การคำนวณ ของ การเรืองแสงของบรรยากาศ

การเรืองแสงของบรรยากาศ เหนือเส้นขอบฟ้า ถ่ายจากสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS)แสงเรืองบนท้องฟ้าภาพท้องฟ้าสองภาพเหนือโรงงาน HAARP ที่กาโคนา รัฐอะแลสกา โดยใช้เครื่องสร้างภาพจากอุปกรณ์ถ่ายเทประจุ (CCD) ที่ระบายความร้อนด้วย NRL ที่ 557.7 นาโนเมตร ระยะการมองเห็นประมาณ 38° ภาพทางซ้ายมือแสดงช่องดาวพื้นหลังโดยปิดเครื่องส่งสัญญาณ HF ภาพทางขวามือถ่าย 63 วินาทีต่อมาโดยเปิดเครื่องส่ง HF โครงสร้างมีความชัดเจนในบริเวณที่ปล่อยมลพิษ
ดูเพิ่มเติมที่: ความส่องสว่างปรากฏ

ในการคำนวณความเข้มสัมพัทธ์ของการเรืองแสงของบรรยากาศ จำเป็นต้องแปลงความส่องสว่างปรากฏเป็นฟลักซ์ของโฟตอน ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสเปกตรัมของแหล่งที่มาของแสง แต่ในการคำนวณจะละเว้นแหล่งที่มาของแสงในเบื้องต้น

ที่ช่วงความยาวคลื่นที่มนุษย์มองเห็นได้ เราต้องใช้พารามิเตอร์ S0(V) คือ กำลังต่อตารางเซนติเมตรของรูรับแสง และต่อไมโครเมตรของความยาวคลื่นที่เกิดจากดาวฤกษ์ขนาดศูนย์ เพื่อแปลงขนาดปรากฏเป็นฟลักซ์ – S0(V) = 4.0×10−12 W cm−2 µm−1.[9] โดยหากเรายกตัวอย่างดาวที่มีค่า V = 28 ที่สังเกตได้ผ่านฟิลเตอร์ V band ปกติ (B = 0.2 µm bandpass, ความถี่ ν ≈ 6×1014 Hz) จำนวนโฟตอนที่ได้รับต่อตารางเซนติเมตรของรูรับแสงของกล้องโทรทรรศน์ต่อวินาทีจากแหล่งที่มา คือ Ns ดังนี้

N s = 10 − 28 / 2.5 × S 0 ( V ) × B h ν {\displaystyle N_{s}=10^{-28/2.5}\times {\frac {S_{0}(V)\times B}{h\nu }}}

(โดยที่ h คือค่าคงตัวของพลังค์; hν คือ พลังงานของโฟตอนเดี่ยว ที่ ความถี่ ν)

ที่ ความถี่ V การเปล่งแสงเรืองของบรรยากาศ คือ V = 22 ต่อตารางพิลิปดา ณ หอสังเกตการณ์ภาคพื้นดินที่อยู่สูงมากเหนือระดับน้ำทะเลและในคืนที่ไร้แสงจันทร์ ในสภาพการมองเห็นที่ดีเยี่ยมนี้ ภาพของดาวฤกษ์จะมีขนาดประมาณ 0.7 พิลิปดา ในพื้นที่ 0.4 ตารางพิลิปดา ดังนั้นการแผ่รังสีจากแสงเหนือพื้นที่ของภาพจะเท่ากับประมาณ V = 23 ซึ่งจะสามารถคำนวณจำนวนโฟตอนจากการเรืองแสงของบรรยากาศ คือ Na ดังนี้

N a = 10 − 23 / 2.5 × S 0 ( V ) × B h ν {\displaystyle N_{a}=10^{-23/2.5}\times {\frac {S_{0}(V)\times B}{h\nu }}}

ค่าอัตราส่วนระหว่างสัญญาณกับสัญญาณรบกวน (S/N) สำหรับการสังเกตการณ์ภาคพื้นดินในอุดมคติด้วยกล้องโทรทรรศน์พื้นที่ A (โดยละเว้นการสูญเสียและสัญญาณรบกวนของเครื่องตรวจจับ) ที่เกิดจากสถิติปัวส์ซง คือ

S / N = A × N s N s + N a {\displaystyle S/N={\sqrt {A}}\times {\frac {N_{s}}{\sqrt {N_{s}+N_{a}}}}}

หากเราใช้กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินในอุดมคติที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เมตร เพื่อสังเกตดาวฤกษ์ที่ยังไม่ได้รับการระบุชื่อ ในพื้นที่ขนาดเท่ากับภาพขยายของดาวฤกษ์นั้น ในทุก ๆ วินาที จะพบว่ามีโฟตอน 35 ตัวมาจากดาวฤกษ์ และ 3500 ตัวมาจากการเรืองแสงในบรรยากาศ ดังนั้นในช่วงหนึ่งชั่วโมง ประมาณ 1.3×107 มาจากการเรืองแสงของบรรยากาศ และประมาณ 1.3×105 มาจากแหล่งกำเนิด (ดาวฤกษ์ที่สังเกต) ดังนั้นอัตราส่วน S/N จึงมีค่าประมาณ:

1.3 × 10 5 1.3 × 10 7 ≈ 36. {\displaystyle {\frac {1.3\times 10^{5}}{\sqrt {1.3\times 10^{7}}}}\approx 36.}

เราสามารถเปรียบเทียบการคำนวณนี้กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง จากเครื่องคำนวณเวลาเปิดรับแสง โดยสำหรับเวรีลาร์จเทลิสโกป ที่ขนาด 8 เมตร ตามเครื่องคำนวณเวลาเปิดรับแสงของ FORS ต้องใช้เวลาในการสังเกต 40 ชั่วโมงจึงจะถึงค่า V = 28 ในขณะที่ฮับเบิลที่มีเพียงขนาด 2.4 เมตร ใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมงตามเครื่องคำนวณเวลาเปิดรับแสง ACS และโดยสมมุติฐานหากกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลมีขนาด 8 เมตรจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที

ควรเข้าใจให้ชัดเจนในการคำนวณนี้ว่า การลดขนาดช่องมองภาพของกล้องโทรทรรศน์สามารถทำให้วัตถุที่จางลงสามารถได้รับตรวจจับได้ง่ายขึ้นจากการหลีกเลี่ยงการเรืองแสงของบรรยากาศได้ดีกว่า แต่น่าเสียดายที่เทคนิคอะแดปทีฟออปติกส์ ที่ช่วยลดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของช่องมองภาพของกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลกยังใช้งานได้เฉพาะในย่านความถี่อินฟราเรดในขณะที่ท้องฟ้าสว่างกว่ามาก กล้องโทรทรรศน์อวกาศไม่ได้ถูกจำกัดโดยขนาดช่องมอง เนื่องจากไม่ได้รับผลกระทบจากแสงจ้า

ใกล้เคียง

การเรียนรู้ของเครื่อง การเร่งปฏิกิริยา การเรืองแสงของบรรยากาศ การเร็นเดอร์ การเรียนรู้เชิงลึก การเรียน การเรียกชื่อสารเคมีตามระบบไอยูแพ็ก การเรียงลำดับแบบฟอง การเรียกยานพาหนะคืนของโตโยต้า พ.ศ. 2552−2553 การเร่งโดยอาศัยแอนติบอดี

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเรืองแสงของบรรยากาศ http://swisscube.epfl.ch/ http://www.space.com/scienceastronomy/mars_glow_05... http://www.stsci.edu/hst/stis/performance/backgrou... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19164595 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2633570 http://www.nrl.navy.mil/content.php?P=04REVIEW106 //arxiv.org/abs/1002.3637 //doi.org/10.1021%2Fcen-v087n004.p011a //doi.org/10.1029%2F2008je003133 //doi.org/10.1038%2F1831480a0