การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ
การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ

การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ

การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ (อังกฤษ: imitative learning) เป็นประเภทของการเรียนรู้ทางสังคมที่พฤติกรรมใหม่เกิดขึ้นจากการเลียนแบบ[1] การเลียนแบบช่วยในการสื่อสาร การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและความสามารถในการปรับอารมณ์ของตนสู่อารมณ์ของบุคคลอื่น นอกจากนี้ยังจำเป็นต่อพัฒนาการของประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหวและการดำเนินชีวิตทางสังคม[1] ความสามารถในการเลียนแบบการกระทำของบุคคลที่ถูกสังเกตสามารถพบได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์[1] โดยการเรียนรู้โดยการเลียนแบบมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากต่อมนุษย์ทางด้านการพัฒนาวัฒนธรรม[2] การเรียนรู้โดยการเลียนแบบแตกต่างจากการเรียนรู้โดยการสังเกต โดยการเรียนรู้โดยการเลียนแบบจะเป็นการทำตามพฤติกรรมที่แสดงจากผู้กระทำ ขณะที่การเรียนรู้โดยการสังเกตสามารถเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนสังเกตพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์และผลที่ตามมาของพฤติกรรมนั้น และจากนั้นจะเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว

ใกล้เคียง

การเรียนรู้ของเครื่อง การเร่งปฏิกิริยา การเรืองแสงของบรรยากาศ การเร็นเดอร์ การเรียนรู้เชิงลึก การเรียน การเรียกชื่อสารเคมีตามระบบไอยูแพ็ก การเรียงลำดับแบบฟอง การเรียกยานพาหนะคืนของโตโยต้า พ.ศ. 2552−2553 การเร่งโดยอาศัยแอนติบอดี