ประวัติ ของ การเรียกชื่อสารเคมีตามระบบสต็อก

อัลเฟรด สต็อก นักเคมีชาวเยอรมันผู้บุกเบิกในงานด้านเคมีของโบรอนและซิลิคอนไฮไดรด์ เขาที่รู้จักในทางเคมีศึกษา(chemical education) และการเรียกชื่อสาร (chemical nomenclature) สต็อกเป็นนักเคมีคนแรกที่เรียกสารประกอบไฮไดรด์ของโบรอนและซิลิคอนว่า โบเรน (borane) และ ไซเลน (silane) ตามลำดับ [1]

ในช่วงทศวรรษ 1900 โรเซนเฮม (Rosenheim) และ คอปเพล (Koppel) ได้เสนอระบบการอ่านชื่อสารเคมีโดยใช้เลขอารบิกในการบอกจำนวนอะตอมในสารประกอบธาตุคู่ (binary compounds) เช่น Fe2O3 อ่านว่า 2-ไอร์ออน 3-ออกไซด์ (2-iron 3-oxide)[2] จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1919 อัลเฟรด สต็อก ได้เสนอหลักการเรียกชื่อสารเคมีขึ้นใหม่ เรียกว่า ระบบสต็อก (Stock system)[3]

สต็อกเป็นนักเคมีคนแรกๆที่ศึกษาเรื่องการกำหนดสถานะออกซิเดชันของธาตุให้ชัดเจนอย่างจริงจัง ก่อนหน้านั้นการเรียกชื่อสารที่ประกอบด้วยธาตุที่มีสถานะออกซิเดชันหลายค่ายังเป็นการใช้คำลงท้ายชื่อไอออนบวกว่า -อัส (-ous) สำหรับอะตอมที่มีสถานะออกซิเดชันต่ำกว่า และใช้คำลงท้ายว่า -อิก (-ic) สำหรับอะตอมที่มีสถานะออกซิเดชันสูงกว่า ซึ่งระบบเดิมนี้มีข้อจำกัดที่ใช่อ่านชื่อได้สำหรับธาตุที่มีสถานะออกซิเดชันได้สองค่าเท่านั้น

ใกล้เคียง

การเรียนรู้ของเครื่อง การเร่งปฏิกิริยา การเรืองแสงของบรรยากาศ การเร็นเดอร์ การเรียนรู้เชิงลึก การเรียน การเรียกชื่อสารเคมีตามระบบไอยูแพ็ก การเรียงลำดับแบบฟอง การเรียกยานพาหนะคืนของโตโยต้า พ.ศ. 2552−2553 การเร่งโดยอาศัยแอนติบอดี