การผลิตไอออน ของ การแตกตัวเป็นไอออน

ผลจากหิมะถล่มระหว่างสองขั้วไฟฟ้า เหตุการณ์การแตกตัวเป็นไอออนเดิมจะปลดปล่อยอิเล็กตรอนให้เป็นอิสระ, และการชนต่อมาแต่ละครั้งจะปล่อยอิเล็กตรอนต่อไปอีก, ดังนั้นจะได้อิเล็กตรอนสองตัวเกิดขึ้นจากการชนแต่ละครั้ง: ตัวหนึ่งเป็นอิเล็กตรอนจากการแตกตัวเป็นไอออนและอีกตัวหนึ่งเป็นอิเล็กตรอนอิสระ

ไอออนประจุลบจะถูกผลิตขึ้นเมื่ออิเล็กตรอนอิสระชนเข้ากับอะตอมและต่อมามันก็จะถูกขังอยู่ภายในกำแพงศักย์ไฟฟ้า, ปล่อยพลังงานส่วนเกินที่มีออกมา กระบวนการนี​​้เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นการแตกตัวเป็นไอออนโดยการจับยึดอิเล็กตรอน (อังกฤษ: electron capture ionization) (เป็นการแตกตัวเป็นไอออนของอะตอมหรือโมเลกุลที่อยู่ในขั้นตอนที่เป็นก๊าซโดยการแปะติดอิเล็กตรอนเข้าไปเพื่อสร้างไอออนในรูปแบบของ A–• ตามสมการ A + e − → M A − {\displaystyle A+e^{-}{\overset {M}{\to }}A^{-}} เมื่อ M เหนือลูกศรหมายความว่าในการที่จะอนุรักษ์พลังงานและโมเมนตัม บุคคลที่สามต้องเข้ามามีส่วนร่วม (จำนวนของโมเลกุลที่เข้าทำปฏิกริยาคือสาม) การจับยึดอิเล็กตรอนสามารถถูกนำมาใช้ร่วมกับการแตกตัวเป็นไอออนด้วยวิธีทางเคมี (อังกฤษ: chemical ionization)[2] เครื่องตรวจจับการจับยึดอิเล็กตรอนจะถูกนำมาใช้บางระบบของการแยกสีของก๊าซ (อังกฤษ: gas chromatography)[3])


ไอออนประจุบวกจะมีการผลิตโดยการโอนพลังงานในจำนวนที่เพียงพอให้กับอิเล็กตรอนที่ถูกยึดเหนี่ยวไว้ในการปะทะกันกับอนุภาคที่มีประจุ (เช่นไอออน, อิเล็กตรอนหรือโพสิตรอน) หรือกับโฟตอน จำนวนที่เป็นเกณฑ์ของพลังงานที่ต้องใช้จะถูกเรียกว่าพลังงานศักย์ในการแตกตัวเป็นไอออน การศึกษาการชนกันดังกล่าวเป็นความสำคัญขั้นพื้นฐานในเรื่องเกี่ยวกับ few-body problem (ดูบทความเกี่ยวกับ few-body problem) ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ที่สำคัญในสาขาฟิสิกส์ ในมุมมองของพลังงานจลน์ การทดลองที่สมบูรณ์[4] เช่นในการทดลองที่จะกำหนดเวกเตอร์โมเมนตัมที่สมบูรณ์ของทุกชิ้นส่วนเศษซากการชนทั้งหมด (กระสุนววิถีกระจาย, เป้าหมายไอออนที่ recoiling และอิเล็กตรอนพุ่งออกมา) ได้มีส่วนร่วมให้กับความก้าวหน้าที่สำคัญในการทำความเข้าใจในทฤษฎีของ few-body problem ในหลายปีที่ผ่านมา

การแตกตัวเป็นไอออนแบบไม่สูญเสียหรือได้รับความร้อน (อังกฤษ: Adiabatic ionization) เป็นรูปแบบหยึ่งของการแตกตัวเป็นไอออนที่อิเล็กตรอนถูกย้ายออกจากหรือเพิ่มเข้าให้อะตอมหรือโมเลกุลในสถานะพลังงานต่ำสุดเพื่อสร้างไอออนในสถานะพลังงานที่ต่ำสุดของมัน[5]

หิมะถล่มทาวน์เซนด์ (อังกฤษ: Townsend avalanche) เป็นตัวอย่างที่ดีของการสร้างไอออนบวกและอิเล็กตรอนอิสระเนื่องจากการกระทบของไอออน มันเป็นปฏิกิริยาที่ลดหลั่นที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กตรอนในภูมิภาคท​​ี่มีสนามไฟฟ้าที่สูงพอสมควรในตัวกลางที่เป็นก๊าซที่สามารถถูกทำให้แตกตัวเป็นไอออนได้เช่นอากาศ หลังเหตุการณ์แตกตัวเป็นไอออนแต่เดิม อย่างเช่นเนื่องจากการแผ่รังสีโดยการแตกตัวเป็นไอออน ไอออนประจุบวกจะลอยไปที่แคโทด ในขณะที่อิเล็กตรอนอิสระจะลอยไปยังแอโหนดของอุปกรณ์ ถ้าสนามไฟฟ้ามีความแข้มพอเพียง อิเล็กตรอนอิสระอาจได้รับพลังงานเพียงพอที่จะปลดปล่อยอิเล็กตรอนต่อไปอีกในการชนครั้งต่อไปกับโมเลกุลอื่น ทั้งสองอิเล็กตรอนอิสระนั้นจะเดินทางไปยังแอโหนดและได้รับพลังงานที่เพียงพอจากสนามไฟฟ้าที่จะทำให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนจากการกระทบเมื่อมีการชนครั้งต่อไปเกิดขึ้น; และเกิดขึ้นเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ นี้เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่อย่างมีประสิทธิภาพของการผลิตอิเล็กตรอนและจะขึ้นอยู่กับอิเล็กตรอนอิสระที่ได้รับพลังงานที่เพียงพอระหว่างการชนกันที่จะรักษาสภาวะหิมะถล่มให้ยั่งยินต่อไป[6]

ประสิทธิภาพของการแตกตัวเป็นไอออนคิดเป็นอัตราส่วนระหว่างจำนวนของไอออนที่ได้ต่อจำนวนของอิเล็กตรอนหรือโฟตอนที่ใช้[7][8]

ใกล้เคียง

การแต่งงานแบบไทย การแต่งกายของพม่า การแต่งงาน การแตกตัวด้วยแสง การแตกกระจายออก การแต่งงานโดยฉันทะ การแตกตัวเป็นไอออน การแต่งงานต่างฐานันดร การแต่งตั้งให้อัครสาวกสิบสองคน การแตกเป็นเสี่ยง