เชิงวิเคราะห์ ของ การเรียงลำดับแบบผสาน

ภาพแสดงการเรียงลำดับแถวลำดับ 7 ตัวด้วยวิธีการผสาน (แบบบนลงล่าง)

ในการเรียงลำดับข้อมูลทั้งสิ้น n ชุด การเรียงลำดับแบบผสาน มีประสิทธิภาพในกรณีดีที่สุด (โดยมิได้ใส่เงื่อนไขพิเศษ) กรณีเฉลี่ย และกรณีแย่สุด เท่ากันคือ O(n log n) โดยจะแสดงให้ดูดังนี้ สมมติให้เวลาที่ใช้ในการเรียงข้อมูล n ชุด แทนด้วย T(n) เนื่องจาก การเรียงลำดับแบบผสาน มีสองขั้นตอนโดยขั้นแรกคือการแบ่งเป็นสองส่วนซึ่งสามารถทำได้ในเวลาคงที่แต่จะต้องเวียงบังเกิดเรียกตัวเองลงไปแก้ปัญหาที่เล็กลงครึ่งหนื่งสองปัญหา จะได้ว่าในส่วนแรกใช้เวลา 2T(n/2) และขั้นที่สองซึ่งเป็นการผสานข้อมูลสองชุดที่เล็กกว่า (ที่เรียงในตัวเองแล้ว) เป็นข้อมูลชุดใหญ่จะใช้เวลาอีก n ดังที่ได้แสดงให้ดูในตัวอย่างการอิมพลิเมนต์ด้านบน เมื่อรวมทั้งสองขั้นแล้วจะใช้เวลาทั้งสิ้น T(n) = 2T(n/2) + n หากใช้ Master Theorem ในการวิเคราะห์สมการนี้จะได้ผลลัพทธ์เป็น O(n log n) ดังที่ได้กล่าวไว้

ใกล้เคียง

การเรียนรู้ของเครื่อง การเร่งปฏิกิริยา การเรียนรู้เชิงลึก การเรืองแสงของบรรยากาศ การเร็นเดอร์ การเรียน การเรียงลำดับแบบฟอง การเรียกชื่อสารเคมีตามระบบไอยูแพ็ก การเรียกยานพาหนะคืนของโตโยต้า พ.ศ. 2552−2553 การเร่งโดยอาศัยแอนติบอดี