การเป็นพิษจากพาราเซตามอล
การเป็นพิษจากพาราเซตามอล

การเป็นพิษจากพาราเซตามอล

การเป็นพิษจากพาราเซตามอลเกิดจากการได้รับยาพาราเซตามอลเกินขนาด[3] อาจเกิดจากการใช้ยาเกินขนาดในครั้งเดียวหรือใช้ยาสะสมต่อเนื่องก็ได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังได้รับยาเกินขนาด[1] บางรายอาจมีอาการแบบไม่จำเพาะ เช่น ปวดท้องเล็กน้อย หรือคลื่นไส้[1] หลังจากนั้นจะตามมาด้วยระยะที่ไม่มีอาการใดๆ ประมาณ 2-3 วัน ตามด้วยอาการของภาวะตับวาย ได้แก่ดีซ่าน การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ และเพ้อสับสน[1] ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่ ไตวาย ตับอ่อนอักเสบ น้ำตาลในเลือดต่ำ และเลือดเป็นกรดจากแลกติก[1] ในกรณีผู้ป่วยไม่เสียชีวิตมักฟื้นตัวได้ในเวลา 2-3 สัปดาห์[1] หากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการดีขึ้นได้เองในขณะที่บางรายจะเสียชีวิต[1]ภาวะนี้อาจเกิดจากการกินยาผิดขนาดโดยไม่ได้ตั้งใจหรือเป็นการฆ่าตัวตายก็ได้[1] ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดพิษได้แก่การติดสุรา การขาดสารอาหาร หรือการใช้ยาอื่นร่วมด้วย[2] พิษต่อตับที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากตัวยาพาราเซตามอลโดยตรง แต่เกิดจากสารเมตาบอไลต์ชื่อ NAPQI ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายสร้างมาจากตัวยา[4] สารนี้จะลดปริมาณกลูตาไทโอนในตับ และทำลายเซลล์ตับได้โดยตรง[5] การวินิจฉัยทำได้โดยการซักประวัติเพื่อดูปริมาณยาที่รับเข้าสู่ร่างกาย ร่วมกับการตรวจระดับยาพาราเซตามอลในเลือดเทียบกับระยะเวลาหลังจากการรับยาเข้าสู่ร่างกาย[2] แพทย์มักอาศัยแผนภาพโนโมแกรมของรูแม็ค-แม็ธธิวเพื่อประเมินว่าระดับยาที่วัดได้ในเวลาที่ตรวจนั้นอยู่ในช่วงที่เป็นพิษหรือไม่ เพียงใด[2]การรักษาอาจทำด้วยการให้ถ่านกัมมันต์หากผู้ป่วยมาพบแพทย์ในเวลาอันสั้นหลังรับยาเข้าสู่ร่างกาย[2] ปัจจุบันไม่แนะนำให้บังคับให้ผู้ป่วยอาเจียนเอายาออกมา[4] หากประเมินแล้วพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดพิษ แพทย์มักให้ยาอะซีติลซิสเตอีนเพื่อต้านพิษ[2] ซึ่งมักให้ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 24 ชั่วโมง[4] หลังจากฟื้นตัวแล้วผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับการดูแลทางจิตเวชร่วมด้วย[2] ในบางรายหากมีอาการตับวายขั้นรุนแรงอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ[1] ซึ่งข้อบ่งชี้ของการปลูกถ่ายตับมักดูจากความเป็นกรดของเลือด ค่าแลกเตตในเลือดที่สูง การแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ หรือมีโรคสมองจากตับอย่างรุนแรง[1] หากได้รับการรักษาในระยะแรกจะมีโอกาสเกิดตับวายน้อยมาก[4] โดยรวมผู้ป่วยภาวะพิษจากพาราเซตามอลจะมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 0.1%[2]มีการบรรยายภาวะพิษจากพาราเซตามอลเป็นครั้งแรกในช่วงคริสตทศวรรษ 1960 อัตราการเกิดภาวะเป็นพิษนี้แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ของโลก[6] ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยภาวะนี้ประมาณ 100,000 คนต่อปี[2] ในสหราชอาณาจักรเป็นภาวะรับยาเกินขนาดจนเกิดพิษที่พบบ่อยที่สุด[5] ผู้ป่วยที่พบบ่อยที่สุดคือผู้ป่วยเด็ก[2] และเป็นสาเหตุของภาวะตับวายเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุดในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร[7][2]ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย อาเจียน ปวดท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง ค่าตับ serum transaminase(ALT, AST) จะสูงมาก

การเป็นพิษจากพาราเซตามอล

อาการ ระยะแรก: ไม่จำเพาะ, อ่อนเพลีย, ปวดท้อง, คลื่นไส้[1]
ระยะหลัง: ตัวเหลือง, การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ, เพ้อสับสน[1]
สาขาวิชา พิษวิทยา
ความชุก >100,000 per year (US)[2]
สาเหตุ การได้รับยาพาราเซตามอลเกินขนาด ส่วนใหญ่คือมากกว่า 7 กรัม[3][2]
วิธีวินิจฉัย Blood levels at specific times following use[2]
ภาวะแทรกซ้อน ไตวาย, ตับอ่อนอักเสบ, น้ำตาลในเลือดต่ำ, เลือดเป็นกรดจากแลกติก.[1]
ปัจจัยเสี่ยง Alcoholism, malnutrition, certain other medications[2]
การรักษา Activated charcoal, acetylcysteine, liver transplant[2][1]
ชื่ออื่น Acetaminophen toxicity, paracetamol toxicity, acetaminophen poisoning, paracetamol overdose, acetaminophen overdose, Tylenol toxicity
การตั้งต้น เกิดภาวะเป็นพิษหลังได้รับยา 24 ชั่วโมง[2]
โรคอื่นที่คล้ายกัน Alcoholism, viral hepatitis, gastroenteritis[2]
พยากรณ์โรค Death occurs in ~0.1%[2]

ใกล้เคียง

การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง การเปลี่ยนชื่อนครในประเทศอินเดีย การเปลี่ยนแปลงหลังการตาย การเปรียบเทียบยศทหารเกาหลี การเป็นพิษจากพาราเซตามอล การเปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิด การเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงทางโครงกระดูกของมนุษย์เนื่องจากการเดินด้วยสองเท้า การเปลี่ยนสัณฐาน การเป็นพิษจากไซยาไนด์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเป็นพิษจากพาราเซตามอล http://bmj.com/cgi/pmidlookup?view=long&pmid=11157... http://www.emedicine.com/ped/topic7.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=965.... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10092726 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11157536 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1134886 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11545233 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18635433 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27350943 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/6394298