การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้

การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ (อังกฤษ: illusion of control) เป็นแน้วโน้มที่เรามีในการประเมินค่าสูงเกินไปว่า สามารถควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้คือ เราอาจจะคิดว่าเราควบคุมเหตุการณ์อะไรบางอย่างได้ แม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเราจะไม่ได้มีส่วนควบคุม[1] ชื่อของปรากฏการณ์นี้ตั้งขึ้นโดย ศ.ญ. ดร. เอ็ลเล็น แลงเกอร์ ของคณะจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นปรากฏการณ์ที่ทำซ้ำได้ในสถานการณ์หลายอย่าง[2] ปรากฏการณ์นี้เชื่อว่ามีอิทธิพลต่อการเล่นการพนัน และความเชื่อในเรื่องเหนือธรรมชาติ[3] พร้อมกับการแปลสิ่งเร้าผิดประเภท "ความเหนือกว่าแบบลวง" (illusory superiority) และความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี (optimism bias) ปรากฏการณ์นี้เป็นการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกนักทฤษฎีทางจิตวิทยาเน้นความสำคัญของความรู้สึกว่า เราสามารถควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตได้นักวิชาการพวกแรก ๆ รวมทั้งนักจิตวิทยาชาวออสเตรียแอลเฟร็ด แอ็ดเลอร์เสนอว่า เราจะพยายามเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญ (proficiency) ต่าง ๆ ในชีวิตส่วนนักจิตวิทยา (ชาวออสเตรียเหมือนกัน) ฟริตซ์ ไฮเดอร์ เสนอว่า เรามีแรงจูงใจที่มีกำลังที่จะควบคุมสิ่งแวดล้อมและนักจิตวิทยาไวต์[ใคร?] ตั้งสมมติฐานว่า เราจะสนองแรงจูงใจพื้นฐานในการสร้างความสามารถ (competence) โดยทำการเพื่อควบคุมผลต่าง ๆ ส่วนนักจิตวิทยาเชิงสังคมเบอร์นาร์ด ไวเนอร์ ผู้สร้างทฤษฎี Attribution ได้เพิ่มการควบคุมได้โดยเป็นองค์ เข้ากับทฤษฎีเดิมของเขาเกี่ยวกับแรงจูงใจที่จะสร้างความสำเร็จ นักจิตวิทยาเชิงสังคมชาวอเมริกันแฮโรลด์ เค็ลลีย์ เสนอว่า ความล้มเหลวในการตรวจจับเหตุอื่น ๆ อาจจะมีผลให้เรายกตนเองว่าเป็นเหตุ ของผลที่จริง ๆ ควบคุมไม่ได้หลังจากนั้น เล็ฟคอร์ต[ใคร?] เสนอว่า ความรู้สึกว่าควบคุมได้ ซึ่งเป็นการแปลสิ่งเร้าผิดว่าตนสามารถเลือกทำสิ่งต่าง ๆ ได้ มีบทบาทที่ชัดเจน และเป็นผลบวกในการดำรงชีวิตพึ่งเมื่อไม่นานนี้ นักจิตวิทยาวชาวอเมริกันเทย์เลอร์และบราวน์[4] เสนอว่า การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก รวมทั้งการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ สนับสนุนอุปถัมภ์สุขภาพจิต[5]การแปลผลผิดชนิดนี้ เกิดขึ้นบ่อยครั้งกว่าในสถานการณ์ที่คุ้นเคย และในสถานการณ์ที่เราทราบผลที่เราต้องการ[6] ผลตอบสนองที่เน้นแสดงความสำเร็จ ไม่เน้นความล้มเหลว สามารถเพิ่มกำลังของปรากฏการณ์ได้ในขณะที่ผลตอบสนองที่เน้นความล้มเหลว ก็สามารถลดกำลังของปรากฏการณ์ได้[7] ปรากฏการณ์จะมีกำลังอ่อนกว่าสำหรับผู้มีภาวะซึมเศร้า และแรงกว่าสำหรับผู้มีความต้องการโดยอารมณ์ที่จะควบคุมผลที่ออกมา[6] ปรากฏการณ์จะมีกำลังขึ้นในสถานการณ์ที่เครียดหรือมีการแข่งขัน รวมทั้งการค้าขายในตลาดการเงิน[8]แม้ว่า เรามีโอกาสที่จะคิดว่าสามารถควบคุมเหตุการณ์ที่จริง ๆ แล้วเกิดขึ้นโดยสุ่มได้แต่ก็ยังมักจะประเมินการควบคุมเหตุการณ์ที่จริง ๆ แล้วควบคุมได้ ในระดับต่ำเกินไปซึ่งขัดกับแนวคิดทางทฤษฎีหลายอย่าง และขัดกับความเป็นการปรับตัวให้เหมาะสมกับสังคมสิ่งแวดล้อม (adaptiveness) ของปรากฏการณ์นี้[9]นอกจากนั้นแล้ว เรายังจะประสบกับการแปลสิ่งเร้าผิดอย่างนี้ในระดับที่สูงขึ้น เมื่อมีความคุ้นเคยกับงานโดยการฝึกซ้อมเมื่อต้องเลือกทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนผลที่จะเกิดเช่นการโยนลูกเต๋าและต้องทำการเลือกแทนที่จะมีคนอื่นทำให้แม้ว่าผลจากทั้งสองวิธีจะมีความเป็นไปได้เหมือน ๆ กัน (เช่นการโยนลูกเต๋าเอง แทนที่จะให้เครื่องโยนให้)เรามักจะมีความรู้สึกว่าควบคุมได้เพิ่มยิ่งขึ้น ถ้าสามารถตอบคำถามในส่วนเบื้องต้นได้ถูกมากกว่าในส่วนเบื้องท้าย แม้ว่า จริง ๆ แล้ว จะตอบคำถามถูกต้องได้เท่า ๆ กันโดยรวม[5]ปรากฏการณ์นี้อาจจะเกิดขึ้นเพราะเราไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้โดยการพินิจภายใน (introspection) ว่าเราสามารถควบคุมเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ได้จริง ๆ หรือไม่ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การแปลการพินิจภายในผิด (introspection illusion)คือเราจะตัดสินว่าสามารถควบคุมอะไรได้หรือไม่ ผ่านกระบวนการทางประชานที่บ่อยครั้งเชื่อถือไม่ได้ทำให้เข้าใจผิดว่า เราเป็นต้นเหตุของเหตุการณ์ที่จริง ๆ แล้วไม่มีความเป็นเหตุผลเนื่องกันเราในงานศึกษาหนึ่ง มีการทดสอบนักศึกษามหาวิทยาลัยโดยใช้ความเป็นจริงเสมือนเกี่ยวกับการใช้ลิฟต์โดยมีกลุ่มทดลอง 4 กลุ่ม ต่างกันโดยการควบคุมลิฟต์ได้และไม่ได้จริง ๆ และโดยการบอกให้คิดว่าควบคุมลิฟต์ได้และไม่ได้ในกลุ่มที่เข้าใจว่าสามารถควบคุมลิฟต์ได้ แม้ว่าจริง ๆ จะไม่ได้นักศึกษารู้สึกเหมือนว่าสามารถควบคุมได้ เท่า ๆ กับกลุ่มที่สามารถควบคุมลิฟต์ได้จริง ๆ ส่วนกลุ่มที่ควบคุมลิฟต์ไม่ได้และมีการบอกว่าควบคุมไม่ได้ ก็มีความรู้สึกว่าตนควบคุมลิฟต์ได้ในระดับต่ำ[10]

ใกล้เคียง

การแปลสิ่งเร้าผิด การแปลการพินิจภายในผิด การแปลงหน่วยอุณหภูมิ การแปรผันทางพันธุกรรม การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ การแปลงฟูรีเย การแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ http://psych.mcmaster.ca/hannahsd/pubs/AllanSiegel... http://www.freepatentsonline.com/article/North-Ame... http://books.google.com/books?id=NnQcOdWDClkC&pg=P... http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleUR... http://timothy-judge.com/documents/ImplicationsofC... http://isites.harvard.edu/fs/docs/icb.topic67047.f... http://www.wjh.harvard.edu/~wegner/pdfs/Pronin,%20... http://web.mit.edu/curhan/www/docs/Articles/biases... http://taylorlab.psych.ucla.edu/1988_Illusion%20an... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15702960