เบื้องหลัง ของ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2554

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ปรากฏว่าพรรคพลังประชาชนได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่ได้มีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีถึง 2 คน คือ สมัคร สุนทรเวชและสมชาย วงศ์สวัสดิ์ หลังจากคดียุบพรรคการเมือง ซึ่งส่งผลให้พรรครัฐบาลหลักสามพรรคถูกยุบ ได้มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่ ซึ่งผลปรากฏว่าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี โดยอาศัยเสียงสนับสนุนสำคัญจากพรรคภูมิใจไทย โดยหลังจากนั้นได้มีการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่องเกิดความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 ในขณะที่คดีการบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 อัยการยังไม่สั่งฟ้องในคดีอาญา

จากเหตุการณ์การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 นำมาสู่การเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายซึ่งมีขึ้น ในวันที่ 28-29 มีนาคม พ.ศ. 2553 ระหว่างตัวแทนจากฝ่ายรัฐบาล อันประกอบด้วย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ และชำนิ ศักดิเศรษฐ์ กับตัวแทนจากทางฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) อันประกอบด้วย จตุพร พรหมพันธุ์, วีระ มุสิกพงศ์ และ นายแพทย์เหวง โตจิราการ ที่สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งทางฝ่ายแกนนำผู้ชุมนุม เสนอให้มีการยุบสภาภายใน 15 วัน และมีการเลือกตั้ง แต่ทางรัฐบาลไม่ยอมรับข้อเสนอ เนื่องจากไม่เห็นว่าความขัดแย้งทางการเมืองจะยุติลงได้หลังเลือกตั้งเสร็จแล้ว โดยรัฐบาลยินดีที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งโดยกำหนดระยะเวลาการยุบสภาภายในเวลา 9 เดือน[8]

จากนั้นได้มีข้อเสนอจัดการเลือกตั้งนั้นซึ่งกำหนดไว้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[9] อย่างไรก็ตาม อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ระบุในข้อเสนอปรองดองว่าเขาจะดำเนินการตามแผนการเลือกตั้งต่อไป แม้ว่ากลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลจะปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวก็ตาม หากมิได้กำหนดวันเลือกตั้งแน่ชัด[9] ซึ่งแม้ว่าแกนนำ นปช. จะตอบรับข้อเสนอดังกล่าว แต่ยังคงทำการชุมนุมต่อไป โดยอ้างว่ามีเพียงคณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้นที่มีอำนาจกำหนดวันเลือกตั้งได้ นายกรัฐมนตรีจึงถอนข้อเสนอเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[10] จากนั้นก็ได้เกิดการสลายการชุมนุมตามมา

การแปรบัญญัติกฎหมายเลือกตั้งซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เห็นถึงความจำเป็นก่อนที่จะจัดการเลือกตั้งขึ้นนั้นผ่านสภาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554[11] โดยในอีกหนึ่งเดือนต่อมา ได้มีการประกาศว่าจะมีการยุบสภาภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม[12] ซึ่งหลังจากมีการประกาศถึงเจตนารมณ์ในการยุบสภาของนายกรัฐมนตรี ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนมากขาดประชุมสภา โดยเฉพาะในช่วงระหว่าง วันที่ 29- 31 มีนาคม 2554 นั้นสภาล่มถึง 3 วันติดต่อกัน เพราะมีผู้เข้าประชุมไม่ครบกึ่งหนึ่งของสภา โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยที่เป็นฝ่ายค้าน ซึ่งมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขาดประชุมทั้งหมด 175 คน จากจำนวนทั้งหมด 188 คน เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน[13] จนท้ายที่สุดมีการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 พฤษภาคม

โดยก่อนหน้าที่จะมีการประกาศยุบสภานั้น เริ่มตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา พบว่าคะแนนนิยมของรัฐบาลลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจากการบริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพจนทำให้ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติต่างๆ ตลอดจนนโยบายต่างประเทศ[2] หากพรรคประชาธิปัตย์ปล่อยให้เวลาล่าช้าออกไป จะยิ่งทำให้คะแนนนิยมของพรรคตกต่ำลง[14]

ในวันที่ 3 เมษายน 2554 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประทานสัมภาษณ์พิเศษ กับรายการวู๊ดดี้เกิดมาคุย ใจความตอนหนึ่งทรงกล่าวโจมตี การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประชวรหนัก และ การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ทำลายเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยที่ทรงละเว้นการกล่าวถึง การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 ที่สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจในประเทศมหาศาลเช่นเดียวกัน การประทานสัมภาษณ์ครั้งนั้นมีผลให้ กลุ่มผู้ชุมนุมโกรธแค้น ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้เขียนบทความ เรียนถามฟ้าหญิงจุฬาภรณ์: ตาย 91 เจ็บ 2 พัน ไม่น่าสะเทือนใจกว่าการ"เผาบ้านเผาเมือง"หรือครับ? และเหตุใดไม่ทรงวิจารณ์พันธมิตรครับ?[15]ความโกรธแค้นของกลุ่มผู้ชุมนุมจากการประทานสัมภาษณ์พิเศษดังกล่าว เป็นสาเหตุหนึ่งของผลการเลือกตั้งครั้งนี้ เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมไม่สามารถโต้ตอบได้เลยนอกจากแสดงออกในการเลือกตั้งเท่านั้น

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งระบบสัดส่วน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2554 http://61.19.246.214/~accout/direct/browse.php/Oi8... http://english.people.com.cn/90001/90777/90851/698... http://english.people.com.cn/90001/90777/90851/728... http://english.people.com.cn/90001/90777/90851/731... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokpost.com/news/election/245443/ph...