การประยุกต์ใช้ทฤษฎี ของ การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้

ศาสตราจารย์จิตวิทยาสังคมชาวอเมริกัน ดร. แดเนียล เว็กเนอร์ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เสนอว่า การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมเหตุการณ์ภายนอกได้ เป็นมูลฐานความเชื่อเกี่ยวกับการใช้พลังจิตเพื่อเคลื่อนย้ายวัตถุ (psychokinesis) ซึ่งเป็นความสามารถเหนือธรรมชาติที่อ้างว่า สามารถเคลื่อนย้ายวัตถุโดยใจได้[37] ดร. เว็กเนอร์ ได้ยกเป็นหลักฐานกลุ่มการทดลองเกี่ยวกับความคิดเชิงไสยศาสตร์ (magical thinking) ที่ผู้ร่วมการทดลองถูกหลอกให้คิดว่า ตนมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์ภายนอกในงานทดลองหนึ่ง ซึ่งให้ผู้ร่วมการทดลองดูนักกีฬาบาสเกตบอลทำการชู้ตลูกโทษถ้ามีการให้ผู้ร่วมการทดลองสร้างมโนภาพของนักกีฬาทำการชู้ตลูกโทษ ผู้ร่วมการทดลองจะรู้สึกว่าตนมีอิทธิพลต่อการชู้ตลูกโทษได้สำเร็จ[38]

อีกงานวิจัยหนึ่งตรวจสอบคนซื้อขายหุ้น ผู้ทำงานที่ธนาคารเพื่อการลงทุนในนครลอนดอนมีการให้ผู้ซื้อขายหุ้นต่างคนต่างดูกราฟที่กำลังวาดบนจอคอมพิวเตอร์ คล้ายกับกราฟเวลาจริงที่ปกติใช้กับราคาหุ้นหรือดัชนีงานของผู้ซื้อขายก็คือ ต้องพยายามทำให้ค่ากราฟขึ้นสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยใช้ปุ่มคอมพิวเตอร์สามปุ่มมีการเตือนล่วงหน้าว่า พวกเขาจะเห็นค่าที่เป็นไปตามสุ่ม แม้ว่า ปุ่มอาจจะทำให้เกิดผลอะไรบ้างแต่จริง ๆ แล้ว ปุ่มไม่ได้ทำอะไรเลยเกี่ยวกับค่าต่าง ๆ กันของกราฟ[8][20] การให้คะแนนตนเองว่ามีผลสำเร็จแค่ไหน เป็นค่าวัดความไวของผู้ซื้อขายต่อปรากฏการณ์นี้มีการเปรียบเทียบค่าวัดนี้ กับผลงานจริง ๆ ของผู้ซื้อขายหุ้นผู้ที่ไวต่อปรากฏการณ์นี้ทำงานได้ผลดีน้อยกว่าอย่างสำคัญในเรื่องการวิเคราะห์ การจัดการความเสี่ยง และการทำผลกำไรให้แก่บริษัทและตนเองก็ได้เงินตอบแทนน้อยกว่าด้วย[8][20][39]

ใกล้เคียง

การแปลการพินิจภายในผิด การแปลสิ่งเร้าผิด การแปรผันทางพันธุกรรม การแปลงหน่วยอุณหภูมิ การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ การแปลงฟูรีเย การแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง การแปลสัมผัสผิด

แหล่งที่มา

WikiPedia: การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ http://psych.mcmaster.ca/hannahsd/pubs/AllanSiegel... http://www.freepatentsonline.com/article/North-Ame... http://books.google.com/books?id=NnQcOdWDClkC&pg=P... http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleUR... http://timothy-judge.com/documents/ImplicationsofC... http://isites.harvard.edu/fs/docs/icb.topic67047.f... http://www.wjh.harvard.edu/~wegner/pdfs/Pronin,%20... http://web.mit.edu/curhan/www/docs/Articles/biases... http://taylorlab.psych.ucla.edu/1988_Illusion%20an... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15702960