ที่มาของคำ ของ การแต่งงานต่างฐานันดร

คำว่า “มอร์แกนเนติค” มิได้นำมาใช้จนกระทั่งปี ค.ศ. 1727 (พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด) มาจากภาษาละตินสมัยกลางว่า “morganaticus” ซึ่งมาจากวลีละตินว่า “matrimonium ad morganaticam” ซึ่งหมายถึงของขวัญจากเจ้าบ่าวที่มอบให้เจ้าสาวเช้าวันรุ่งขึ้นจากวันแต่งงาน หรือ “morning gift” หรือ “dower” ในภาษาอังกฤษ และในภาษาเยอรมันใช้คำว่า “morgangeba” (เปรียบได้กับคำว่า “morgengifu” ของภาษาอังกฤษเก่าและ “morgengifu” ของภาษาเยอรมันเก่า) ความหมายตรงตัวตามที่อธิบายไว้เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดย ชาร์ลส์ ดู เฟรสเนกล่าวว่าคือการแต่งงานลักษณะนี้ภรรยาและบุตรที่เกิดมาคือของขวัญ[2]

Meyers Konversations-Lexikon ปี ค.ศ. 1888 ให้ความหมายภาษาเยอรมันของ “Morganitische Ehe”[3] ว่าเป็นคำที่รวมกันระหว่างภาษากอธิคโบราณ “morgjan” ที่แปลว่าจำกัด ซึ่งก็คือการจำกัดของขวัญจากเจ้าบ่าวในการแต่งงานลักษณะนี้และของขวัญยามเช้า “morgen” ในภาษาเยอรมันแปลว่าเช้าขณะที่ภาษาละตินใช้คำว่า “matutinus”

“ของขวัญยามเช้า” เป็นประเพณีการจัดแบ่งอสังหาริมทรัพย์สำหรับการแต่งานที่เริ่มทำกันครั้งแรกตอนต้นยุคกลางในเยอรมนี และเป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาจากประเพณีของชนเผ่าในเยอรมันโบราณ ทางสถาบันศาสนาก็ได้นำประเพณีนี้มาใช้เพื่อทำให้สถานะภาพของสตรีมีความมั่นคงขึ้นบ้าง เจ้าสาวจะได้รับอสังหาริมทรัพย์จากเผ่าของสามีเพื่อเป็นการประกันในโอกาสที่จะเป็นหม้ายและเป็นสมบัติที่ภรรยาเก็บไว้ต่างหากเป็นส่วนตัว แต่เมื่อสัญญาการแต่งงานที่ระบุว่าเจ้าสาวและบุตรธิดาที่จะเกิดมาจะไม่ได้รับสิ่งใดจากเจ้าบ่าวหรือจากครอบครัวของเจ้าบ่าว นอกไปจาก “ของขวัญ” การแต่งงานชนิดนี้จึงเรียกว่าการแต่งงานที่มีแต่ “ของขวัญ” โดยปราศจากสมบัติอื่นใดที่ตามมา ซึ่งก็คือ “matrimonium ad morganaticum”

ใกล้เคียง

การแต่งงานแบบไทย การแต่งกายของพม่า การแต่งงาน การแตกตัวด้วยแสง การแตกกระจายออก การแต่งงานโดยฉันทะ การแตกตัวเป็นไอออน การแต่งงานต่างฐานันดร การแต่งตั้งให้อัครสาวกสิบสองคน การแตกเป็นเสี่ยง