ประวัติของการบ่มใบชา ของ การแปรรูปชา

An 1850 British engraving showing tea cultivation and tea leaf processing

ประวัติของการแปรรูปชาเกี่ยวพันกันอย่างลึกซึ้งกับบทบาทของชาในสังคมจีน และวิธีการเลือกบริโภคชาในสังคมจีนสมัยโบราณ

ชาเขียว

สังคมจีนสมัยโบราณค้นพบต้นชาครั้งแรกในส่วนที่เป็นประเทศจีนตอนใต้ในปัจจุบัน และได้นำมาทำเป็นยาเพื่อใช้เป็นสมุนไพรแบบจีน กระบวนการที่ใช้ในการแปรรูปชาในสมัยนั้น ใช้วิธีการนึ่งใบชาสดแล้วนำไปตากแห้งเพื่อให้เก็บไว้ได้นาน ซึ่งถือเป็นวิธีการแปรรูปใบชาแบบโบราณที่สุด กระบวนการนี้ได้รับการพัฒนาจนสมบูรณ์แบบในราวๆสมัยราชวงศ์ฮั่น (260 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 220) และผลิตใบชาแห้งที่เรียกว่า ชาเขียว ในปัจจุบัน และค่อนข้างคล้ายกับชาเขียวญี่ปุ่น ที่เรียกว่า Sencha เมื่อต้องการบริโภค ใบชาแห้งจะถูกนำมาสกัดด้วยไอน้ำร้อนพร้อมกับสมุนไพรอื่นๆ หรือ นำไปบดเป็นผงเพื่อรับประทานหรือเพื่อผสมน้ำเป็นน้ำชาหลังจากที่วิชาการสมุนไพรจีนมีการใช้ชามากขึ้น กระบวนการแปรรูปใบชาจึงเริ่มเปลี่ยนไป โดยใบชาเขียวจะไม่ถูกนำไปถูกตากแห้งทันทีหลังจากนึ่ง แต่ใบชาจะถูกนำไปบดให้ละเอียดก่อน จากนั้นจึงปั้นเป็นก้อน แล้วค่อยๆแห้งกลายเป็นก้อนชา ซึ่งเป็นเทคนิคที่ Lu Yu อธิบายไว้ในผลงานของเขาที่ชื่อว่า The Classic of Tea. ใบชาอ่อนและยอดชาส่วนใหญ่จะไม่ถูกนำมาใช้ เนื่องจากใบชาที่แก่เต็มที่จะเหมาะกับการบ่มชามากกว่า ก้อนชาบางประเภทก็ถูกผลิตขึ้นจากใบชาแก่ ซึ่งปกติจะต้องมีการใช้น้ำต้มข้าวเพื่อช่วยยึดชาเป็นก้อนเข้าด้วยกัน กระบวนการผลิตชาเป็นก้อนน่าจะได้รับความนิยมเนื่องจากสามารถขนส่งและเก็บรักษาไว้ได้ง่าย

ชาเหลืองและชาที่ผ่านการหมัก

การใช้ไอน้ำในการตรึงเอนไซม์ในใบชาเป็นกระบวนการสำคัญในการแปรรูปชา โดยจะต้องนำใบชาไปผ่านความเย็นอย่างรวดเร็วเพื่อผ่านกระบวนการต่อไป กระบวนการในอดีตที่ไม่เข้มงวดมากนักในอดีตทำให้เกิด ชาเหลือง เมื่อใบชาถูกนึ่งจนนานเกินไปสำหรับการตรึงเอนไซม์ หรือถูกนำไปแผ่ รีดน้ำ และทำให้เย็นลงช้าเกินไป ถึงแม้ว่าชาเขียวจะได้รับความนิยมมากที่สุดในช่วงเวลาของ Lu Yu แต่เขาก็คิดว่าชาเหลืองเป็นชาที่ดีกว่าชาเขียว[1]ถึงแม้ว่าใบชาจะถูกทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าหากว่าใบชาถูกกองรวมกันนานเกินไปกว่าจะผ่านกระบวนการแปรรูป ใบชาก็จะเกิดการหมักที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และกลายเป็น ใบชาที่ผ่านการหมัก เทคนิคนี้คล้ายกับการหมักปุ๋ย แต่จะมีกรรมวิธีที่รัดกุมกว่า และยังมีการใช้กรรมวิธีนี้ในการผลิตชาหลิวอันอยู่ทุกวันนี้ รวมไปถึงการเริ่มใช้วิธีนี้ในการผลิตชาผู่เอ้อแบบสุกงอม การผลิตชาแบบเป็นก้อนและการเก็บรักษา ทำให้เกิดชาที่ผ่านการหมักอีกประเภทหนึ่ง ที่ถูกผลิตโดยการบ่ม โดยกระบวนการขนส่งที่ยาวนานและการเก็บรักษาในแต่ละช่วงวันทำให้ก้อนชาได้รับการบ่มจากแบคทีเรียและจุลินทรีย์ต่างๆ ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน และเกิดการหมักของก้อนชาเขียว ทั้งนี้ ก้อนชาเขียวที่ผ่านการบ่มหมักแล้วจะถูกนำไปผิงบนถ่านเพื่อกำจัดสิ่งปฏิกูล ฝุ่นผง และจุลินทรีย์ที่เติบโตอยู่ออกไป ก่อนที่จะถูกนำไปบดเป็นผง ปรุงแต่ง และนำไปบริโภค ในช่วงสุดท้ายของราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 – 907) ชาเขียว ชาเหลือง และชาที่ผ่านการหมัก ได้รับความนิยมโดยทั่วไปในประเทศจีน และเปลี่ยนจากการถูกใช้ประโยชน์เพื่อเป็นสมุนไพรจีนโดยเฉพาะ มาเป็นเครื่องดื่มเพื่อความสำราญ[1]

ชาอู่หลงและชาขาว

ชาอู่หลงได้รับการคิดค้นขึ้นในช่วงราชวงศ์ถังในมณฑลฝูเจี้ยน ในช่วงแรก ชาอู่หลงถูกผลิตขึ้นในรูปแบบที่เป็นก้อนที่เรียกว่า ชาเบ่ยหยวน ความสำคัญของกระบวนการเพื่อผลิตชาอู่หลงได้รับการพรรณนาไว้โดยกวีที่ชื่อ หวงฟู่เหริน ในบทกวีของเขาที่ชื่อว่า "送陸鴻漸棲霞寺采茶", ซึ่งระบุไว้ว่ากระบวนการแปรรูปชานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยต้องมีการปีนภูเขาสูงชันเพื่อเลือกเก็บใบชาที่ดีที่สุด และต้องตากแห้งใบชาภายใต้แสงอาทิตย์และสายลมอันอบอุ่น[2]

ชาขาวได้รับการคิดค้นขึ้นในมณฑลฝูเจี้ยนเช่นกัน และได้รับการพูดถึงครั้งแรกในเอกสารของรางวงศ์ซ่งที่ชื่อว่า Treatise on Tea " (大觀茶論) โดยระบุถึงการใช้ยอดชาอ่อนในการผลิตชาขาว ความยุ่งยากในการแปรรูป รสชาติของชาขาว และความหายากของใบชาชนิดนี้ [3]นอกจากนี้ กระบวนการผลิตชาขาวได้ถูกบรรยายไว้โดยนักเขียนสมัยราชวงศ์หมิงที่ชื่อว่า เถียนยี่เหิง (田艺蘅) ในเอกสารที่ชื่อว่า 煮泉小品(เขียนขึ้นในปีที่ 33 ของการครองราชย์ของจักรพรรดิเจียง) เกี่ยวกับชาขาวฝูดิ้ง (福鼎白茶). ในผลงานชิ้นนี้ เขาระบุว่ายอดชาอ่อนที่ถูกนำไปผ่านกระบวนการตรึงเอนไซม์โดยการผ่านเปลวไฟนั้น (เช่นเดียวกับชาเขียว) มีคุณภาพเป็นรองชาขาวที่ถูกนำไปผึ่งให้แห้งด้วยแสงอาทิตย์ เนื่องจากรสชาติจะเป็นธรรมชาติมากกว่า และจะไม่มีรสชาติไหม้จากควันและเปลวไฟ [4]

ชาดำ

เทคนิคการผลิตชาดำถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกในช่วงปลายราชวงศ์หมิง โดยเกิดจากการทำปฏิกิริยาของใบชาอู่หลงกับออกซิเจนนานเกินไป [5] หรือเกิดขึ้นทางอ้อมจากกระบวนการผลิตชาเขียวและชาขาว[6] ในช่วงแรกของคริสต์ศักราช 1600 ผู้ผลิตชาในทิวเขาอู่อี๋ เริ่มทำการนวดใบชาแห้งเพื่อทำให้ใบชานิ่มลง จากนั้นตากให้แห้งใต้แสงอาทิตย์ เพื่อให้เกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนได้เต็มที่ กลายเป็น"ชาดำกงฟู่" (工夫紅茶).[6] เมื่อมีแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอหรืออุณหภูมิต่ำ ใบชาที่แห้งแล้วจะถูกแปรรูปในที่ร่มในห้องที่รักษาอุณหภูมิให้อบอุ่นและทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเต็มที่ แล้วจึงรมควันเหนือไฟจากฟืนที่ทำจากไม้สน กลายเป็นชาที่เรียกว่า lapsang souchong (小種紅茶/正山小種)[6] จากคำบอกเล่าในพื้นที่ การคิดค้นกระบวนการผลิต lapsang souchong เกิดขึ้นจากหน่วยทหารที่เดินทางผ่านโรงงานชาหวู่ยี่ในช่วงสุดท้ายของราชวงศ์หมิง ทำให้เกิดความล่าช้าในการแปรรูปชา ใบชาจึงเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนอย่างเต็มที่ ผู้ผลิตชาจึงพยายามเก็บใบชาเท่าที่จะพอใช้ได้โดยการนำไปผึ่งไฟที่ก่อขึ้นจากฟืนไม้สน[7] จนเมื่อถึงราชวงศ์ชิง ทั้งชา lapsang souchong และชาดำกงฟู่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในประเทศจีน และได้รับการบันทึกไว้ใน "บันทึกจากเทือกเขาหวู่ยี่" (武夷山志) โดยนักปราชย์ชื่อ ดงเทียนกง (董天工).


ใกล้เคียง

การแปลการพินิจภายในผิด การแปลสิ่งเร้าผิด การแปรผันทางพันธุกรรม การแปลงหน่วยอุณหภูมิ การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ การแปลงฟูรีเย การแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง การแปลสัมผัสผิด

แหล่งที่มา

WikiPedia: การแปรรูปชา http://www.xiajinny.gov.cn/E_ReadNews.asp?NewsID=7... http://articles.bannacha.com/index.php?static3/pro... http://chalib.com/study/theory_art.asp?TheoryNo=72... http://www.chinateacn.com/article.php?id=47 http://www.cyxxg.com/csgfc/cjjs/jgjs/30120240413.h... http://www.puercn.com/puerchazs/peczs/5353.html http://hbswk.hbs.edu/archive/2868.html http://zh.wikisource.org/wiki/%E9%80%81%E9%99%B8%E... http://zh.wikisource.org/zh/%E7%85%AE%E6%B3%89%E5%... https://zh.wikisource.org/wiki/%E5%A4%A7%E8%A7%80%...