รูปแบบการเลือกตั้ง ของ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2554

โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 375 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 125 คน[21]

ระบบบัญชีรายชื่อ

ในระบบบัญชีรายชื่อ จะมีการคัดเลือกด้วยขั้นตอนดังนี้[22]

ให้แต่ละพรรค ส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครจำนวนไม่เกิน 125 คน

    1. บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องประกอบด้วยรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งจากภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม และต้องคำนึงถึงโอกาส สัดส่วนที่เหมาะสมและความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย
    2. รายชื่อในบัญชีต้องไม่ซ้ำกับบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองอื่นจัดทำขึ้น และไม่ซ้ำกับรายชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
    3. จัดทำรายชื่อเรียงตามลำดับหมายเลข (จาก 1 ลงไป)
  1. หลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง ให้นับคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อของทุกพรรคการเมืองรวมกันทั้งประเทศ แล้วหารด้วย 125 จะได้คะแนนเฉลี่ยต่อผู้แทน 1 คน
  2. นำคะแนนของแต่ละพรรคการเมือง หารด้วยคะแนนเฉลี่ยที่คำนวณไว้ จะได้จำนวนผู้แทนระบบบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น
    1. เศษทศนิยม ให้ปัดทิ้งทั้งหมด แต่ให้เก็บข้อมูลเศษทศนิยมของแต่ละพรรคไว้ (เช่น พรรค ก ได้ 52.7 คน ปัดทิ้งเหลือ 52)
    2. รวมจำนวนผู้แทนของทุกพรรค หากยังได้ไม่ครบ 125 ให้กลับไปดูที่เศษทศนิยมของแต่ละพรรค พรรคใดที่มีเศษเหลือมากที่สุด ให้เพิ่มจำนวนผู้แทนจากพรรคนั้น 1 คน หากยังไม่ครบ ให้เพิ่มผู้แทนจากพรรคที่มีเศษเหลือมากเป็นอันดับสองขึ้นอีก 1 คน ทำเช่นนี้ตามลำดับจนกว่าจะได้ครบ 125 คน (เช่น พรรค ก ได้ 52.7 คน ตอนแรกได้ 52 เศษ 0.7 แต่ถ้าจำนวนผู้แทนยังไม่ครบ และไม่มีพรรคใดมีเศษมากกว่า 0.7 พรรค ก จะได้เพิ่มเป็น 53 คน)
  3. เมื่อได้จำนวนผู้แทนในระบบนี้ที่ลงตัวแล้ว ผู้สมัครของพรรคนั้น จากอันดับหนึ่ง ไปจนถึงอันดับเดียวกับจำนวนผู้แทนของพรรคนั้น จะได้เป็นผู้แทนราษฎร (เช่น พรรค ก ได้ 53 คน ผู้ที่มีรายชื่อตั้งแต่อันดับ 1 ถึง 53 จะได้เป็นผู้แทน)

ในการเลือกตั้งครั้งนี้หมายเลขผู้สมัครที่จับในระบบบัญชีรายชื่อจะใช้กับระบบแบ่งเขตเลือกตั้งด้วย โดยแต่ละพรรคจะใช้หมายเลขเดียวกันทั้งสองระบบทั่วประเทศ ซึ่งหมายเลขที่แต่ละพรรคจับได้เป็นดังนี้

หมายเลขพรรคการเมือง[23]
1พรรคเพื่อไทย
2พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
3พรรคประชาธิปไตยใหม่
4พรรคประชากรไทย
5พรรครักประเทศไทย
6พรรคพลังชล
7พรรคประชาธรรม
8พรรคดำรงไทย
9พรรคพลังมวลชน
10พรรคประชาธิปัตย์
11พรรคไทยพอเพียง
12พรรครักษ์สันติ
13พรรคไทยเป็นสุข
14พรรคกิจสังคม
15พรรคไทยเป็นไท
16พรรคภูมิใจไทย
17พรรคแทนคุณแผ่นดิน
18พรรคเพื่อฟ้าดิน
19พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
20พรรคการเมืองใหม่
หมายเลขพรรคการเมือง[23]
21พรรคชาติไทยพัฒนา
22พรรคเสรีนิยม
23พรรคชาติสามัคคี
24พรรคบำรุงเมือง
25พรรคกสิกรไทย
26พรรคมาตุภูมิ
27พรรคชีวิตที่ดีกว่า
28พรรคพลังสังคมไทย
29พรรคเพื่อประชาชนไทย
30พรรคมหาชน
31พรรคประชาชนชาวไทย
32พรรครักแผ่นดิน
33พรรคประชาสันติ
34พรรคความหวังใหม่
35พรรคอาสามาตุภูมิ
36พรรคพลังคนกีฬา
37พรรคพลังชาวนา
38พรรคไทยสร้างสรรค์
39พรรคเพื่อนเกษตรไทย
40พรรคมหารัฐพัฒนา

ระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปี พ.ศ. 2550 ก่อนหน้านี้นั้นเป็นแบบ "เขตเดียวสามเบอร์" คือมีการแบ่งเขตเลือกตั้งโดยที่การแบ่งเขตนั้นแต่ละเขตจะมีจำนวนประชากรในเขตที่ต่างกัน ดังนั้นแต่ละเขตจะมีจำนวนผู้แทนได้ไม่เท่ากัน ตั้งแต่ 1-3 คน ตามขนาดของประชากรในเขต ซึ่งผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง สามารถกาบัตรเลือกผู้สมัครได้จำนวน เท่ากับจำนวนผู้แทนในเขตของตน[24] แต่การเลือกตั้งผู้แทนในครั้งนี้ แบบแบ่งเขตในครั้งนี้มีรูปแบบการลงคะแนนเป็นแบบ "เขตเดียวเบอร์เดียว" คือ การแบ่งเขตเลือกตั้งนั้นจะแบ่งเป็น 375 เขต โดยยึดหลักให้แต่ละเขตนั้นมีจำนวนประชากรที่ใกล้เคียงกันให้มากที่สุด ดังนั้นในแต่ละเขตจะมีผู้แทนได้เขตละ 1 คนอย่างเท่าเทียมกัน และผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง สามารถกาบัตรเลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว[25]

เกณฑ์การแบ่งเขตเลือกตั้ง 375 เขตนั้น ตามรัฐธรรมนูญ ได้ประกาศให้มีหลักเกณฑ์ในการแบ่ง ดังต่อไปนี้[26]

  1. นำจำนวนราษฎรทั้งประเทศ จากทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีก่อนการเลือกตั้ง หารด้วยจำนวนผู้แทนในระบบเขต (คือ 375) จะได้อัตราส่วนของราษฎรต่อผู้แทน 1 คน
  2. นำจำนวนราษฎรในแต่ละจังหวัด หารด้วยอัตราส่วนที่คำนวณไว้ จะได้จำนวนเขตเลือกตั้งที่มีในจังหวัด
    1. จังหวัดที่ผลหารต่ำกว่า 1 เขต (เช่น 0.86 เขต) ให้ปัดขึ้นเป็น 1 เขต (ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่มีจังหวัดใดเข้าข่ายกรณีนี้)
    2. จังหวัดที่ผลหารมากกว่า 1 และมีเศษทศนิยม ให้ปัดเศษทิ้งทั้งหมด แต่ให้เก็บข้อมูลของเศษทศนิยมไว้ (เช่น 4.93 ปัดทิ้งเหลือ 4)
    3. รวมจำนวนผู้แทนของทั้ง 77 จังหวัด หากยังไม่ครบ 375 เขต ให้เพิ่มจำนวนเขตในจังหวัดที่มีเศษทศนิยมเหลือมากที่สุดขึ้นไป 1 เขต หากยังไม่ครบอีก ให้เพิ่มจำนวนเขตในจังหวัดที่มีเศษทศนิยมเหลือเป็นอันดับสองขึ้นไปอีก 1 เขต ทำเช่นนี้ไปตามลำดับ จนกว่าจะได้จำนวนครบ 375
  3. จังหวัดใดมีจำนวนเขตมากกว่า 1 เขต จะต้องแบ่งเขตโดยให้พื้นที่ของแต่ละเขตติดต่อกัน และแต่ละเขตต้องมีจำนวนราษฎรที่ใกล้เคียงกันด้วย (หลังจากการเลือกตั้ง ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงที่สุดในแต่ละเขต จะได้เป็นผู้แทน)

แต่ละจังหวัด มีจำนวนเขตเลือกตั้งดังต่อไปนี้[27]

จำนวนเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด
พื้นที่จำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร33
จังหวัดนครราชสีมา15
จังหวัดอุบลราชธานี11
จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดขอนแก่น10
จังหวัดอุดรธานี, จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดบุรีรัมย์9
จังหวัดชลบุรี, จังหวัดร้อยเอ็ด, จังหวัดศรีสะเกษ, จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดสงขลา8
จังหวัดชัยภูมิ, จังหวัดเชียงราย, จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสกลนคร7
จังหวัดนครสวรรค์, จังหวัดนนทบุรี, จังหวัดสุราษฎร์ธานี
จังหวัดปทุมธานี, จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดกาฬสินธุ์
6
จังหวัดกาญจนบุรี, จังหวัดนครปฐม, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, จังหวัดพิษณุโลก
จังหวัดมหาสารคาม, จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี
5
จังหวัดกำแพงเพชร, จังหวัดฉะเชิงเทรา, จังหวัดตรัง, จังหวัดนครพนม, จังหวัดนราธิวาส, จังหวัดปัตตานี
จังหวัดระยอง, จังหวัดลพบุรี, จังหวัดลำปาง, จังหวัดเลย, จังหวัดสระบุรี และจังหวัดสุโขทัย
4
จังหวัดกระบี่, จังหวัดจันทบุรี, จังหวัดชุมพร, จังหวัดตาก, จังหวัดน่าน, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
จังหวัดปราจีนบุรี, จังหวัดพะเยา, จังหวัดพัทลุง, จังหวัดพิจิตร, จังหวัดอุตรดิตถ์, จังหวัดเพชรบุรี
จังหวัดแพร่, จังหวัดยโสธร, จังหวัดยะลา, จังหวัดสมุทรสาคร, จังหวัดสระแก้ว, จังหวัดหนองคาย และจังหวัดหนองบัวลำภู
3
จังหวัดชัยนาท, จังหวัดภูเก็ต, จังหวัดมุกดาหาร, จังหวัดลำพูน, จังหวัดสตูล
จังหวัดอ่างทอง, จังหวัดอำนาจเจริญ, จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดบึงกาฬ
2
จังหวัดตราด, จังหวัดนครนายก, จังหวัดพังงา, จังหวัดแม่ฮ่องสอน
จังหวัดระนอง, จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดสมุทรสงคราม
1

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งระบบสัดส่วน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2554 http://61.19.246.214/~accout/direct/browse.php/Oi8... http://english.people.com.cn/90001/90777/90851/698... http://english.people.com.cn/90001/90777/90851/728... http://english.people.com.cn/90001/90777/90851/731... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokpost.com/news/election/245443/ph...