การเพิกเฉยต่อสังคม

การเพิกเฉยต่อสังคม (อังกฤษ: civil inattention) คือ กระบวนการวิธีว่าด้วยความใกล้ชิดของคนแปลกหน้า ซึ่งมีการรับรู้ถึงบุคคลอีกคนหนึ่ง โดยปราศจากความสนใจของกันและกัน การไม่เห็นคุณค่าในข้อเรียกร้องของผู้อื่นในพื้นที่สาธารณะ และการส่งสัญญาณความห่างของพื้นที่ระหว่างบุคคล นายเออวิงจ์ กอฟฟ์แมน (Erving Goffman) นักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน ได้อธิบายเรื่องการเพิกเฉยต่อสังคมนี้เอาไว้ในส่วนหนึ่งของหัวข้อ "คุณลักษณะภายนอกของการจัดลำดับความสำคัญทางสาธารณะ" ปักเจกชนพยายามอย่างมากในการเคารพสิทธิส่วนบุคคลและปฏิบัติต่อบุคคลอื่นด้วยการเพิกเฉยต่อสังคม เพื่อที่จะใช้ชีวิตอย่างไม่ยุ่งเกี่ยวกันในสังคมเมือง หรือถ้าพวกเขาไม่เพิกเฉย เขาจะทำเพียงจ้องมองไปที่บุคคลอื่นๆ เพราะการเพิกเฉยต่อสังคมนั้นเกี่ยวข้องกับการไม่เข้าไปรบกวนและการมีปฏิสัมพันธ์อย่างกลางๆ แม้แต้การจ้องมองซึ่งกันและกันของคนแปลกหน้า เขาทั้งสองจะรับรู้ถึงพฤติกรรมและเริ่มป้องกันตัวจากความเป็นไปได้ในการเข้าใกล้และการสนทนาการเพิกเฉยต่อสังคมยังหมายถึง ความเป็นส่วนตัวที่เป็นไปได้ภายในกลุ่มคน ภายใต้รูปแบบที่ยอมรับในสังคมและระยะห่างระหว่างบุคคล ตามที่ปรากฏ มารยาทคือ รูปแบบหนึ่งในการป้องกันข้อเรียกร้องต่างๆ ของบุคคลอื่นในที่สาธารณะ ตัวอย่างที่สำคัญที่เป็นนามธรรมคือ ความสัมพันธ์ที่ไม่สนใจหรือเพิกเฉยต่อบุคคลอื่นอย่างไรก็ตาม การฝ่าฝืนการเพิกเฉยต่อสังคมมีความสำคัญอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ช่างภาพบนถนนกำลังทำการถ่ายภาพผู้คนโดยไม่ให้พวกเขารับรู้ และต้องการถ่ายภาพคนแปลกหน้าจากระยะใกล้ เพื่อจุดประสงค์ในการบันทึกประวัติศาสตร์มนุษย์ หรือนักถ่ายทำสารคดีทางสังคม ผู้ซึ่งต้องการถ่ายภาพประชาชนที่กำลังเดินบนท้องถนน หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อจะเก็บเป็นคลังรูปภาพและนำเสนอวัฒนธรรมของผู้คนในแต่ละยุคสมัยการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อมีภัย โดยบุคคลอื่นอาจจะเสี่ยงภัยเพื่อเข้าช่วยบุคคลที่กำลังได้รับอันตราย ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ภัยพิบัติ อุบัติเหตุ อาชญากรรม หรือแม้กระทั่งน้ำใจที่ช่วยเหลือโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน สิ่งเหล่านี้เป็นแนวคิดของกฎการช่วยเหลือ (Good Samaritan Law) โดยการรู้จักใส่ใจผู้อื่น และมีความรับผิดชอบทางสาธารณะ การไม่มีอคติหรือการแบ่งแยกบุคคล ซึ่งจะนำมาสู่ความสงบสุขของการอยู่ร่วมกันในสังคม

ใกล้เคียง

การเพาะเลี้ยงวงศ์ปลาแซลมอน การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ การเพิ่มจำนวนอาวุธปืนในประเทศไทย การเพิ่มของระดับน้ำทะเล การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช การเพิ่มความเป็นขั้วของกลุ่ม การเพิ่มอำนาจ การเพาะเชื้อจากเลือด การเพาะปลูก การเพิกเฉยต่อสังคม