้าตา ภาพไม่ชัด และปวดหัว[5]เป็นปัญหาซึ่งพบมากที่สุดในเด็ก

เมื่อตรวจการเบนของตาเมื่อมองใกล้ ๆ (near point of convergence test, NPC) แพทย์จะขยับวัตถุที่ให้มอง เช่นนิ้ว เข้าไปใกล้ ๆ หน้าของคนไข้จนกระทั่งเห็นว่า ตาได้ได้เบนออกหรือคนไข้เริ่มเห็นภาพซ้อนค่าความห่างปกติจะอยู่ที่ 10 ซม.ถ้าค่ามากกว่านั้น ปกติก็จะเป็นเพราะมีภาวะตาเหล่ออกแฝงเมื่อมองใกล้ ๆ

ใกล้เคียง

การเบียดเบียนชาวโซโรอัสเตอร์ การเบียดหรือเหยียบกันจนเสียชีวิตในฝูงชน การเบนคนละทิศ การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน การเบียดเบียน การเบนตามแสง การเบนของพืช การเบนเนื่องจากความโน้มถ่วง การเบนออก