การเรืองแสงของบรรยากาศ
การเรืองแสงของบรรยากาศ

การเรืองแสงของบรรยากาศ

การเรืองแสงของบรรยากาศ[2] หรือ แสงเรืองบนท้องฟ้า (อังกฤษ: airglow; เรียกอีกอย่างว่า nightglow) เป็นปรากฏการณ์การเปล่งแสงจาง ๆ จากชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์เหมือนรุ้งกินน้ำขนาดยักษ์จำนวนมากซ้อนทับกัน ในกรณีของโลกโดยปกติแล้วชั้นบรรยากาศของโลกมีการเรืองแสงอยู่ตลอดเวลา แต่สังเกตเห็นได้ยากในเวลากลางวัน ปรากฏการณ์ทางแสงนี้ทำให้ท้องฟ้ายามค่ำคืนไม่เคยมืดสนิท แสงเรืองบนท้องฟ้านี้เห็นได้ชัดกว่าในเวลากลางคืนโดยเฉพาะเมื่อเกิดการรบกวนของชั้นบรรยากาศ เช่น พายุที่กำลังเคลื่อนตัวใกล้เข้ามา การกระเพื่อมของชั้นบรรยากาศโลกทำให้เกิดจากการสั่นในอากาศในลักษณะของคลื่น คล้ายกับเมื่อเราโยนหินลงในน้ำนิ่งและเกิดเป็นคลื่นกระจายออกไปโดยรอบ และทำให้เห็นแสงเรืองบนท้องฟ้าได้ชัดเจนขึ้นเป็นริ้ว ๆ[3]ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจากแก๊สที่มีแสงสว่างในตัวเอง และไม่มีความสัมพันธ์กับสนามแม่เหล็กของโลกและจุดมืดดวงอาทิตย์ รัศมีสีแดงที่มองเห็นเกิดขึ้นจากโมเลกุลไฮดรอกซิลในชั้นบรรยากาศ ที่อยู่สูงประมาณ 87 กิโลเมตร และถูกกระตุ้นด้วยแสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ ในขณะที่แสงสีส้มและสีเขียวนั้นเกิดจากโซเดียมและอะตอมของออกซิเจนที่อยู่สูงขึ้นไปอีกเล็กน้อย[3]

ใกล้เคียง

การเรียนรู้ของเครื่อง การเร่งปฏิกิริยา การเรืองแสงของบรรยากาศ การเรียนรู้เชิงลึก การเร็นเดอร์ การเรียน การเรียกยานพาหนะคืนของโตโยต้า พ.ศ. 2552−2553 การเรียงลำดับแบบฟอง การเรียกชื่อสารเคมีตามระบบไอยูแพ็ก การเร่งโดยอาศัยแอนติบอดี

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเรืองแสงของบรรยากาศ http://swisscube.epfl.ch/ http://www.space.com/scienceastronomy/mars_glow_05... http://www.stsci.edu/hst/stis/performance/backgrou... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19164595 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2633570 http://www.nrl.navy.mil/content.php?P=04REVIEW106 //arxiv.org/abs/1002.3637 //doi.org/10.1021%2Fcen-v087n004.p011a //doi.org/10.1029%2F2008je003133 //doi.org/10.1038%2F1831480a0