โลก_(ดาวเคราะห์)
โลก_(ดาวเคราะห์)

โลก_(ดาวเคราะห์)

โลก (อังกฤษ: Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน[24][25][26] โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ[n 4]แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก[27] อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก[28] โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวงธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร[29] อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีทะเลสาบ แม่น้ำและแหล่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคภายในพันล้านปีแรก[30] สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้[31][32] ในประวัติศาสตร์ของโลก ความหลากหลายทางชีวภาพผ่านระยะการขยายยาวนาน แต่ถูกขัดจังหวะบางครั้งด้วยการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่[33] กว่าร้อยละ 99 ของสปีชีส์ทั้งหมดที่เคยอยู่อาศัยบนโลกนั้นสูญพันธุ์ไปแล้ว[34][35] ประมาณการจำนวนสปีชีส์บนโลกปัจจุบันมีหลากหลาย[36][37][38] และสปีชีส์ส่วนใหญ่ยังไม่มีผู้อธิบาย[39] มนุษย์กว่า 7.6 พันล้านคนอาศัยอยู่บนโลกและอาศัยชีวมณฑลและทรัพยากรธรรมชาติของโลกเพื่อการอยู่รอด มนุษย์พัฒนาสังคมและวัฒนธรรมหลากหลาย ในทางการเมือง โลกมีรัฐเอกราชกว่า 200 รัฐ

โลก_(ดาวเคราะห์)

พื้นที่ผิว:
องค์ประกอบ:
ลองจิจูดของจุดโหนดขึ้น: −11.26064 องศา[3]
อุณหภูมิพื้นผิว:   เคลวิน   เซลเซียสต่ำสุดเฉลี่ยสูงสุด
ต่ำสุดเฉลี่ยสูงสุด
184 K[20]288 K[21]330 K[22]
−89.2 °C 15 °C56.7 °C
กึ่งแกนเอก:
149,598,023 กิโลเมตร
(1.00000102 หน่วยดาราศาสตร์) [1]
พอดีกับ 1 AU โดยนิยาม
คาบการหมุนรอบตัวเอง:
0.99726968 วัน[18]
(23 ชั่วโมง 56 นาที 4.100 วินาที)
เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวศูนย์สูตร: 12,756.28 กิโลเมตร[7][8]
ความหนาแน่นเฉลี่ย: 5.514 กรัม/ซม.³[3]
ความเร็วการหมุนรอบตัวเอง: 1,674.4 กิโลเมตร/ชั่วโมง[19]
465.1 เมตร/วินาที (ที่ศูนย์สูตร)
ระยะมุมจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: 114.20783 องศา[3]
เส้นรอบวงเฉลี่ย:
ระยะจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด:
อัตราเร็วต่ำสุดในวงโคจร: 29.291 กิโลเมตร/วินาที
ความเร็วหลุดพ้น: 11.186 กม./วินาที[3]
พื้นที่ผืนน้ำ:  361,132,000 กม.2 (70.8%)
ความเอียงของแกน: 23 องศา 26 ลิปดา
21.4119 พิลิปดา[2]
ระยะจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด:
147,095,000 กิโลเมตร
(0.9832687 หน่วยดาราศาสตร์) [n 2]
อัตราส่วนโมเมนต์ความเฉื่อย: 0.3307[17]
เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย: 12,742.02 กิโลเมตร[6]
อนอมัลลีเฉลี่ย: 358.617 องศา[4]
อัตราเร็วเฉลี่ยในวงโคจร:
29.78 กิโลเมตร/วินาที[3]
(107,200 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
ปริมาตร: 1.08321×1012 กม.³[3]
อัตราส่วนสะท้อน: 0.367 เรขาคณิต[3]
0.306 บอนด์[3]
เส้นรอบวงของวงโคจร: 0.940 เทระเมตร
(6.283 หน่วยดาราศาสตร์)
ความดันบรรยากาศที่พื้นผิว: 101.325 กิโลปาสกาล (ที่ MSL)
ความเอียง: 7.155 องศากับศูนย์สูตรดวงอาทิตย์
1.57869 องศา[5] กับระนาบคงที่
0 องศากับสุริยวิถี (โดยนิยาม)
อัตราเร็วสูงสุดในวงโคจร: 30.287 กิโลเมตร/วินาที
คาบการโคจร:
365.256363004 วัน[2]
(1.00001742096 ปี)
พื้นที่ผืนดิน:  148,940,000 กม.2 (29.2%)
ความโน้มถ่วงที่ศูนย์สูตร:
มวล:
เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้ว: 12,713.56 กิโลเมตร[9]
ความเยื้องศูนย์กลาง: 0.01617086[1]
จำนวนดาวบริวาร:
ความแป้น: 0.0033528[10]
1/298.257222101 (ETRS89)

ใกล้เคียง

โลก (ดาวเคราะห์) โลกิ (ฤดูกาล 2) โลกิ (ละครชุด) โล่ (มุทราศาสตร์) โลกิ (ฤดูกาล 1) โลกิ (จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล) โลกของนินจาคาถาโอ้โฮเฮะ โก (โปเกมอน) โลกนี้ โลกหน้า ข้าก็เป็นพระเจ้า โลกตะวันตก

แหล่งที่มา

WikiPedia: โลก_(ดาวเคราะห์) http://www.astronautix.com/articles/aststics.htm http://www.astronomycast.com/stars/episode-51-eart... http://www.britannica.com/EBchecked/topic/559627/s... http://cseligman.com/text/planets/innerstructure.h... http://news.discovery.com/space/moon-earth-formati... http://apnews.excite.com/article/20131113/DAA1VSC0... http://apnews.excite.com/article/20151019/us-sci--... http://books.google.com/?id=w8PK2XFLLH8C&pg=PA244 http://books.google.com/?id=w8PK2XFLLH8C&pg=PA294 http://books.google.com/?id=w8PK2XFLLH8C&pg=PA296